"...ขอชื่นชม วว. ที่นำผลงานวิจัยซึ่งสำเร็จเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม มาผนวกเข้ากับกิจกรรมการปลูกป่า เพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวให้กับจังหวัดนครราชสีมา อีกทั้งในอนาคตอันใกล้จะเกิดเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ เป็นต้นแบบพื้นที่การปลูกไม้ยืนต้น/ไม้กินได้ เพื่อเพิ่มพื้นที่และฟื้นฟูป่าชุ่มน้ำ ในพื้นที่ใกล้ลำน้ำลำตะคอง ตลอดจนใช้เป็นแหล่งเรียนรู้การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตและการใช้ประโยชน์พืชพื้นเมืองและเห็ด ในนามของจังหวัดนครราชสีมา พร้อมร่วมสนับสนุนโครงการดีๆ ที่มีประโยชน์ อย่างเต็มกำลัง เพื่อให้เกิดการขยายผลและเผยแพร่องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์เช่นนี้ให้ครอบคลุมทั่วทั้งจังหวัด และขยายผลไปยังจังหวัดใกล้เคียง และจังหวัดในภูมิภาคอื่นๆ ต่อไป เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศโดยรวม..." รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมากล่าว
นายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ กล่าวต่อว่า จังหวัดนครราชสีมาถือเป็นจังหวัดที่มีความวิกฤตรุนแรงด?านการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ โดยเป?น 1 ใน 3 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป?น 1 ใน 12 จังหวัดของประเทศ โดยเฉพาะป?ญหาการลักลอบตัดไม?พะยูง ซึ่งเป?นไม?ที่ตลาดต?างประเทศมีความต?องการสูงและมีราคาแพง พบมากในบริเวณเขตอุทยานแห?งชาติ นอกจากนี้ยังมีป?ญหาการบุกรุกพื้นที่ป?า เพื่อเป็นพื้นที่ทำกินและใช?ประโยชน?อื่นๆ ดังนั้นจังหวัดนครราชสีมาจึงให้ความสำคัญในการฟื้นฟูผืนป่า และส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานเครือข่ายในพื้นที่ อย่างเช่น วว. ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ โดยดำเนินงานผ่านโครงการต่างๆ เพื่อสร้างความตระหนักและจิตสำนึกให้ชุมชนในพื้นที่ อได้มีแนวคิดในการร่วมกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้อยู่คู่กับประเทศไทยตราบนานเท่านาน
นายสมพร มั่งมี กรรมการบริหาร วว. กล่าวแสดงเจตนารมณ์ในการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติปลูกป่า "90 ไร่ 9,000 ต้น" ของ วว. ว่า มุ่งให้เกิดพื้นที่ต้นแบบป่านิเวศ ป่ากินได้ ป่าเศรษฐกิจ ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้นแบบสำหรับการสร้างป่าครัวเรือน เพื่อแหล่งอาหารและสร้างรายได้ และยังเป็นการร่วมสนองพระปณิธานของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงให้ความสำคัญกับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ การเสริมสร้างและปลูกฝังให้ราษฎรเกิดความรักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ โดย วว. นำองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ยกระดับการปลูกป่าร่วมกับเห็ดไมคอร์ไรซา ให้พึ่งพากับต้นไม้ชนิดที่เป็นพืชอาศัยแบบเกื้อกูลกันและยังช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตพืช ที่ผ่านมา วว. ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้การปลูกไม้เศรษฐกิจ ร่วมกับเทคโนโลยีเห็ดป่าไมคอร์ไรซาในหลายพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศ เช่น จังหวัดเชียงราย ลำพูน เชียงใหม่ นครราชสีมา ศรีสะเกษ สกลนคร สระแก้ว และสงขลา ผลจากการดำเนินงานพบว่า พืชเจริญเติบโต แข็งแรง สมบูรณ์มากกว่าพืชที่ไม่ได้ใส่เชื้อเห็ดไมคอร์ไรซา 2-3 เท่า อีกทั้งเกษตรกร/ชุมชนในพื้นที่ยังได้ผลผลิตของเห็ดป่าที่เพาะร่วมกับต้นไม้ นับเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับประเทศ ช่วยสร้างอาชีพ สร้างรายได้ พัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้ยั่งยืน
ดร.จิตรา ชัยวิมล รองผู้ว่าการบริหาร วว. กล่าวสรุปเพิ่มเติมถึงการดำเนินโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติของ วว. ว่า กำหนดจัดกิจกรรมในพื้นที่ปลูกป่า ณ วว. ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยคัดเลือกพรรณไม้ที่เหมาะสมพร้อมกับเสริมเทคโนโลยีเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซา (ซึ่งมีจุดเด่นคือ ช่วยให้พืชเจริญเติบโตแบบเกื้อกูลกัน) เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างต้นแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม กิจกรรมปลูกป่า ณ สถานีวิจัยลำตะคอง เป็นการปลูกไม้ยืนต้น ไม้กินได้ ร่วมกับการเสริมเทคโนโลยีเชื้อเห็ดไมคอร์ไรซา โดยถือเป็นการสร้างต้นแบบการปลูกไม้ยืนต้น/ไม้กินได้ เพื่อเพิ่มพื้นที่และฟื้นฟูป่าชุ่มน้ำ ใกล้กับลำน้ำลำตะคอง ตลอดจนใช้เป็นแหล่งเรียนรู้การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตและการใช้ประโยชน์พืชพื้นเมืองร่วมกับเห็ด เป็นต้นแบบสำหรับการปลูกป่าเพื่อสร้างรายได้และสร้างแหล่งอาหาร พร้อมทั้งสามารถคำนวนปริมาณการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 capture) และขายคาร์บอนเครดิต เป็นการสนับสนุนเป้าหมายที่มุ่งสู่ Net Zero Emissions ของประเทศ
"...พื้นที่ดำเนินการโครงการ "ปลูกป่า 90 ไร่ 9,000 ต้น" ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ (1) สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 50 ไร่ ซึ่งได้จัดกิจกรรมแล้วเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2565 (2) สถานีวิจัยลำตะคอง วว. อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 35 ไร่ และ (3) พื้นที่ วว. สำนักงานใหญ่ เทคโนธานี คลองห้า จังหวัดปทุมธานี วว. บางเขน กรุงเทพมหานคร และ วว. บางปู จังหวัดสมุทรปราการ รวม 5 ไร่ โดยจะจัดกิจกรรมในวันที่ 30 สิงหาคม ที่จะถึงนี้..." รองผู้ว่าการบริหาร วว. กล่าว
วว. พร้อมให้บริการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้คำแนะนำปรึกษาด้านธุรกิจแก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน ส่งเสริมสนับสนุนความเข้มแข็งเศรษฐกิจประเทศ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ โทร. 0 2577 9000 โทรสาร 0 2577 9009 เว็บไซต์ www.tistr.or.th อีเมล : [email protected] line@TISTR IG : tistr_ig
ที่มา: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย