ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากถุงลมนิรภัยทาคาตะทำงานผิดปกติ อาจยังมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายผ่านเจ้าหน้าที่พิเศษและทรัสตี ภายใต้กระบวนการเรียกร้องค่าเสียหายจากการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตโดยมิชอบ

อังคาร ๓๐ สิงหาคม ๒๐๒๒ ๐๘:๐๐
ศาสตราจารย์ เอริก ดี. กรีน ( Eric D. Green) เจ้าหน้าที่พิเศษของกองทุนชดใช้ค่าสินไหมทดแทนบุคคลที่ได้รับความเสียหายในคดีถุงลมนิรภัยทาคาตะ (Takata Airbag Individual Restitution Fund) ของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ และทรัสตีของกองทุนทรัสต์เพื่อชดเชยการละเมิด (Tort Compensation Trust Fund) ที่จัดตั้งขึ้นในคดีล้มละลายของทาคาตะ ได้ออกแถลงการณ์ดังต่อไปนี้

การเรียกร้องค่าเสียหายกรณีถุงลมนิรภัยทาคาตะบกพร่อง

เมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 ศาสตราจารย์ เอริก ดี. กรีน เจ้าหน้าที่พิเศษและทรัสตี ได้เปิดโครงการชดเชยค่าเสียหายสำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตโดยมิชอบ อันเนื่องมาจากการพองตัวอย่างรุนแรงหรือการแตกของตัวสูบลมในถุงลมนิรภัยทาคาตะที่ใช้แอมโมเนียมไนเตรตในการพองตัว ( "ความบกพร่องของตัวสูบลมในถุงลมนิรภัยทาคาตะ") โดยผู้เสียหายมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากกองทุน Individual Restitution Fund ("IRF") วงเงิน 125 ล้านดอลลาร์ของกระทรวงยุติธรรม และ/หรือ กองทุนทรัสต์ Takata Airbag Tort Compensation Trust Fund ("TATCTF") วงเงินประมาณ 140 ล้านดอลลาร์ โดยกระบวนการเรียกร้องค่าเสียหายกำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ และผู้เสียหายยังคงมีเวลาดำเนินการ

ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตโดยมิชอบอันเนื่องมาจากความบกพร่องของตัวสูบลมในถุงลมนิรภัยทาคาตะ สามารถดำเนินการเรียกร้องค่าเสียหายได้สามประเภท ได้แก่ ( i) "IRF Claim" เป็นการเรียกร้องค่าเสียหายจากกองทุน IRF ซึ่งเป็นกองทุนชดเชยค่าสินไหมทดแทนสำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตโดยมิชอบ กองทุนนี้กำกับดูแลโดยเจ้าหน้าที่พิเศษ และจัดตั้งขึ้นภายใต้คำสั่ง Restitution Order ของศาลแขวงสหรัฐอเมริกาสำหรับเขตตะวันออกของรัฐมิชิแกน สืบเนื่องจากการดำเนินคดีอาญาของกระทรวงยุติธรรมต่อบริษัททาคาตะ สหรัฐอเมริกาต่อบริษัททาคาตะ คอร์ปอเรชั่น (U.S. v. Takata Corporation) คดีหมายเลข 16-cr-20810 (E.D. Mich.), (ii) "Trust Claim" เป็นการเรียกร้องค่าเสียหายจากกองทุนทรัสต์ TATCTF ซึ่งเป็นกองทุนชดเชยค่าเสียหายสำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตโดยมิชอบ กองทุนนี้กำกับดูแลโดยทรัสตี และจัดตั้งขึ้นตามแผนฟื้นฟูกิจการมาตรา 11 ของทาคาตะ ภายใต้คำสั่งของศาลล้มละลายเขตเดลาแวร์ และ (iii) "POEM Claim" เป็นการเรียกร้องค่าเสียหายจาก Participating Original Equipment Manufacturer หรือ POEM (ปัจจุบันมี POEM รายเดียวคือ Honda/Acura) โดยต้องดำเนินการผ่านกองทุน TATCTF ที่กำกับดูแลโดยทรัสตี

การเรียกร้องค่าเสียหายแต่ละประเภทมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิยื่นคำร้องแตกต่างกันไป และการเรียกร้องค่าเสียหายแต่ละประเภทครอบคลุมเฉพาะการบาดเจ็บทางร่างกายและการเสียชีวิตโดยมิชอบอันเนื่องมาจากความบกพร่องของตัวสูบลมในถุงลมนิรภัยทาคาตะ โดยไม่ครอบคลุมการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตโดยมิชอบอันเนื่องมาจากส่วนประกอบอื่น ๆ ของถุงลมนิรภัย เช่น ถุงลมนิรภัยไม่ทำงาน ถุงลมนิรภัยพองตัวเอง การบาดเจ็บจากการชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวสูบลม หรือความเสียหายทางเศรษฐกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บทางร่างกายหรือการเสียชีวิต

สามารถขอรับแบบฟอร์มการเรียกร้องค่าเสียหาย ซึ่งประกอบด้วยคำแนะนำโดยละเอียดเกี่ยวกับวิธีการยื่นคำร้องได้ที่เว็บไซต์ของ IRF: www.takataspecialmaster.com หรือเว็บไซต์ของ TATCTF: www.TakataAirbagInjuryTrust.com

การกำกับดูแลกระบวนการเรียกร้องค่าเสียหายและแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

ศาสตราจารย์กรีนได้รับการแต่งตั้งจากศาลแขวงให้เป็นเจ้าหน้าที่พิเศษดูแลการเรียกร้องค่าเสียหายประเภท IRF Claim และได้รับการแต่งตั้งจากศาลล้มละลายให้เป็นทรัสตีดูแลการเรียกร้องค่าเสียหายประเภท Trust Claim และ POEM Claim

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง วันหมดเขตยื่นคำร้อง และวิธีการยื่นคำร้อง กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.takataspecialmaster.com และ www.TakataAirbagInjuryTrust.com หรือส่งคำถามมาที่อีเมล [email protected] หรือโทรฟรีที่หมายเลข (888) 215-9544

ติดต่อ :  Questions@TakataAirbagInjuryTrust. com



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ