สอวช. แนะแนวทางพัฒนากำลังคนตอบโจทย์อนาคต เน้นผลักดันการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐ - เอกชน แบบ Co-creation สร้างบุคลากรที่มีศักยภาพเท่าทันการเปลี่ยนแปลง

อังคาร ๑๒ กรกฎาคม ๒๐๒๒ ๑๕:๑๓
ดร. กาญจนา วานิชกร รองผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เข้าร่วมการอภิปราย ภายใต้หัวข้อ "Thailand: Fit for the Future?" Track 1: Innovation & Talent "Talent Management for the Future" ร่วมกับ ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด และ คุณยุทธนา เจียมตระการ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ - การบริหารกลาง เอสซีจี ในงาน Thailand Competitiveness Conference 2022 จัดโดย สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565
สอวช. แนะแนวทางพัฒนากำลังคนตอบโจทย์อนาคต เน้นผลักดันการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐ - เอกชน แบบ Co-creation สร้างบุคลากรที่มีศักยภาพเท่าทันการเปลี่ยนแปลง

ดร. กาญจนา กล่าวถึงความท้าทายในการสร้างบุคลากรที่มีศักยภาพในประเทศไทย เริ่มจากการมองถึงเป้าหมายใหญ่ของประเทศ คือการออกจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ที่ตั้งเป้าให้เกิดขึ้นภายในปี 2580 และการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาในทุกมิติ จากที่ข้อมูลปัจจุบัน ประเทศไทยมีจีดีพีในภาพรวมอยู่ที่ประมาณ 16.6 ล้านล้านบาท ถ้าจะไปให้ถึงเป้าหมายได้ควรมีจีดีพีอยู่ที่ 27.3 ล้านล้านบาท ให้ได้ในอีก 15 ปี ซึ่งถือว่ายังมีโอกาสในการไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ แต่จะพึ่งพาระบบเศรษฐกิจแบบเดิม (Old Economy) หรืออุตสาหกรรมเดิมๆ เพียงอย่างเดียวไม่ได้ โจทย์ใหญ่ของประเทศคือการสร้างเศรษฐกิจใหม่ (New economy) ที่มีโอกาสในการเติบโตได้มากขึ้น ภาครัฐและภาคเอกชนจึงต้องร่วมกันคิดว่าจะเติบโตต่อไปอย่างไร และเศรษฐกิจใหม่ที่ควรเข้าไปพัฒนาอยู่ในสาขาใด รวมถึงการมองหาผู้เล่นใหม่ๆ (new player) เช่น กลุ่มผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม (Innovation-driven enterprises: IDE) กลุ่ม Start-up หรือ กลุ่ม Spin-off สาขาใหม่ๆ ที่สามารถพัฒนาจากสาขาเดิมที่เรามีศักยภาพ เช่น อาหาร ยานยนต์ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงสาขาที่น่าสนใจอย่าง ชีววิทยาศาสตร์ (Life sciences) ส่วนประกอบในอาหารเชิงฟังก์ชัน (Functional ingredients) การแพทย์ บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล และอวกาศ เป็นต้น กลุ่มคนที่เข้ามาทำงานในส่วนนี้จึงต้องมีการสร้างทักษะใหม่ (New skill sets) เพื่อให้เข้าไปตอบโจทย์ในสาขานั้นๆ ด้วย

"ข้อมูลจากการสำรวจขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) พบว่าแรงงานของไทย 86% อยู่ในกลุ่ม Unskilled labor เป็นกลุ่มแรงงานที่ใครก็สามารถทำงานแทนได้ และมีแรงงานที่มีทักษะ (Skilled labor) เพียง 14% ขณะที่ในประเทศใกล้เคียงอย่างมาเลเซียอยู่ในสัดส่วนแรงงานทักษะประมาณ 27.5% และสิงคโปร์มีกลุ่มแรงงานทักษะอยู่ถึง 59% ดังนั้น ในปัจจุบันที่ไทยเราอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านในการสร้างเศรษฐกิจใหม่ จึงถือว่าเป็นการเปลี่ยนผ่านในการสร้างคนด้วย โดยต้องมุ่งเน้นการสร้างบุคลากรที่มีศักยภาพ หรือ Talent มากขึ้น เชื่อมโยงกับเป้าหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ เพื่อให้การสร้างคนสามารถทำได้อย่างตรงจุด" ดร. กาญจนา กล่าว

สำหรับแนวทางและกระบวนการในการสร้างคน ดร. กาญจนา กล่าวว่า ในภาพของประเทศต้องมองใน 2 ส่วนคือการบริหารจัดการในแง่ของจำนวนคน (stock) และการใช้งานคนในระดับต่างๆ (flow) ในระดับนโยบายต้องเข้าถึงข้อมูลว่าเรามีคนเก่งอยู่ที่ไหนบ้าง ทำอะไรอยู่ และมีทักษะด้านใด ถ้ารู้ว่าคนเหล่านั้นอยู่ที่ไหน ก็จะสามารถดึงเข้ามาช่วยในการทำงานร่วมกันได้ ซึ่งทางกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้มีการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานอื่น ในการทำข้อมูล High-skill workforce รวบรวมว่าในประเทศไทยมีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายอยู่ที่ใดบ้าง โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ผ่านเว็บไซต์ https://talent.nxpo.or.th/

นอกจากนี้ยังได้มีการผลักดันการให้สิทธิประโยชน์ การสร้างระบบนิเวศที่ดีให้เกิดขึ้นในประเทศ เพื่อดึงดูดให้คนเก่งเข้ามาทำงานในประเทศมากขึ้น รวมถึงการหันมาให้ความสำคัญในฝั่งอุปสงค์ (Demand) ในภาคเอกชนว่ามีความต้องการคนในรูปแบบใด โดยอิงแนวคิด Build: คือการสร้างคนให้ตอบโจทย์ภาคเอกชน และการให้ทุน สนับสนุนนักเรียนทุนในสาขาที่หลากหลายมากขึ้น, Buy: การจ้างคนเก่งเฉพาะด้านเทคโนโลยี ผู้บริหารที่มีประสบการณ์จากต่างชาติ หรือตั้งหน่วยงานรับสมัครคนเก่งในต่างประเทศ หรือทำงานจากต่างประเทศแบบ work from anywhere, Borrow: การจ้างคนมาช่วยทำงาน หรือส่งคนไปทำงานร่วมกับคนเก่งๆ ในสถาบันวิจัย หรือมหาวิทยาลัย รวมถึงการให้ทุนวิจัยในต่างประเทศ และการทำความร่วมมือต่างๆ, และ Co-creation คือการร่วมกันสร้างคนให้มีทักษะที่ต้องการและเท่าทันต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

ในฝั่งของภาครัฐ มีการอำนวยความสะดวกสนับสนุนแนวทาง Co-creation เช่น การมีหลักสูตร Upskill/Reskill, การผลักดันการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher education sandbox) เพื่อให้ภาคเอกชนได้ร่วมออกแบบหลักสูตรกับมหาวิทยาลัย ผลิตบัณฑิตที่ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม โดยไม่ติดข้อจำกัดทางการศึกษารูปแบบเดิม อีกส่วนหนึ่งคือเรื่องของการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี กรณีผู้ประกอบการส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรที่ผ่านการรับรอง จะสามารถขอยกเว้นภาษีเงินได้จากกรมสรรพากรได้ถึง 250% ของค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมลูกจ้าง นอกจากนี้หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในอุตสาหกรรมเป้าหมายและมีการจ้างงานบุคลากรที่มีทักษะสูงในด้านสะเต็ม (Science, Technology, Engineering and Mathematics: STEM) สามารถนำค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินเดือนของพนักงานไปขอยกเว้นภาษีเงินได้ได้ 150% ซึ่งสามารถติดตามรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ https://stemplus.or.th/

นอกจากนี้ ดร. กาญจนา ยังได้เปิดเผยถึงทักษะที่สำคัญในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเรียนรู้ที่ต้องกล้าทำอะไรใหม่ๆ พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนและก้าวข้ามข้อผิดพลาดได้อย่างรวดเร็ว (Fail fast, Fail cheap, Learn fast) รวมถึงทักษะการ Learn to unlearn and relearn ละทิ้งสิ่งที่เคยเรียนและเคยชินในบางเรื่อง และเปิดรับวิธีใหม่ๆ ที่ดีกว่า พร้อมในการปรับตัว และพร้อมในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องด้วย

ที่มา: สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)

สอวช. แนะแนวทางพัฒนากำลังคนตอบโจทย์อนาคต เน้นผลักดันการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐ - เอกชน แบบ Co-creation สร้างบุคลากรที่มีศักยภาพเท่าทันการเปลี่ยนแปลง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version