เอบีม คอนซัลติ้ง เผยสถานะ "สถานีชาร์จรถไฟฟ้า" ในคอนโดกรุงเทพฯ การขาดแคลนความสะดวกและค่าใช้จ่ายสูงเป็นอุปสรรคต่อการปรับใช้รถยนต์ไฟฟ้า

อังคาร ๑๖ สิงหาคม ๒๐๒๒ ๑๐:๑๓
จำนวนจุดสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอ และค่าไฟฟ้าที่สูงเป็นอุปสรรคในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมหรืออาคารสูงในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (BMR: Bangkok Metropolitan Region) จากผลสำรวจล่าสุดโดย เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย)
เอบีม คอนซัลติ้ง เผยสถานะ สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ในคอนโดกรุงเทพฯ การขาดแคลนความสะดวกและค่าใช้จ่ายสูงเป็นอุปสรรคต่อการปรับใช้รถยนต์ไฟฟ้า

เอบีม คอนซัลติ้ง เผยว่าประมาณ 3% ของโครงการคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) นอกจากนี้ คอนโดมิเนียมประมาณ 74% ที่มีจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) มีจุดที่สามารถรองรับการชาร์จได้เพียง 1 หรือ 2 คันพร้อมกันเท่านั้น โดยรวมแล้ว มีพื้นที่สำหรับชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ประมาณ 400 คันเท่านั้น

ในปัจจุบัน คอนโดมิเนียมใช้รูปแบบการกำหนดราคาชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่หลากหลาย โดยการกำหนดราคาตามเวลา (64%) เป็นรูปแบบที่พบบ่อยที่สุด รองลงมาคือการชำระค่าไฟฟ้าที่ใช้ไป (31%) มีเพียง 1% ที่ใช้รูปแบบการคิดราคาคงที่ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับเวลาหรือหน่วยไฟฟ้า และอีก 4% มีบริการแท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) แบบไม่คิดค่าใช้จ่าย

โดยส่วนใหญ่แล้ว การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ในอาคารหรือคอนโดมิเนียมนั้นไม่ได้ถูกอย่างที่คิด เนื่องจากค่าไฟฟ้าที่มากกว่า 50% ของโครงการคอนโดมิเนียมที่คิดค่าไฟฟ้าตามหน่วยคือ 10 บาท ต่อ กิโลวัตต์ ซึ่งมากกว่า 2 เท่าของค่าไฟฟ้าสูงสุดที่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) กำหนดที่ 4.7 บาท ซึ่งทำให้ผู้บริโภคที่คิดจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) เพื่อลดค่าน้ำมันจำเป็นต้องกลับไปทบทวนการตัดสินใจอีกครั้งเพราะการเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ในคอนโดส่วนใหญ่จำเป็นต้องเสียค่าชาร์จไฟฟ้าที่เทียบเท่ากับการเติมน้ำมันในรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE: Internal Combustion Engine) ที่ประหยัดน้ำมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์ไฮบริด

การวิจัยพบว่า 90% ของคอนโดมิเนียมมีที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าขนาด 22 กิโลวัตต์ ซึ่งมากเกินความจำเป็นสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ณ ปัจจุบันที่ส่วนใหญ่ยังรองรับการชาร์จแบบธรรมดาด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Charging) ได้ไม่เกิน 7 กิโลวัตต์ อีกทั้งที่ชาร์จขนาด 22 กิโลวัตต์มีราคาที่สูงกว่าที่ชาร์จขนาด 7 กิโลวัตต์ ถึง 20%

ขณะนี้ รัฐบาลทั่วภูมิภาคเอเชียเริ่มมีการออกกฎระเบียบใหม่เพื่อรองรับกระแสรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่กำลังเติบโต ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศสิงค์โปร์ 8 เมืองที่อยู่ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาการเคหะ (HBD: Housing and Development Board) ที่รองรับถึง 20% ของประชากรในประเทศสิงค์โปร์ จะต้องมีจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) 3-12 จุดต่ออาคารภายในปี พ.ศ.2568 หรือประมาณ 12,000 จุดโดยรวม มากไปกว่านั้น นโยบายดังกล่าวจะถูกบังคับใช้กับเมืองที่อยู่ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาการเคหะทั้งหมดภายในปีพ.ศ.2573 นอกจากนี้รัฐบาลสิงค์โปร์ยังมีการสนับสนุนเงินทุนสูงสุดถึง 50% สำหรับเครื่องชาร์จอัจฉริยะ (Smart Chargers) ทั้งหมด อีกทั้งสิงค์โปร์ยังมีแผนที่จะออกกฎหมายใหม่เพื่อบังคับให้ 15% ของที่จอดรถทั้งหมดเป็นจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 7.4 กิโลวัตต์และอย่างน้อย 1% ของที่จอดรถต้องมีจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV)

ทางด้านประเทศจีน มีเมืองใหญ่หลายเมืองที่ได้ออกกฎหมายบังคับให้อาคารใหม่ติดตั้งจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากร ในขณะที่ฮ่องกงกำลังสนับสนุนการอัปเกรดอาคารปัจจุบันโดยให้เงินทุนสูงถึง 4,000 เหรียญสหรัฐต่อพื้นที่จอดรถเพื่อการติดตั้งโครงสร้างที่รองรับจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) สำหรับที่จอดรถ 140,000 แห่งภายในปีพ.ศ. 2571 คิดเป็นมูลค่ารวม 450 ล้านเหรียญสหรัฐ

คุณ โจนาธาน วาร์กัส รุยซ์ หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ประจำภูมิภาคอาเซียน บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า "สถานการณ์ปัจจุบันเป็นอุปสรรคสำหรับรัฐบาลไทยในการบรรลุเป้าหมายด้านการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) และสำหรับผู้ผลิตรถยนต์ที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้ขับขี่เปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) เนื่องจากอาคารและอพาร์ตเมนต์มีสัดส่วนมากกว่าหนึ่งในสามของหน่วยจดทะเบียนทั้งหมดภายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อเร่งความคืบหน้าในการเปลี่ยนให้คนไทยหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) โครงสร้างพื้นฐานของจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนตัวจำเป็นต้องรองรับให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค"

นอกจากนี้ ผลการสำรวจในปีพ.ศ.2564 โดย เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) เกี่ยวกับความสนใจของผู้บริโภคในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า พบว่าข้อกังวลหลักคือ เวลาในการชาร์จที่ยาวนาน (50%) ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งจุดชาร์จที่บ้าน (40%) และปัญหาที่พบในการติดตั้งจุดชาร์จที่บ้าน (20%)

"เพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืนในอนาคต ประเทศไทยควรปรับใช้กฎระเบียบเพื่อกำหนดให้อาคารใหม่ติดตั้งแท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และดูแลให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าที่เหมาะสมเพื่อให้แน่ใจว่าการเติบโตของการปรับใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) จะดำเนินต่อไปตามที่คาดไว้ การชาร์จที่บ้านมักจะเป็นวิธีการชาร์จทั่วไปสำหรับเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการอำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคสามารถชาร์จรถยนต์ได้แบบไร้ข้อกังวล"

หากต้องการทราบว่า เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) สามารถช่วยสร้างโอกาสจากการขยายตัวของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า(EV) ได้อย่างไร สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ [email protected]

ที่มา: สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. สุขสนุกกับเทศกาลอีสเตอร์ด้วย Boozy Bunnies Brunch ที่ The Standard Grill
๑๑ เม.ย. Mrs. GREEN APPLE วงป็อปร็อกญี่ปุ่นชื่อดัง ส่งเพลงใหม่ KUSUSHIKI ฉลองครบรอบ 10 ปีอย่างยิ่งใหญ่เต็มรูปแบบ
๑๑ เม.ย. แลคตาซอย ส่งมอบนมถั่วเหลืองกว่า 70,000 กล่อง เสริมพลังกาย สร้างกำลังใจให้คนทุ่มเท ในการเดินทางช่วงสงกรานต์ 68
๑๑ เม.ย. สถาปนิก'68 เตรียมเปิดเวที ASA International Forum 2025 เชิญกูรูต่างประเทศร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างแรงบันดาลใจ
๑๑ เม.ย. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ทุ่มงบกว่า 1 ล้านบาท ลงพื้นที่ สร้างสุข ใส่ใจ ผู้สูงวัย ในสถานสงเคราะห์ พร้อมแจกจ่าย ชุดของขวัญคลายร้อน
๑๑ เม.ย. คปภ. ทำงานร่วมกับ กทม. ลงพื้นที่ประสานงานกรณีตึกถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว เร่งตรวจสอบสิทธิประโยชน์ด้านประกันภัยเพื่อดูแลผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน
๑๑ เม.ย. โบว์-วิน สาดออร่าคู่! เนรมิตสงกรานต์ไอคอนสยามสุดอลังการ ในลุคนางสงกรานต์-เทพบุตรสุดปัง! พิธีเปิดงาน ICONSIAM THAICONIC SONGKRAN CELEBRATION 2025
๑๑ เม.ย. รายการ หนูทดลอง Little Explorers EP ล่าสุด ชาบูโชว์ฝีมือการเป็นเชฟทำอาหาร และพาไปดูหนังที่โรงภาพยนตร์สำหรับเด็ก
๑๑ เม.ย. ย้อนความเป็นมาวันสงกรานต์ พร้อมมีช่วงเวลาดี ๆ ไปกับวันเดอร์พัฟฟ์
๑๑ เม.ย. มหาสงกรานต์ ไอคอนสยาม เริ่มแล้ว!!! สัมผัสประสบการณ์สาดความสุข สนุกสไตล์ไทย ICONSIAM THAICONIC SONGKRAN CELEBRATION