ก.แรงงาน เทรนทักษะแรงงานป้อนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ ตั้งเป้า 5000 คน

จันทร์ ๐๑ สิงหาคม ๒๐๒๒ ๑๔:๔๑
กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ขานรับนโยบายฝึกทักษะแรงงานด้านการท่องเที่ยวหวังแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ป้อนสถานประกอบกิจการในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ ปี 2565 ตั้งเป้าฝึกอบรมกว่า 5,000 คน ฝึกจบแล้ว 4,400 คน
ก.แรงงาน เทรนทักษะแรงงานป้อนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ ตั้งเป้า 5000 คน

นายประทีป ทรงลำยอง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติเริ่มเดินทางท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับประเทศไทยได้ประกาศผ่อนปรนมาตราการด้านการท่องเที่ยว ทำให้มีชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะจังหวัดทางภาคใต้ ส่งผลให้สถานประกอบกิจการ เช่น กิจการด้านการโรงแรม ที่พักอาศัย ร้านอาหาร ตลอดจนธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว มีความต้องการแรงงานเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้เตรียมความพร้อมในเรื่องดังกล่าว เพื่อพัฒนาทักษะให้แก่แรงงานที่สนใจทำงานในธุรกิจด้านการท่องเที่ยว ให้มีความพร้อมในการทำงาน ซึ่งในปี 2565 ดำเนินการพัฒนาทักษะให้แก่แรงงานด้านการท่องเที่ยวไปแล้วจำนวน 4,400 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2565) หลักสูตรที่จัดฝึกอบรมนั้น มีทั้งด้านการเพิ่มทักษะฝีมือในสาขาอาชีพเฉพาะ อาทิ บาริสต้ามืออาชีพ นักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมสปาตะวันตก (หัตถบำบัด) นอกจากนี้ยังฝึกอบรมด้านภาษา ให้แก่แรงงานที่ทำงานในธุรกิจท่องเที่ยวอีกด้วย เพื่อทบทวนทักษะให้มีความมั่นใจในการสื่อสารกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ หลังจากที่ไม่ได้ใช้ทักษะด้านภาษามาเป็นเวลานาน

นายประทีป กล่าวต่อไปว่า การฝึกทักษะให้แก่แรงงานเพื่อป้อนตลาดด้านการท่องเที่ยวนั้น ได้มอบหมายให้หน่วยงานของกรมที่มียุทธศาสตร์จังหวัดส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว ดำเนินการพัฒนาทักษะให้แก่แรงงานในพื้นที่อย่างเร่งด่วน พร้อมประชาสัมพันธ์ความต้องการรับแรงงานเข้าทำงานในสถานประกอบกิจการด้านการท่องเที่ยวทั่วประเทศ ให้แก่แรงงานได้รับทราบด้วย ซึ่งอาจมีแรงงงานต้องการไปทำงานในพื้นที่ที่มีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก เพราะจะทำให้มีรายได้ที่สูงขึ้นด้วย เช่น แรงงานในภาคอีสาน ต้องการไปทำงานในภาคใต้ หรือะภาคเหนือเป็นต้น ที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือแรงงานที่มีทักษะด้านนวดไทยหรือนวดสปา มักจะไปทำงานในจังหวัดภาคใต้เป็นส่วนมาก เนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติสนใจนวดไทยและนวดสปา มักใช้บริการดังกล่าวเป็นจำนวนมากทำให้ผู้ประกอบอาชีพมีรายได้ดีเฉลี่ยถึงเดือนละ 20,000 -30,000 บาท อีกทั้งผู้ประกองการด้านนวด-สปา มีความต้องการแรงงานที่มีทักษะด้านนวดเข้ามาทำงานอีกเป็นจำนวนมาก ค่าจ้างพนักงานจึงสูงขึ้น นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จึงมอบหมายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจึงเร่งพัฒนาทักษะในด้านดังกล่าว ซึ่งสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลภายใต้รัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและกระทรวงแรงงานภายใต้การกำกับของ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้แรงงานมีทักษะฝีมือ ก้าวสู่การมีงานทำและมีรายได้ที่มั่นคง สุดท้ายคือการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะนั่นคือการประเมินถึงสภาพเศรษฐกิจของประเทศ

คุณลำไย จินดา (จิน) อายุ 45 ปี เจ้าของร้านจินดานวดเพื่อสุขภาพ เล่าว่า เป็นคนจังหวัดขอนแก่นเคยมาเที่ยวที่จังหวัดภูเก็ต เมื่อประมาณ 10 ปีก่อน ชอบทะเลและธรรมชาติและมองเห็นช่องทางประกอบอาชีพจึงเลือกใช้ชีวิตอยู่ที่เกาะภูเก็ต จึงเริ่มต้นสมัครเป็นผู้ช่วยนวดแผนไทยตามร้านทั่วไป ช่วงวันหยุดและมีเวลาว่างก็จะหาความรู้เพิ่มเติม จึงสนใจเข้าอบรมนวดแผนไทยและสมัครเข้าฝึกอบรมที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 21 ภูเก็ตผ่านอบรมหลายหลักสูตร เช่น นวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ เทคนิคการนวดไทย การนวดหน้าเพื่อความงาม การนวดเพื่อปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย เป็นต้น ทำให้ตนได้รับความรู้ มีทักษะและเทคนิคการนวด และผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขา นวดไทย ระดับ 1 แล้ว ซึ่งความรู้ในแต่ละหลักสูตรสามารถนำมาใช้ในการให้การบริการแก่ลูกค้าได้ดีมาก สร้างความประทับใจ ทำให้มีลูกค้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน www.dsd.go.th หรือ สอบถามเพิ่มเติมที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 4

ที่มา: กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

ก.แรงงาน เทรนทักษะแรงงานป้อนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ ตั้งเป้า 5000 คน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ