มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์และมหาวิทยาลัยมหิดล ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญ ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนด้านการแพทย์

จันทร์ ๑๑ กรกฎาคม ๒๐๒๒ ๐๙:๒๙
จากคำแนะนำและการสนับสนุนของกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (TICA) กระทรวงการต่างประเทศ ล่าสุดมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ได้ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อยกระดับและเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์ สาธารณสุข และโภชนาการในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย
มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์และมหาวิทยาลัยมหิดล ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญ ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนด้านการแพทย์

มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์จะสนับสนุนเงินจำนวนกว่า 3 ล้านบาท ในการฝึกอบรมแก่ผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยมหิดลด้านเทคโนโลยี การแพทย์สุขภาพของมารดา และโภชนาการในประเทศอาเซียน

นอกจากนี้ มูลนิธิฯ และมหาวิทยาลัยยังได้ดำเนินโครงการร่วมกันอีก 2 โครงการ คือการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการใช้องค์ความรู้ด้านจีโนมหรือพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต และการสร้างขีดความสามารถในการตรวจวัดคุณภาพทางโภชนาการ ส่งผลให้มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการสนับสนุนโดยรวมจากมูลนิธิด้วยเงินจำนวนกว่า 78 ล้านบาท (2.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปีที่ผ่านมานี้

สืบเนื่องจากการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงการต่างประเทศและมหาวิทยาลัยมหิดลในการเสริมสร้างศักยภาพสำหรับศูนย์การศึกษาด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพในเดือนสิงหาคม พ. ศ. 2564 โดยโครงการปัจจุบันภายใต้ความร่วมมือระหว่างมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์และมหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการสนับสนุนจากกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักของรัฐบาลไทยที่บริหารความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ

นางอุรีรัชต์ เจริญโต อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (TICA) กล่าวว่า "ด้วยภารกิจในการเสริมสร้างความร่วมมือหุ้นส่วนเพื่อการการพัฒนา ให้มีส่วนในการสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้กำหนดความสำคัญของการดำเนินงานความร่วมมือให้เกิดความมั่นคงใน 4 ด้าน ได้แก่ การจ้างงาน อาหาร สิ่งแวดล้อมและพลังงาน ตลอดจนสุขภาพ

บันทึกความเข้าใจ ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศกับมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหนึ่งในโครงการริเริ่มความร่วมมือด้านการพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อนโยบายความมั่นคงด้านสุขภาพ โดยเน้นการเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อส่งมอบการบริการที่ดียิ่งขึ้นแก่คนไทยและส่งต่อความรู้และความเชี่ยวชาญให้กับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ"

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศและมูลนิธิฯ มีเป้าหมายที่สอดคล้องกัน และเล็งเห็นว่าความร่วมมือครั้งล่าสุดร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล จะผลักดันโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ในด้านสาธารณสุขและโภชนาการ เพื่อขยายผลลัพธ์ของภารกิจ ร่วมในการพัฒนาประเทศและภูมิภาค

เมื่อกล่าวถึงความร่วมมือครั้งใหม่นี้ ดีพาลี คานนา (Deepali Khanna) รองประธานประจำภูมิภาคเอเชีย มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ให้ความเห็นว่า "ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดลหลายครั้ง เนื่องด้วยมหาวิทยาลัยได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพความเป็นผู้นำอย่างต่อเนื่องในด้านการวิจัยทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ในเอเชีย พร้อมนี้ด้วยความพร้อมด้านการลงทุน ประวัติศาสตร์ และเทคโนโลยีของประเทศไทย เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยมหิดลและกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการขยายงานเพื่อส่งเสริมความแข็งแกร่งและสร้างศูนย์ความเป็นเลิศในสถาบันการศึกษา"

ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า "มหาวิทยาลัยมหิดลมีความมุ่งมั่นในการสานต่อการพัฒนาความรู้ร่วมกับการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สังคม ภายใต้การสนับสนุนจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์และกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ เราได้ร่วมเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคและระดับโลกในการส่งเสริมเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในด้านโรคระบาด การบริการด้านสุขภาพและการพัฒนาทักษะ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอาหารและโภชนาการ และการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนท้องถิ่น เป็นต้น โดยมหาวิทยาลัยมหิดลยังคงใช้ทรัพยากรหลักของเราอย่างต่อเนื่องเพื่อประยุกต์ความรู้เพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ"

มูลนิธิฯมีสองโครงการด้านสาธารณสุขและโภชนาการที่ได้ดำเนินการมาแล้วระยะหนึ่งกับมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมูลนิธิฯได้มอบเงินจำนวน 42 ล้านบาท (1.2 ล้านดอลลาร์) แก่หน่วยจีโนมและเวชศาสตร์วิวัฒนาการ (Genomics and Evolutionary Medicine Unit: GEM) คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดลในปี 2564 ผ่าน Pandemic Preventive Institute ของมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาวิธีการรับมือต่อโรคระบาดด้วยข้อมูลและเทคโนโลยี ส่งผลให้ทีมสืบสวนจีโนมของมหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จในการลดระยะเวลาของการถอดรหัสพันธุกรรมเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 จากมากกว่าหนึ่งเดือนเหลือน้อยกว่าหนึ่งสัปดาห์ และทีมยังได้เพิ่มการสนับสนุนไปยังทีมสืบสวนจีโนมในอาเซียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการตรวจจับและรับมือกับเชื้อโควิด-19 ภัยคุกคามจากไวรัสอื่นๆ และการระบาดใหญ่ของภูมิภาค

นอกจากโครงการข้างต้นมหาวิทยาลัยมหิดลยังทำงานร่วมกับมูลนิธิฯ เพื่อต่อสู้กับภาวะทุพโภชนาการ (ทั้งภาวะโภชนาการต่ำและภาวะโภชนาการเกิน) ในประเทศในซีกโลกใต้ โดยใช้มาตรฐาน Global Diet Quality Score (GDQS) เพื่อทำความเข้าใจคุณภาพของอาหารในพื้นที่นั้นๆ โดยเงินทุนจำนวน 17 ล้านบาท (500,000 เหรียญสหรัฐ) จะช่วยให้มหาวิทยาลัยเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการในการสำรวจประชากรจำนวนมาก โดยใช้มาตรฐาน GDQS เพื่อเพิ่มคุณภาพของอาหาร และเป็นตัวบ่งชี้ทางโภชนาการของประชากรอีกด้วย

ที่มา: เอเดลแมน (ประเทศไทย)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ