ซึ่งดำเนินการขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ของ วว. โอกาสนี้คณะผู้บริหาร นักวิจัย และบุคลากรของทั้งสองหน่วยงาน เข้าร่วมประชุมด้วย นอกจากนี้คณะฯ ยังได้เยี่ยมชมภารกิจและโครงสร้างพื้นฐาน วว. ที่มีศักยภาพช่วยสนับสนุน ส่งเสริม ความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจของประเทศ ได้แก่ ศูนย์ทดสอบการสลายตัวทางชีวภาพ (Bio D) ศูนย์บริการนวัตกรรมเครื่องสำอางครบวงจร (ICOS) ศูนย์ไบโอเมทานอล โรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร (FISP) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่าย (ALEC) และศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (RTTC) ในวันที่ 31 สิงหาคม 2565 ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคาร Admin วว. เทคโนธานี คลองห้า จังหวัดปทุมธานี
รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์และนวัตกรรม วว. กล่าวว่า วว. มีพันธกิจหลักในการวิจัยพัฒนา สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรม สู่ภาคอุตสาหกรรม วิสาหกิจชุมชน และผลักดันให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ทั้งเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้บริการวิเคราะห์ ทดสอบ สอบเทียบ รับรองระบบคุณภาพ อบรมและเป็นที่ปรึกษา เพื่อยกระดับมาตรฐานและความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม โดยยึดหลักการบริหารจัดการองค์กร สู่องค์กรสมรรถนะสูง ทันสมัย และมีธรรมาภิบาล ซึ่ง วว. ตระหนักและเห็นความสำคัญเกี่ยวกับทิศทางการขับเคลื่อนงานวิจัย ให้สามารถนำไปสู่เชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม
ดร.อาภากร สุปัญญา กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน วว. จัดทำแผนวิสาหกิจ ประจำปี 2566- 2570 เพื่อใช้เป็นกรอบทิศทางในการขับเคลื่อนองค์กรด้านการวิจัยพัฒนา ไปสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรม การให้บริการด้านอุตสาหกรรม และการบริหารจัดการองค์กร โดยมียุทธศาสตร์สำคัญ 5 ด้าน ได้แก่
ยุทธศาสตร์ที่ 1 วทน .สนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจ BCG
ยุทธศาสตร์ที่ 2 วทน. สนับสนุนการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรม เพื่อยกระดับขีดความสามารถของ SMEs และอุตสาหกรรมเป้าหมาย
ยุทธศาสตร์ที่ 3 วทน. เพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสำคัญของประเทศด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาองค์กรสมรรถนะสูง
ยุทธศาสตร์ที่ 5 เพิ่มความสามารถในการพึ่งพาตนเอง
ซึ่ง วว. มียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนงานด้าน ววน. เพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน (FF) 3 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 มุ่งเน้นการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้านการเกษตร อาหารและสมุนไพรเพื่อสุขภาพ จากฐานความหลากหลายชีวภาพของประเทศ ตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG
ยุทธศาสตร์ที่ 2 มุ่งเน้นการวิจัยพัฒนาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับ SME และการพัฒนาความสามารถในการให้บริการภาคอุตสาหกรรม และ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 มุ่งเน้นการวิจัยด้านการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานสะอาด และการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น การบริหารจัดการขยะ zero waste และของเสียภาคอุตสาหกรรม
ดร.อาภากร สุปัญญา กล่าวถึงการที่ วว. ได้รับการสนับสนุนทุน สนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund) ในการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยเพื่อขับเคลื่อนสู่เชิงพาณิชย์ว่า ได้รับทุนสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund) จากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หรือ บพข. เช่น การผลิตสารสกัดมูลค่าสูงและสารสำคัญสมุนไพร การทดสอบตามมาตรฐานภาคอุตสาหกรรมในอุตสาหกรรม s-curve ต่างๆ การทดสอบสมบัติการสลายตัวทางชีวภาพในน้ำทะเลและระดับความเป็นพิษตกค้าง การพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการในพื้นที่ เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นต้น และได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. เช่น การส่งเสริมศักยภาพด้านการเกษตร ไม้ดอก ไม้ประดับ และด้านพลังงาน เป็นต้น ในการประชุมหารือกับ สกสว. ในวันนี้ถือเป็นนิมิตหมายอันดีที่ วว. ได้มีโอกาสสื่อสารและแลกเปลี่ยนความเข้าใจ วว. ยินดีที่จะนำข้อเสนอแนะต่างๆ ไปปรับเป็นแนวทางการบริหารงานวิจัยและขับเคลื่อนงานวิจัยของ วว. ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ
ที่มา: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย