ฟิทช์คงอันดับคุณภาพการจัดการการลงทุนภายในประเทศบลจ.ไทยพาณิชย์ที่ 'Excellent(tha)'

พุธ ๒๐ กรกฎาคม ๒๐๒๒ ๑๗:๐๖
บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศคงอันดับคุณภาพการจัดการการลงทุนภายในประเทศ (National Investment Management Quality Rating) ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBAM) ที่ 'Excellent(tha)' แนวโน้มอันดับคุณภาพการจัดการการลงทุนมีเสถียรภาพ

ปัจจัยสนับสนุนอันดับคุณภาพการจัดการการลงทุนภายในประเทศ
อันดับคุณภาพการจัดการการลงทุนภายในประเทศของ SCBAM มีพื้นฐานมาจากคะแนนของปัจจัยต่างๆในการจัดอันดับดังนี้
กระบวนการการลงทุน: Strong
บุคลากรและระบบในการจัดการการลงทุน: Excellent
การบริหารจัดการและการควบคุมความเสี่ยง: Excellent
บริษัทและการบริการลูกค้า: Excellent
ผลการดำเนินงานจากการบริหารจัดการการลงทุน: Consistent

อันดับคุณภาพการจัดการการลงทุนเป็นการจัดอันดับในเชิงคุณภาพ โดยที่ฟิทช์จะประเมินความสามารถของบริษัทจัดการกองทุนในด้านการบริหารจัดการการลงทุนและปฏิบัติการการลงทุน บริษัทจัดการกองทุนจะถูกจัดอันดับในระดับต่างๆแบ่งเป็น 'Excellent' 'Strong' 'Proficient' 'Adequate' หรือ 'Weak' โดยเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่นักลงทุนสถาบันภายในประเทศใช้ในการพิจารณาบริษัทจัดการกองทุน บริษัทจัดการกองทุนที่ได้รับการจัดอันดับคุณภาพการจัดการ การลงทุนภายในประเทศที่ระดับ 'Excellent(tha)' แสดงถึงการที่บริษัทมีการจัดการด้านการปฏิบัติการและการลงทุนที่ฟิทช์ คิดว่าโดดเด่นกว่ามาตรฐานที่นักลงทุนสถาบันภายในประเทศใช้ในการพิจารณาบริษัทจัดการกองทุน

กระบวนการการลงทุน

ฟิทช์มองว่า SCBAM มีกระบวนการการลงทุนที่ดีในการบริหารกองทุนที่หลากหลาย บริษัทมีการวิเคราะห์การลงทุน ในเชิงลึกและเลือกลงทุนอย่างมีระบบ และมีระบบการประเมินผลการดำเนินงานของการลงทุนที่บันทึกไว้อย่างเป็น ลายลักษณ์อักษร นอกจากนี้บริษัทมีการใช้เครื่องมือเชิงปริมาณ (quantitative tools) และปัจจัยเชิงคุณภาพ (qualitative factors) เพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์การลงทุนและกระบวนการการลงทุน ผู้จัดการการลงทุนของบริษัทยังคงใช้เทคโนโลยี machine learning อย่างต่อเนื่อง ซึ่งครอบคลุมทั้งกองทุนตราสารทุนภายในประเทศและต่างประเทศ

บุคลากรและระบบในการจัดการการลงทุน

ฟิทช์เชื่อว่า SCBAM มีบุคลากรในการจัดการการลงทุนที่มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึก ผู้จัดการการลงทุนของบริษัทมีประสบการณ์ ทำงานผสมผสานกันตามความเหมาะสมในแต่ละสินทรัพย์ที่ลงทุน มีการพัฒนาระบบ machine learning และนำมาใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง น่าจะช่วยสนับสนุนให้ผลการดำเนินงานของกองทุนปรับตัวดีขึ้นในระยะยาว ผู้จัดการการลงทุนอาวุโสส่วนใหญ่มีประสบการณ์ทำงานกับบริษัทเป็นระยะเวลานาน แม้ว่าในปี 2564 บริษัทมีอัตราการลาออกของพนักงานในฝ่ายงานการลงทุนในระดับสูง แต่มีการสรรหาพนักงานเข้ามาแทนได้ทันการณ์ นอกจากนี้ พนักงานใหม่ที่เข้ามาแทนยังมีประสบการณ์และมีจำนวนเหมาะสมกับปริมาณงานของบริษัท ความเสี่ยงจากการพึ่งพาบุคลากรคนใดคนหนึ่งมากเกินไปของบริษัทนั้นมีไม่มากนัก จากการที่มีทีมบุคลากรในระดับอาวุโสที่ค่อนข้าง มีเสถียรภาพ นอกจากนี้บริษัทมีการแยกความรับผิดชอบการบริหารจัดการการลงทุนอย่างชัดเจนและการแบ่งทีมตามสายงานอย่างชัดเจน

ระบบงานของฝ่ายลงทุน (front office) มีความเชื่อมต่อกันผ่านระบบอัตโนมัติ รวมทั้งมีความพร้อมในการปรับปรุงและบำรุงรักษาระบบอย่างสม่ำเสมอ ทำให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและรองรับการลงทุนที่หลากหลายของบริษัท บุคลากรในการจัดการการลงทุนมีแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจลงทุนที่หลากหลาย ฟิทช์มองว่า SCBAM มีบุคคลากรและทรัพยากรด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการจัดการการลงทุน

การบริหารจัดการและการควบคุมความเสี่ยง

บริษัทแม่ของ SCBAM ซึ่งคือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB; 'AA+(tha)'/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ) เป็นผู้กำหนดนโยบายบริหารความเสี่ยงโดยรวมของกลุ่ม แต่ได้มีการกระจายอำนาจ (decentralise) การบริหารความเสี่ยงให้กับบริษัทลูกในกลุ่ม อย่างไรก็ตามฝ่ายงานกำกับและควบคุม (compliance) ยังคงรวมศูนย์ (centralized) อยู่ที่ SCB เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างอิสระในสถานะบุคคลที่สาม แม้ฝ่ายบริหารความเสี่ยงของ SCBAM จะยังคงมีความอิสระ จากบุคลากรสายงานการจัดการการลงทุน แต่ทั้ง 2 สายงานยังคงทำงานรวมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อความสอดคล้องและผสานการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยง (integrated) ทีมบริหารความเสี่ยงใช้ระบบที่เป็นมาตรฐานสากลสำหรับการประเมินความเสี่ยงและการทดสอบภาวะวิกฤต

บริษัทและการบริการลูกค้า

SCBAM มีการดำเนินกิจการมาอย่างยาวนานในประเทศไทย โดยบริษัทจัดตั้งขึ้นในปี 2535 บริษัทมีเครือข่ายทางธุรกิจ (franchise) ที่แข็งแกร่งในธุรกิจบริหารจัดการกองทุน โดยมีผลิตภัณฑ์กองทุนที่มีความหลากหลายในด้านนโยบายการลงทุน และมีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM) ที่ 1.7 ล้านล้านบาท ณ สิ้นปี 2564 บริษัทยังคงมีการเพิ่มสัดส่วนกองทุนประเภทจัดสรรเงินลงทุนไปลงในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ (asset allocation funds) ขึ้นต่อเนื่อง เพื่อช่วยสนับสนุนเครือข่ายธุรกิจกองทุนรวมของบริษัทให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามกองทุนตลาดเงินและตราสารหนี้ยังคงคิดเป็นสัดส่วนที่สูงกว่า 60% ของ AUM สำหรับกองทุนรวม (ไม่รวมกองอสังหาริมทรัพย์และกองโครงสร้างพื้นฐาน)

SCBAM ยังคงเป็นหนึ่งในผู้นำของธุรกิจกองทุนส่วนบุคคล โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ 27% ณ สิ้นเดือน ธันวาคม 2564 และมี AUM เพิ่มขึ้น 6.7% แสดงถึงเครือข่ายทางธุรกิจที่แข็งแกร่งในธุรกิจกองทุนส่วนบุคคล โดยเฉพาะ ในกลุ่มนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายใหญ่ (high net worth) นอกจากนี้ ธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทยังคงแข็งแกร่ง โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ที่ 13.1% การรายงานข้อมูลต่อผู้ถือหน่วยลงทุนสำหรับกองทุนรวม กองทุน ส่วนบุคคล และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สอดคล้องกับเกณฑ์และมาตรฐานของอุตสาหกรรม

ผลการดำเนินงานจากการบริหารจัดการการลงทุน

ผลการดำเนินงานของกองทุนภายใต้การบริหารของ SCBAM อยู่ในระดับที่สม่ำเสมอเมื่อเทียบกับบริษัทจัดการกองทุนอื่นๆในประเทศไทย ซึ่งวัดจากผลการดำเนินงานของกองทุนเมื่อเทียบกับความเสี่ยงเป็นเกณฑ์ (risk-adjusted performance) ในส่วนของกองทุนตราสารหนี้ ซึ่งมีสัดส่วนที่มากที่สุดของสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (assets under management; AUM) มีผลการดำเนินงานของกองทุนอยู่ในระดับที่น่าพอใจเมื่อเทียบกับกองทุนตราสารหนี้อื่นๆในอุตสาหกรรม สำหรับกองทุนหุ้นและกองทุนประเภทจัดสรรเงินลงทุนไปลงในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ (asset allocation funds) ผลการดำเนินการโดยรวมสอดคล้องกับกองทุนประเภทเดียวกันที่อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัทอื่นๆ เช่นกัน

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน

SCBAM เป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่มี AUM ขนาดใหญ่ที่สุด โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ 19.0% ณ สิ้นปี 2564 บริษัทยังเป็นบริษัทลูกที่สำคัญของ SCB ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 4 ซึ่งมีส่วนแบ่งทางการตลาด ที่ 14.6% ในด้านสินทรัพย์ ณ สิ้นปี 2564

ปัจจัยที่อาจมีผลกระทบต่ออันดับคุณภาพการจัดการการลงทุนในอนาคต

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้เกิดการปรับเพิ่มอันดับคุณภาพการจัดการการลงทุน (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

เนื่องจากอันดับคุณภาพการจัดการการลงทุนปัจจุบันอยู่ในอันดับที่สูงที่สุดแล้ว การปรับเพิ่มอันดับจึงไม่น่าจะเกิดขึ้น
กระบวนการลงทุนที่มีความสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง อาจจะส่งผลให้มีการปรับเพิ่มอันดับคะแนนด้านกระบวนการลงทุนเป็น 'Excellent'

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับคุณภาพการจัดการการลงทุน (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

อันดับคุณภาพการจัดการการลงทุนอาจเปลี่ยนแปลงได้หากเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางลบอย่างมีนัยสำคัญกับ 5 ปัจจัยหลัก (pillars) ที่ใช้ในการจัดอันดับคุณภาพการจัดการการลงทุน ซึ่งได้แก่ กระบวนการการลงทุน บุคลากรและระบบในการจัดการการลงทุน การบริหารจัดการและการควบคุมความเสี่ยง ผลการดำเนินงานจากการบริหารจัดการการลงทุน และบริษัทและการบริการลูกค้า การปรับลดคะแนนสำหรับปัจจัยดังกล่าวอาจส่งผลกระทบในทางลบต่ออันดับคุณภาพการจัดการการลงทุน

เนื่องจากบริษัทมีความเชื่อมโยงที่ใกล้ชิดกับบริษัทแม่ ซึ่งคือ SCB ที่ได้ให้การสนับสนุนบริษัทด้านการดำเนินงาน การเงิน การอนุมัติและให้ความเห็นชอบในนโยบายต่างๆ ทั้งยังมีการพึ่งพาช่องทางการจัดจำหน่ายของบริษัทแม่ ดังนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้นของ SCB ในบริษัทอย่างเป็นสาระสำคัญ และส่งผลกระทบให้ระดับการสนับสนุนจากบริษัทแม่ปรับตัวลดลง เหตุการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลให้มีการทบทวนการประเมินอันดับคุณภาพการจัดการการลงทุนใหม่

ที่มา: ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version