ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเป็นประธานการประชุม คณะกรรมการเพื่อการพัฒนายาระหว่างสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์และกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 1/2565

พุธ ๒๐ กรกฎาคม ๒๐๒๒ ๑๐:๒๘
ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนายาระหว่างสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์และกระทรวงสาธารณสุขครั้งที่ 1/2565 วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม 2565 เวลา 14.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 8 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา บรมราชินีนาถ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเป็นประธานการประชุม คณะกรรมการเพื่อการพัฒนายาระหว่างสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์และกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 1/2565

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม 2565 เวลา 14.30 น. ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธาน สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ทรงเป็นประธานของการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนายาระหว่างสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์และกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 1/2565 ณ ห้องประชุมชั้น 8 อาคารเฉลิม พระเกียรติ 80 พรรษา บรมราชินีนาถ

สืบเนื่องจากการที่องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ได้พระราชทานเทคโนโลยีเกี่ยวกับการสังเคราะห์ยาโมลนูพิราเวียร์ แก่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564 ไปแล้วนั้น

เพื่อให้มีการนำผลงานวิจัยไปพัฒนาต่อยอดให้สำเร็จเป็นรูปธรรม และขับเคลื่อนการผลิตตัวยาเคมีและชีววัตถุ เพื่อนำไปผลิตเป็นตำรับยาสำหรับการใช้ในประเทศ นายกรัฐมนตรีจึงกราบทูลเชิญ องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์เป็นประธานของคณะกรรมการเพื่อการพัฒนายาระหว่างสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์และกระทรวงสาธารณสุข โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นรองประธานคณะกรรมการ

ในการประชุมครั้งแรกนี้ องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ได้ให้ข้อมูลการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาตัวยาโมลนูพิราเวียร์ของคณะนักวิจัยของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งมี 2 แนวทาง คือแนวทางที่ 1: อาศัยสารเคมีเพียงอย่างเดียว Chemical route) ซึ่งเป็นวิธีการสังเคราะห์ที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์พัฒนาขึ้นเอง โดยไม่ได้อาศัยข้อมูลจากที่มีการตีพิมพ์แล้ว แนวทางที่ 2: การใช้เอนไซม์ที่ตรึงบนวัฏภาคของแข็ง (enzymatic route) ซึ่งแนวทางที่ใช้เอนไซม์นั้นสามารถทำได้โดยมีจำนวนขั้นตอนน้อยกว่า มีของเสียจากปฏิกิริยาน้อยกว่าและการเลือกใช้เอนไซม์ยังเป็นการนำเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมของรัฐบาล กล่าวคือ เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์พร้อมจะร่วมทำการศึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำแนวทางที่ได้พัฒนาขึ้นนี้ไปใช้ในการผลิตยาโมลนูพิราเวียร์ในระดับอุตสาหกรรม

ที่ประชุมได้พิจารณาหารือการวางแนวทางความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงสาธารณสุข เช่น องค์การเภสัชกรรม คณะกรรมการอาหารและยา และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นต้น จากนั้นองค์การเภสัชกรรมได้เสนอโครงการความร่วมมือในการพัฒนากระบวนการสังเคราะห์วัตถุดิบโมลนูพิราเวียร์ และคัดเลือกวิธีสังเคราะห์โดยการใช้ Enzyme processes ที่คณะนักวิจัยของสถาบันได้วิจัยพัฒนากระบวนการและเทคนิค โดยการใช้ Enzyme ซึ่งให้ผลดีระดับ Lab scale แต่ยังมีความแตกต่างบางประการกับวิธีที่องค์การเภสัชกรรมทำกับสวทช. อยู่บ้าง จึงจะนำมาพิจารณาร่วมกันเพื่อ เปรียบเทียบวิธีการหรือผลผลิต ให้ได้ Process ที่ดีที่สุดสำหรับการสังเคราะห์นี้ สำหรับการผลิตไปสู่ระดับ Pre pilot และ Pilot scale นั้น องค์การเภสัชกรรมจะให้ความร่วมมือในการจัดหา Facility ที่จะขยายกำลังการสังเคราะห์ให้สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์อย่างเร่งด่วน แผนการดำเนินโครงการระหว่างองค์การเภสัชกรรมและสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ จะเริ่มจากเดือนสิงหาคมปีนี้ จนถึงปี 2567

สำหรับเรื่องแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาชีววัตถุ ระหว่าง สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์และกระทรวงสาธารณสุขนั้น องค์การเภสัชกรรมได้เสนอแผนการดำเนินงานในเรื่องยาชีววัตถุ และเสนอแนวทางความร่วมมือกับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ คือ การอบรมพัฒนาบุคลากรให้กับองค์การเภสัชกรรม และความร่วมมือในการคัดเลือกและพัฒนายา องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ได้ทรงเสนอชื่อตัวยา 2 ชนิด ที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ดำเนินการวิจัยและพัฒนาเซลล์ต้นแบบสำหรับการผลิตยาชีววัตถุ ซึ่งมีชื่ออยู่ในรายชื่อยาชีววัตถุที่องค์การเภสัชกรรมได้พิจารณามาแล้ว 9 ชนิด

หากทุกอย่างเป็นไปด้วยดี สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์จะสามารถดำเนินการขยายขนาดการผลิตสู่ขนาดการผลิตจริงที่ 1000 ลิตร ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาชีววัตถุของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ภายในปี 2567 สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์พร้อมที่จะพัฒนายาทั้ง 2 ชนิดนี้ร่วมกับองค์การเภสัชกรรม เพื่อนำไปสู่การนำไปใช้จริง ซึ่งความร่วมมือนี้สามารถสร้างประโยชน์แก่ประชาชนได้อย่างมหาศาล

เพื่อความสำเร็จลุล่วงในการดำเนินการของคณะกรรมการชุดนี้ จึงมีการแต่งตั้งคณะ อนุกรรมการ 2 คณะ โดยมีประธานร่วมในคณะอนุกรรมการจากสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ คณะอนุกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาเคมี และ คณะอนุกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาชีววัตถุ เพื่อขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินการ ให้ประสบความสำเร็จต่อไป

ที่มา: ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม