"ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โครงการฟอร์ดฟื้นฟูชีวิตได้เข้าไปช่วยเสริมทักษะทั้งการทำเกษตรแบบเร่งด่วนและสร้างชุมชนออนไลน์ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและจำหน่ายผลผลิตให้กว่า 400 ครัวเรือนในประเทศไทยให้มีรายได้เพิ่มเติมในช่วงที่ได้รับผลกระทบด้านการจ้างงานจากสถานการณ์โควิด-19 ในปีนี้ฟอร์ดและพีดีเอจึงยังคงเดินหน้าจัดทำโครงการฯ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยขยายการอบรมไปยังกลุ่มผู้สูงวัย ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นในสังคมไทย เพื่อเพิ่มโอกาสในการหารายได้และส่งเสริมการพึ่งพาตนเอง นับเป็นหนึ่งในความพยายามที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคม ตอกย้ำแนวทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทในการใส่ใจดูแลกันและกัน" นางสาวกมลชนก ประเสริฐสม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร ฟอร์ด ประเทศไทยและตลาดอาเซียน กล่าว
ในการฝึกอบรมกลุ่มแรกของปีนี้ที่ศูนย์พัฒนาชนบทผสมผสานจังหวัดมหาสารคาม ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้แนวทางการทำอาชีพเกษตรแบบเร่งด่วนพร้อมลงมือปฏิบัติจริง ประกอบด้วย การเพาะปลูกผักที่ใช้พื้นที่น้อยแต่ได้ผลผลิตเร็วเพื่อเป็นแหล่งอาหารและสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน อาทิ การเพาะเชื้อเห็ดป่าที่รับประทานได้หลายสายพันธุ์บนต้นยางนา นอกจากนี้ ผู้เข้าอบรมยังได้รับฟังข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและโภชนาการสำหรับผู้สูงวัยจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลในพื้นที่ รวมถึงการอบรมและพัฒนาทักษะดิจิทัลผ่านการฝึกใช้เทคโนโลยีเพื่อการขายสินค้าออนไลน์ โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากพีดีเอร่วมถ่ายทอดความรู้ เมื่อจบการฝึกอบรม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับอุปกรณ์และเครื่องมือในการประกอบอาชีพเบื้องต้น ได้แก่ ชุดเพาะเห็ดนางฟ้า ชุดเพาะถั่วงอกและชุดเพาะทานตะวันงอก และกล้าพืชผักสวนครัว เพื่อนำไปใช้จุนเจือการบริโภคในครัวเรือนหรือสร้างรายได้ด้วยตัวเองได้ทันที
ฟอร์ดทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาสังคม เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนทั่วประเทศไทยผ่านการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมที่หลากหลาย สำหรับโครงการ 'ฟอร์ดฟื้นฟูชีวิต ปีที่ 3' ฟอร์ด ประเทศไทย ได้สนับสนุนงบประมาณราว 1,200,000 บาทในการจัดอบรมเพื่อมอบองค์ความรู้ในด้านการสร้างอาชีพเกษตรแบบเร่งด่วน เพื่อเสริมแกร่งให้กับประชากรในกลุ่มผู้สูงวัยได้พัฒนาศักยภาพในการประกอบอาชีพ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการหารายได้ และสนับสนุนให้เกิดการพึ่งพาตนเอง
ที่มา: ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทีจีส์