- แนวโน้มการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมที่ลดการใช้พลังงานที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีปัจจัยเร่งให้เร็วมากขึ้นหลังจากหลายสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Covid-19 ที่ทำให้คนตระหนักถึงผลกระทบด้านสังคมและสุขภาพ
- ปัจจัยขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ การปล่อยก๊าซเรื่อนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon) มีความท้าทายทั้งด้าน Demand และ Supply ทั้งความเพียงพอของพลังงานทดแทนที่จะเข้ามาแทนพลังงานดั้งเดิมจากฟอสซิล ในแง่ความสามารถในการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการ ความมีเสถียรภาพในการผลิต อาทิ การใช้พลังงานทางเลือกจากแสงอาทิตย์ น้ำ และลม ขึ้นอยู่กับภูมิอากาศ ภูมิประเทศ อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีในการผลิต (ส่งผลต่อต้นทุน) และการจัดเก็บพลังงาน
- ด้าน Demand เป็นปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กัน ทั้งการตระหนักถึงความสำคัญของการลดการใช้พลังงานที่สร้างมลภาวะ ซึ่งอาจทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และกระทบต่อกระบวนการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงแรกของการเปลี่ยนผ่าน
- ความไม่แน่นอนด้าน Supply ถือเป็นประเด็นที่น่าสนใจ เนื่องจากในปัจจุบันบันโลกพึ่งพาแหล่งพลังงาน (ทั้งพลังงานจากฟอสซิล และพลังงานทางเลือก เช่น PV Module จากจีน) จากเพียงไม่กี่แหล่ง ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากวิกฤตพลังงานที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจากภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ทำให้ประเทศยุโรปจำเป็นที่จะต้องกลับมาพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิลเพื่อให้พลังงานมีพอเพียงต่อความต้องการ อาจส่งผลให้แผนการเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero Carbon อาจช้ากว่าเป้าหมายเดิมที่วางไว้
- ความร่วมมือระหว่างประเทศ เป็นอีกประเด็นสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่าน การพึ่งพาพลังงานกันระหว่างประเทศ เช่น ในภูมิภาคอาเซียน ยุโรป ที่ถือว่าประสบความสำเร็จ
- หากพิจารณาด้าน Supply พลังงานจากนิวเคลียร์ เป็นอีกหนึ่งพลังงานทางเลือกที่จะสามารถเข้ามาทดแทนพลังงานจากฟอสซิล ทั้งก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน แต่อย่างไรก็ตามยังเป็นพลังงานทางเลือกที่ไม่ได้รับการยอมรับมากนัก จากสังคมในด้านความปลอดภัย (ซึ่งสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งมาจากมุมมองของสังคม จากประสบการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้น) ซึ่งในอนาคตน่าจะต้องมีการหารืออย่างเป็นทางการ ที่จะใช้ประโยชน์จากพลังงานจากนิวเคลียร์ในทางใดทางหนึ่ง
ทั้งนี้ จีนเป็นประเทศที่ช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลังงานทางเลือก (Renewable Energy) อย่างมีนัยสำคัญ โดยในปี 2021 ที่ผ่านมา มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นสูงถึง 1,020 GW ก้าวสู่การเป็นผู้ผลิตหลักของพลังงานแสงอาทิตย์และลม คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 36% และ 40% ของกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดตามลำดับ ในขณะที่ประเทศไทยเองก็มีแผนเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานทางเลือกตาม "แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561 - 2580 (AEDP 2018-2037)" โดยมีเป้าหมายกำลังการผลิตพลังงานทางเลือกทั้งสิ้น 18.7 GW หรือคิดเป็นสัดส่วน 37% ของแหล่งพลังงานทั้งหมด ภายในปี 2037
เกี่ยวกับ Invest ASEAN
"ASEAN : Framing A Future" โดย Maybank มีการอภิปรายโดยผู้เชี่ยวชาญชั้นนำเกี่ยวกับโอกาสและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากปัญหาเร่งด่วนที่สุดในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อภูมิภาค: แนวโน้มเศรษฐกิจและภูมิศาสตร์การเมืองทั่วโลก ธุรกิจตัวอย่างที่มุ่งเน้น ESG และความหลากหลาย ความเท่าเทียมและการบูรณาการ การซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลของสถาบัน และ การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในด้านการธนาคาร รวมถึงประเด็น Street Beats ในหัวข้อที่น่าสนใจสำหรับแต่ละตลาดในกลุ่มอาเซียน 6 ประเทศ
เกี่ยวกับกลุ่มธนาคารเพื่อการลงทุนเมย์แบงก์ (เมย์แบงก์ ไอบีจี)
Maybank Investment Banking Group (เดิมชื่อ Maybank Kim Eng Group) เป็นธนาคารเพื่อการลงทุนชั้นนำของอาเซียนที่มีความเชี่ยวชาญในด้านวาณิชธนกิจและบริการให้คำปรึกษา นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์รายย่อยและสถาบัน การวิจัย อนุพันธ์และนายหน้าชั้นนำ โดยกลุ่มบริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นขุมพลังในการขับเคลื่อยเพื่อความเจริญรุ่งเรืองที่เท่าเทียมกันผ่านบริการ Humanising Financial Services และตั้งเป้าที่จะเป็นธนาคารเพื่อการลงทุนที่ยั่งยืนอันดับหนึ่งในอาเซียน
ที่มา: หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย)