มนัญญา เตรียมเปิดประชุม APEC ระดับสูงด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร

จันทร์ ๑๕ สิงหาคม ๒๐๒๒ ๐๘:๕๓
มนัญญา ไทยเศรษฐ์ เตรียมเปิดประชุม APEC ระดับสูงด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร เดินหน้าตามนโยบายนายกรัฐมนตรีขับเคลื่อนเทคโนโลยีชีวภาพระดับสูงร่วมกับเทคโนโลยีการเกษตรและการผลิตพืช
มนัญญา เตรียมเปิดประชุม APEC ระดับสูงด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พร้อมเชื่อมต่อนโยบายรัฐบาลโดย "กรมวิชาการเกษตร" จะเป็นเจ้าภาพจัดประชุม APEC ระดับสูงด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร (APEC High-Level Policy Dialogue on Agriculture Biotechnology: APEC HLPDAB) ในวันที่ 20 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมพูลแมน คิงเพาเวอร์ กรุงเทพ โดยมีนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม เพื่อเดินหน้าตามนโยบายนายกรัฐมนตรีขับเคลื่อนเทคโนโลยีชีวภาพระดับสูงร่วมกับเทคโนโลยีการเกษตรและการผลิตพืช

ด้วยสภาพแวดล้อมและบริบทระหว่างประเทศในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีนัยสำคัญ ความท้าทายในรูปแบบใหม่ อาทิ ภาวะโลกร้อนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โรคระบาดในพืชที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก ปัญหาด้าน Food security ความเหลื่อมล้ำทางด้านต้นทุน ราคาสินค้าเกษตร การกระจายองค์ความรู้ เทคโนโลยีการผลิตพืช ความยากจน ล้วนเป็นปัญหาความท้าทายที่ไร้พรมแดน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศ ดังนั้น ประชาคมระหว่างประเทศ ภาครัฐและภาคเอกชน ต้องร่วมกันสร้างความร่วมมือและพัฒนาสภาพแวดล้อมและระบบที่เอื้ออำนวยต่อการเสริมสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของนานาประเทศ การศึกษาและการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรับมือกับความท้าทายและการฟื้นฟูจากวิกฤติโควิด-19 ความร่วมมือในกรอบสหประชาชาติต้องไม่ถูกมองข้าม โดยเฉพาะการเร่งขับเคลื่อน SDGs และการพัฒนาเศรฐกิจแบบโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญกับนโยบายตลาดนำการวิจัยที่เป็นนโยบายสืบเนื่องจากตลาดนำการผลิต โดยเป็นการดำเนินงานวิจัยของประเทศไทย ที่ตอบโจทย์ความต้องการและความเร่งด่วนทางเศรษฐกิจ อีกทั้งสร้างความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกรรายย่อย เพื่อนำสังคมการเกษตรไทยพัฒนาอย่างยั่งยืนและมีความมั่นคงทางอาหาร เพื่อความปลอดภัยในการผลิตพืชอาหารโดยระบบ GAP และ GAP plus รวมถึงเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโควิด-19 ในผลผลิตสำหรับการบริโภคในประเทศและการส่งออกนานาชาติ

นอกจากนี้ ในการประชุมครั้งนี้ประเทศไทยยังให้ความสำคัญกับความสำเร็จของ SDGs, BCG Economy Models รวมถึงการใช้เทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่อย่างปลอดภัย มีความรับผิดชอบและยืนยันการเป็นประเทศส่งออกสินค้าเกษตรที่ปลอด GMOs เพื่อพัฒนาคุณภาพ ความปลอดภัย และการผลิตทางการเกษตร ตลอดจนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนสู่เป้าหมายความมั่นคงด้านอาหารปี 2030 เช่น

1. การวิจัยระบบการทำฟาร์มไร้ก๊าซเรือนกระจก ซึ่งกระทรวงเกษตรโดยกรมวิชาการเกษตรกำลังวางแผนที่จะทำงานร่วมกับองค์การจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และเพื่อยกระดับกรมวิชาการเกษตรเป็นผู้มีอำนาจรับรองระบบการทำฟาร์มไร้ก๊าซเรือนกระจกทางด้านการเกษตร2. ความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาโดยเทคโนโลยีชีวภาพระดับสูง เพื่อยกระดับคุณภาพและผลผลิต ท่อนพันธุ์ เมล็ดพันธุ์ให้เป็นศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์ (Seed-Hub) ของภูมิภาคเศรษฐกิจ APEC3. ให้ความร่วมมือและสนับสนุนร่วมกับภาคเอกชนในการผลิตเมล็ดพันธุ์ เพื่อให้ราคาเมล็ดพันธุ์ยุติธรรม มีราคาถูก และมีเหมาะสมสำหรับเกษตรกรรายย่อย4. ความร่วมมือกันในการแก้ไขและออกกฎระเบียบให้เอื้อต่อการวิจัยพัฒนา Biotechnology และ Modern Biotechnology ของภาคการเกษตร รวมถึงการอนุมัติการใช้จุลินทรีย์ทางการเกษตรที่มีความชัดเจนเพราะเกี่ยวเนื่องถึงการใช้ในภาคอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Technology)5. ความร่วมมือกับหน่วยงานระหว่างประเทศ อาทิ USDA ในเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืช การแลกเปลี่ยนนักวิจัย การอบรมเสริมสร้าง Capacity building และการมีโปรแกรมวิจัยร่วมกัน6. การพัฒนาพันธุ์พืชสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ กัญชา/กัญชง กระท่อม เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์โดยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพร่วมกับภาคเอกชนและภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

การจัดประชุมหารือระดับสูงด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร (HLPDAB) มีเป้าหมายให้ผู้กำหนดนโยบายสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปค แลกเปลี่ยนข้อมูล เสริมสร้างศักยภาพการพัฒนานโยบายสาธารณะเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร สนับสนุนการใช้ประโยชน์ทางการค้า เป็นเครื่องมือในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร สร้างรายได้ กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ปกป้องสิ่งแวดล้อม บรรเทาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การพัฒนางานวิจัย ความร่วมมือ กฎหมายและระเบียบทางด้านไบโอเทคโนโลยีเป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนตอบสนองต่อปัญหาและความท้าทายของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยในการประชุมครั้งนี้จะมีการนำประเด็นการหารือระดมความคิดถอดบทเรียนและมุมมองด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรและเทคโนโลยีการผลิตพืชของไทยจากอดีตสู่อนาคต ซึ่งเป็นข้อคิดเห็นจากการระดมสมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาร่วมไว้ด้วยและจะนำไปใช้เป็นจุดยืนของประเทศไทยใน Declaration on APEC Food Security ของ APEC Food Security Ministerial Meeting ด้วย

"ผลจากการประชุมครั้งนี้จะทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ช่วยผลักดันด้านการค้าและการลงทุน ในยุคสังคมดิจิทัล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เกษตรกรและเพิ่มความมั่นคงด้านอาหาร เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตรสมัยใหม่เพื่อระบบอาหารที่ปลอดภัย มั่นคง และยั่งยืน" อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

ที่มา: กรมวิชาการเกษตร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ