ศ. นพ.สุทธิพร เผยศักยภาพนักวิจัยไทยเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก มุ่งผลักดันไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ หวังคนไทยร่วมแรง ร่วมใจ พัฒนาและสร้างสรรค์ประเทศด้วยมือเรา

พุธ ๐๗ กันยายน ๒๐๒๒ ๑๔:๐๑
ศ. นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) กล่าวในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2565 "TSRI Annual Symposium 2022" ขับเคลื่อนภูมิภาคทั่วไทย ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมว่า งานวิจัยและวิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญในช่วงที่ประเทศประสบวิกฤตการณ์จากโควิด-19 ทาง กสว. รับมือด้วยการปฏิรูประบบวิจัย พร้อมแผนการบริหารงานฉุกเฉินที่เน้นความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการระบบ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด เนื่องด้วยการทำวิจัยโครงการต่าง ๆ จำต้องอาศัยการวางแผนทั้งกระบวนการเพื่อพัฒนาและต่อยอดให้เกิดผลสำเร็จ ยกตัวอย่างชุดตรวจโควิด-19 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ล้วนมาจากการพัฒนาด้วยฝีมือคนไทย โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก หรือในเรื่องของวัคซีน เราเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมพัฒนาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพตั้งแต่จุดเริ่มต้น นอกเหนือจากการวิเคราะห์ประเภทวัคซีนที่เหมาะสมและจัดซื้อเพื่อดำเนินการแล้ว ยังพัฒนาวัคซีนร่วมกับแหล่งผลิตวัคซีนที่สำคัญในต่างประเทศ อย่างวัคซีนแอสตราเซเนก้า และเริ่มลงมือทำวิจัยวัคซีนบางประเภท เช่น วัคซีนที่ใช้ mRNA อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรามุ่งหวังว่า วัคซีนที่เราพัฒนาจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อคนไทยในประเทศ หากเกิดการเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ในอนาคต
ศ. นพ.สุทธิพร เผยศักยภาพนักวิจัยไทยเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก มุ่งผลักดันไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ หวังคนไทยร่วมแรง ร่วมใจ พัฒนาและสร้างสรรค์ประเทศด้วยมือเรา

นอกจากนี้ในด้านเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ เช่น เครื่องช่วยหายใจฉุกเฉิน ห้องความดันลบ ชุดความดันบวก เป็นต้น เราสามารถพัฒนากระบวนการสร้างเครื่องมือทางการแพทย์เป็น One Stop Service ที่มีมาตรฐาน และรองรับการใช้งานได้ทุกสถานการณ์ นับเป็นความภาคภูมิใจที่วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ช่วยปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ และลดความสูญเสียชีวิตในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินที่ผ่านมา

ขณะที่ รศ. ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ระบุว่า ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ทาง สกสว. มุ่งศึกษาสถานการณ์ในพื้นที่อย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันเรามีหน่วยบริหารและจัดการทุนที่ทำงานในเชิงพื้นที่ ซึ่งหน่วยบริหารจัดการทุนเหล่านี้มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการเสริมศักยภาพของพื้นที่ ทำให้เห็นโอกาสในการปรับตัวและนำผลงานวิจัยในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น ในทางด้านการแพทย์ เรามีหน่วยงานที่คอยดูแลระบบสุขภาพและศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นควบคู่กันไป นำไปสู่ข้อเสนอที่สนับสนุนในเชิงมาตรการต่าง ๆ ด้วย นอกจากนี้ ทางสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เองยังคงเดินหน้าดูแลเรื่องสังคมสูงวัยอย่างต่อเนื่อง ด้วยเล็งเห็นความสำคัญของสังคมสูงวัยของประเทศไทยระยะยาว ทั้งในภาวะการณ์ปกติและช่วงโควิด-19 โดยผลักดันการสร้างกระบวนการในการดูแลผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบ การเตรียมความพร้อมเรื่องสังคมสูงวัยให้กับสังคมไทย นับเป็นโจทย์ระยะยาวที่เรายังเดินหน้าทำงานอย่างเต็มกำลัง

ศ. นพ.สุทธิพร ทิ้งท้ายว่า ศักยภาพของคนไทยในการทำสิ่งต่าง ๆ นั้นมีคุณภาพมาตรฐานทัดเทียมต่างประเทศ สิ่งสำคัญคือหากเราทำ เราใช้ผลผลิตของเราเอง เราเติบโตแน่นอน ดังนั้นเป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน เพื่อเป้าหมายเดียวกันในการพัฒนาประเทศอย่างสมดุลและยั่งยืน

ที่มา: สานฟ้า

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ