สมาคมเอทานอลจากมันสำปะหลัง (สมาคมฯ) พร้อมส่งเอทานอล พลังงานจากผลผลิตทางการเกษตรของไทย เป็นพลังงานทางเลือกในช่วงที่ราคาน้ำมันมีความผันผวน เพื่อช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศอันเป็นการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ทั้งยังเป็นการสร้างเสถียรภาพด้านราคาวัตถุดิบมันสำปะหลัง ช่วยยกระดับรายได้เกษตรกรไทย สร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศ ตอบโจทย์เทรนด์โลกในการใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 อีกทั้งอุปสงค์ในตลาดมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลาย ประกอบกับการกลับมาเปิดเมืองของหลายประเทศ และอัตราเงินเฟ้อที่ขยายตัว และค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนสินค้าต่างๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ดังนั้น การส่งเสริมการใช้เอทานอลจากผลผลิตการเกษตรภายในประเทศ จึงเป็นโอกาสที่จะทำให้ประเทศได้ประโยชน์ทั้งในด้านพลังงาน และด้านเกษตรกรรม
โดยในด้านพลังงาน เอทานอลถือเป็นพลังงานทางเลือก ที่จะช่วยสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงทางพลังงาน ลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่ราคาน้ำมันมีความผันผวน อีกทั้งการส่งเสริมการใช้เอทานอลจะทำให้ประเทศไทยมีแหล่งพลังงานทางเลือกเป็นของตนเองที่เพียงพอและยั่งยืน นอกจากนี้ เอทานอลยังเป็นพลังงานสะอาด ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดฝุ่นละออง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่วนภาคเกษตรกรรม การสนับสนุนการใช้เอทานอล จะส่งผลให้มีการใช้ผลผลิตทางเกษตรในประเทศเพิ่มขึ้น โดยประเทศไทยมีพื้นที่ในการปลูกอ้อยและมันสำปะหลัง มากเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน โดยในฤดูกาล 2563/64 มีพื้นที่ปลูกอ้อยและมันสำปะหลัง คิดเป็น 14% ของพื้นที่เกษตรกรรม เป็นการเพาะปลูกมันสำปะหลัง 35.09 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 80,000 ล้านบาท และการเพาะปลูกอ้อยปีละ 66.84 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 67,000 ล้านบาท รวมแล้วสามารถสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศด้วยเม็ดเงินมากกว่า 147,000 ล้านบาท การส่งเสริมการใช้ผลผลิตทางเกษตรภายในประเทศ จึงถือเป็นการกระจายรายได้ให้กับทั้งห่วงโซ่อุตสาหกรรม
นางสาวสุรียส โควสุรัตน์ นายกสมาคมเอทานอลจากมันสำปะหลัง เปิดเผยว่า เอทานอลเป็นพลังงานทางเลือกที่จะช่วยสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศได้อย่างยั่งยืน ช่วยลดการพึ่งพาและนำเข้าน้ำมันดิบในภาวะที่ราคาน้ำมันมีความผันผวน ซึ่งปัจจุบัน ประเทศไทยมีความพร้อมทั้งในด้านวัตถุดิบมันสำปะหลัง นวัตกรรมเทคโนโลยี และงานวิจัย ที่สามารถเข้าไปช่วยเกษตรกรตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูกที่มีประสิทธิภาพ การลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต ตลอดจนการนำผลผลิตทางเกษตรที่ได้ไปพัฒนาต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง
"สมาคมเอทานอลจากมันสำปะหลัง มีความพร้อมทั้งในด้านวัตถุดิบมันสำปะหลัง กำลังการผลิต และนวัตกรรมเทคโนโลยีในการผลิต โดยตนมีนโยบายในการขับเคลื่อนการผลิตเอทานอลอย่างเต็มกำลัง เพื่อให้เอทานอล เป็นพลังงานทางเลือกในช่วงที่ราคาน้ำมันมีความผันผวนในปัจจุบัน และช่วยให้คนไทยได้ใช้พลังงานสะอาดที่มากขึ้น สอดรับกับเป้าหมายยุทธศาสตร์การค้าของประเทศ ที่มุ่งเดินหน้าสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพตามเทรนด์โลก นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังมีแผนที่จะนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาพัฒนาต่อยอดการใช้งานเอทานอล เพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงในกลุ่มอื่นๆ ในอนาคต อาทิ ไบโอพลาสติก ยา เชื้อเพลิงของเครื่องบิน สารสกัดต่างๆ เป็นต้น ตนเชื่อมั่นว่า ความร่วมมือผนึกกำลังของทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคเกษตรกร เพื่อแลกเปลี่ยน บูรณาการ สนับสนุน และส่งเสริมการดำเนินการให้ไปทิศทางเดียวกันเพื่อผลประโยชน์ของประเทศ จะเป็นจุดแข็งที่จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเอทานอลให้เติบโตแบบองค์รวมได้อย่างยั่งยืน ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs (Sustainable Development Goals) และ ตามแนวทาง BCG Model ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมใน 3 มิติ ทั้งในด้าน เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)" นางสาวสุรียส กล่าว
เกี่ยวกับสมาคมเอทานอลจากมันสำปะหลังสมาคมเอทานอลจากมันสำปะหลัง ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2555 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นตัวกลางในการส่งเสริมและผลักดันให้มันสำปะหลังเป็นพืชพลังงานที่สำคัญของประเทศ ซึ่งจะช่วยยกระดับรายได้ให้กับเกษตรกร และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร ตลอดจนสร้างความเป็นเอกภาพให้กับกลุ่มผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังให้สามารถแข่งขันในตลาด รวมถึงเพื่อสร้างความร่วมมือกับภาครัฐในการขับเคลื่อนนโยบายด้านพลังงานทดแทนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเป็นศูนย์กลางในการประสานงานระหว่างกลุ่มสมาชิกผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังกับภาคส่วนต่างๆ ให้เกิดความร่วมมือที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อันจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งด้านพลังงานทดแทนของประเทศ เพื่อก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางพลังงานทดแทนของภูมิภาคในอนาคต ปัจจุบัน สมาคมฯ มีสมาชิกซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายเอทานอลจากมันสำปะหลัง ทั้งสิ้นรวม 9 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) หรือ UBE บริษัท ทรัพย์ทิพย์ จำกัด บริษัท ไท่ผิง เอทานอล จำกัด บริษัท ไทยเอทานอล พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท พี.เอส.ซี.สตาร์ช โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อี 85 จำกัด บริษัท อัพเวนเจอร์ จำกัด บริษัท ฟ้าขวัญทิพย์ จำกัด และ บริษัท อิมเพรส เอทานอล จำกัด
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน1. เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs (Sustainable Development Goals) ของสหประชาชาติ เป็นกรอบการพัฒนาของโลก เพื่อร่วมกันบรรลุการพัฒนาทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยมีทั้งหมด 17 เป้าหมาย ซึ่งกลุ่มบริษัท UBE ได้บูรณาการเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในส่วนที่สอดคล้องและเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมของบริษัท ผนวกรวมกับแผนกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของบริษัท เพื่อสร้างการเติบโตให้องค์กรอย่างยั่งยืน2. BCG Model เป็นการมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมใน 3 มิติ ทั้งในด้าน เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เพื่อให้ทุกด้านเกิดความสมดุลและเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกัน
ที่มา: บริษัท เดอะเวย์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด