บทบาทสำคัญของแพทย์รังสีร่วมรักษาระบบประสาทในประเทศไทย ถือเป็นศาสตร์ทางการแพทย์เฉพาะทางรังสีวิทยาเพื่อการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรคด้านโรคหลอดเลือดสมองและไขสันหลัง โดยใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์จำเพาะที่มีขนาดเล็กใส่เข้าไปในร่างกายของผู้ป่วย โดยใช้ภาพทางรังสีวินิจฉัยเพื่อนำทางอุปกรณ์ดังกล่าวไปถึงรอยโรคเพื่อทำการรักษา ปัจจุบันบำรุงราษฎร์มุ่งรักษาผู้ป่วยด้วยการใช้เทคโนโลยีที่เน้นการเปิดแผลเล็ก โดยไม่ต้องทำการผ่าตัด หรือที่เรียกว่า Minimal Invasive Surgery (MIS) ซึ่งเปิดแผลเล็กประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ทำให้ลดระยะเวลาพักรักษาในห้อง ICU รวมถึงแทบไม่มีการอักเสบของการผ่าตัด และสามารถลดอาการแทรกซ้อนในการรักษาได้
บุคคลในภาพ (จากซ้าย):
- นพ. ทัศนวุฒิ เธียรปัญญา ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาทางคลินิก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
- ศ.นพ. นิมิต เตชไกรชนะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร งานวิจัยและการศึกษา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
- นพ. กรพรหม แสงอร่าม รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานปฏิบัติการด้านคลินิกและการบริการ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
- คุณนภัส เปาโรหิตย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการตลาด โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
- ภญ. อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
- ศ.พญ. ศิรินธรา สิงหรา ณ อยุธยา แพทย์ผู้ชำนาญการด้านหลอดเลือดสมองและไขสันหลัง ศูนย์รังสีร่วมรักษาระบบประสาท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
- คุณอรภรรณ บัวม่วง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการเงิน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
- คุณนุชจารี จังวณิชชา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการจัดการทั่วไป โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
- ผศ.นพ. ก่อพงศ์ รุกขพันธ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการจัดการทั่วไป ที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และคุณภาพ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
ที่มา: โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์