ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย พันธมิตรหลักเพียงรายเดียวในงานนี้ ได้นำทุกภาคส่วนที่อยู่ในระบบินิเวศฟินเทค ระดับภูมิภาคมารวมกันที่งาน โดยมีองค์กรภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี บริษัทเทคโนโลยีราว 70 รายร่วมงาน นอกเหนือจากการนำเสนอความคืบหน้าล่าสุดจากงานสิงคโปร์ ฟินเทค และความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อกำหนดอนาคตทางการเงินด้วยเทคโนโลยีแล้ว ในงานครั้งนี้ยังมีการแบ่งปันความสำเร็จของธุรกิจเอสเอ็มอีไทย ข้อมูลธุรกิจเชิงลึก และโอกาสในการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมงานยังได้มีโอกาสแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกและเรียนรู้จากผู้นำในอุตสาหกรรมถึงบทบาทและความสัมพันธ์ของการปรับธุรกิจสู่ดิจิทัลและความยั่งยืนทางธุรกิจ ซึ่งเป็นสองสิ่งที่ช่วยให้ธุรกิจยังดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ในท่ามกลางสภาวการณ์การตลาดที่ผันผวน
คุณปิยพร รัตน์ประสาทพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือข่ายสาขาและบริการดิจิทัล ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า "บริษัทที่มีการลงทุนด้านความยั่งยืน ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถปรับตัวยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ที่ดีขึ้น ผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ และความสำเร็จในธุรกิจ ในขณะเดียวกัน การปรับธุรกิจสู่ดิจิทัลได้ช่วยให้เอสเอ็มอีขับเคลื่อนธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น ดังนั้น งาน WFF 2022 จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่ผู้ประกอบการรายย่อยจะได้รับข้อมูลเชิงลึก เพื่อเร่งผลักดันให้ธุรกิจไปสู่การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลและความยั่งยืน
คุณซปเนนดู โมฮันตี ประธานเจ้าหน้าที่ด้านฟินเทค ธนาคารกลางสิงคโปร์ และประธานกรรมการของ Elevandi กล่าวว่า "ในฐานะที่เป็นแพลตฟอร์มชั้นนำระดับโลกที่ให้ความรู้เกี่ยวกับฟินเทค งาน SFF 2022 จะเชิญผู้เชี่ยวชาญชั้นนำมาแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเพื่อสร้างโมเดลธุรกิจให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและบริหารจัดการให้ธุรกิจยืนหยัดได้ในท่ามกลางวิกฤต โดยภายในงานปีนี้ ได้เพิ่มช่วงการสัมมนาถาม-ตอบอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาครัฐและเอกชนได้อภิปรายเชิงลึกร่วมกัน ซึ่งการได้กลับมาพบกันอีกครั้งในงาน SFF นี้ จะช่วยกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนในกลุ่มธุรกิจฟินเทค มีความเข้มแข็งและมุ่งมั่น แม้จะมีอุปสรรครออยู่ในอนาคตก็ตาม"
งานสิงคโปร์ ฟินเทค เฟสติวัล (SFF 2022) จัดขึ้นในธีม "สร้างโมเดลธุรกิจให้ยืนหยัดได้ท่ามกลางความผันผวนและการเปลี่ยนแปลง" โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 - 4 พฤศจิกายน 2565 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่กำลังประสบปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น และต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ บริษัทฟินเทค หลายแห่งจึงมุ่งมั่นที่จะทำให้ธุรกิจฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วและและดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน ทั้ง ผู้นำรัฐบาล หน่วยงานกำกับดูแล ผู้นำด้านบริการทางการเงิน ผู้ประกอบการ นักลงทุน และผู้นำด้านเทคโนโลยี จะทบทวนและประเมินปัจจัยที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง และพิจารณา 3 คำถามสำคัญ ได้แก่ การดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ และการสร้างการมีส่วนร่วม
ที่มา: ธนาคารยูโอบี