ดาร์วินเฮลธ์เผยแพร่โครงการศึกษาค้นคว้ายารักษามะเร็งตั้งแต่ได้สารประกอบไปจนถึงขั้นคลินิกโดยใช้เช็คพอยท์เนื้องอก ชี้แจงแผนแม่บทเพื่อระบุและทวนสอบสารที่ใช้ในการรักษาที่พุ่งเป้าไปที่โครงสร้างควบคุมเนื้องอกแบบใหม่ที่อยู่ระหว่างการวิจัยและได้รับการอนุมัติจาก FD

อังคาร ๑๓ กันยายน ๒๐๒๒ ๐๘:๐๐
ดาร์วินเฮลธ์ ( DarwinHealth, Inc.) ( www.DarwinHealth.com ) บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพและการค้นพบยารักษามะเร็งในนิวยอร์ก เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับความคืบหน้าในการค้นคว้าและทวนสอบยารักษามะเร็งที่บริษัทกำลังพัฒนาบนแพลตฟอร์ม Current Protocols (Wiley Science) ทางออนไลน์ ณ วันที่ 9 กันยายน 2565 ในหัวข้อ "A Patient-to-Model-to-Patient (PMP) cancer drug and biomarker discovery protocol for identifying and validating therapeutic agents targeting tumor regulatory architecture." (โครงการศึกษาค้นคว้ายาและตัวบ่งชี้ทางชีวภาพสำหรับใช้รักษามะเร็งแบบ Patient-to-Model-to-Patient (PMP) เพื่อระบุและทวนสอบสารที่ใช้ในการรักษาที่พุ่งเป้าไปที่โครงสร้างควบคุมเนื้องอก)

ลิงก์อ่านบทความดังกล่าว https://currentprotocols.onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/cpz1.544

ทีมนักวิทยาศาสตร์ระบุในรายงานว่า โครงการแบบ Patient-to-Model-to-Patient (PMP) เบื้องหลังโครงการ/เทคโนโลยีค้นคว้ายา ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ และเป้าหมายมะเร็งของดาร์วินเฮลธ์ ช่วยแก้ไขจุดอ่อนที่กำลังเผชิญอยู่ในการพัฒนายารักษามะเร็ง เช่น การที่ไม่สามารถหาความเชื่อมโยงระหว่างองค์ประกอบสำคัญทั้งสามอย่างถูกต้องแม่นยำและใช้ทำนายได้ ซึ่งจำเป็นในการค้นคว้ายาและทวนสอบในการทดลองกับมนุษย์ให้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งรวมถึง (เอ) ระบุปัจจัยขับเคลื่อนทางชีววิทยา-กลไกและตัวกำหนดสภาพเซลล์มะเร็ง (บี) แสดงลักษณะและพุ่งเป้าไปยังเป้าหมายระดับโมเลกุลที่มีศักยภาพในการรักษาซึ่งมีบทบาทควบคุมสถานะการลอกรหัสของเซลล์มะเร็ง และ (ซี) สร้างตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่ตรวจสอบแล้วและทำนายการตอบสนองในการทดลองได้อย่างแม่นยำ

อุปสรรคที่เป็นตัวกีดกันการพัฒนาเทคนิคและยารักษามะเร็งอย่างแม่นยำนี้ยิ่งซับซ้อนขึ้นไปอีกจากการที่มะเร็งมีลักษณะหลากหลาย ซึ่งเป็นปัญหาท้าทายที่ดาร์วินเฮลธ์จัดการด้วยการวิเคราะห์เซลล์เดี่ยว ผสานเข้ากับเครื่องมืออัลกอริทึมอันเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ทำให้จำแนกชนิดย่อยของเนื้องอกได้ตามอัตลักษณ์การถอดรหัส

แนวทางแบบ PMP ของดาร์วินเฮลธ์งัดใช้กรอบการทำงานแบบ oncotecture เพื่อศึกษาชีววิทยามะเร็ง โดยใช้อัลกอริทึมเชิงคำนวณและระเบียบวิธีเชิงทดลอง เพื่อสร้างและตรวจสอบระบบควบคุมเซลล์มะเร็งมนุษย์สำหรับใช้ระบุและพุ่งเป้า "เช็คพอยท์เนื้องอก" (tumor checkpoint) ด้วยสารที่ออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาทั้งที่มีอยู่เดิมและแบบใหม่ และที่สำคัญ โครงการแบบ PMP นี้ช่วยระบุโปรตีน Master Regulator หรือ MR ที่ประกอบด้วยเช็คพอยท์เนื้องอกได้อย่างเป็นระบบจากตัวอย่างเนื้องอกของผู้ป่วย จากนั้นจะใช้ลักษณะการแสดงออกของยีน (การหาลำดับ RNA) เพื่อหาแบบจำลอง in vitro และ in vivo ที่สร้างแบบจำลองเซลล์ไลน์และสัตว์ตัวแบบได้อย่างเหมาะสมจากการจำลองเช็คพอยท์เนื้องอกของผู้ป่วย เพื่อหากลไกออกฤทธิ์ของยาที่เจาะจงตามลักษณะเนื้องอก

การใช้แบบจำลองเช่นนี้ทำให้ทวนสอบประสิทธิภาพของยาโดยใช้ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพได้อย่างแม่นยำ ผลลัพธ์ที่ได้จะนำไปรองรับการใช้ในการทวนสอบ PDX และการทดลองกับมนุษย์ในขั้นสูงขึ้นได้ ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการโดยใช้เทคโนโลยีนี้ การผสานรวมกลไกออกฤทธิ์ตามลักษณะของยาและการระบุเช็คพอยท์เนื้องอกของผู้ป่วยอย่างแม่นยำนั้น ทำให้ได้ตัวชี้วัดทางชีวภาพตามกลไกและมีลักษณะเฉพาะ เพื่อส่งเสริมการทดลองทางคลินิกกับผู้ป่วยที่มีแนวโน้มตอบสนองกับเทคนิครักษาทางเภสัชวิทยาที่กำลังศึกษาอยู่ได้มากที่สุด

ดร. ฟอเรสต์ เรย์ ( Forest Ray) นักข่าวสายวิทยาศาสตร์ ได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับรายงานและเทคโนโลยีดังกล่าวในบทความที่เผยแพร่ออนไลน์บน genomeweb โดยอธิบายถึงนัยทางวิทยาศาสตร์และการค้าของแพลตฟอร์มค้นคว้าตัวบ่งชี้ทางชีวภาพและยาแบบ PMP ของดาร์วินเฮลธ์ ตามลิงก์ด้านล่างนี้ว่า

https://www.genomeweb.com/biomarker-discovery-validation/darwinhealth-applies-systems-bio-workflow-improve-clinical-trial#.Yx2tXi8RpB0

"PMP เป็นโครงการที่ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและมีชีววิทยาระบบเป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งผสานรวมกรรมวิธีเชิงคำนวณที่มีความซับซ้อนเข้ากับแนวทางด้านการทดลอง โดยผสานความแม่นยำของการวิเคราะห์เซลล์เดี่ยวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเร่งการค้นคว้ายา" ดร.ปาสเควล เลส (Pasquale Laise) ผู้นิพนธ์หลัก และผู้อำนวยการอาวุโสประจำแผนกชีววิทยาเชิงคำนวณของดาร์วินเฮลธ์ กล่าว "แม้โครงการดังกล่าวมีลักษณะกว้าง ๆ และนำไปประยุกต์ใช้กับมะเร็งประเภทหลักหรือประเภทย่อยใด ๆ ก็ได้ แต่การค้นคว้าแบบ PMP แต่ละขั้นตอนนั้นได้รับการออกแบบให้สอดรับกับลักษณะทางโมเลกุลของเนื้องอกจากตัวอย่างของผู้ป่วยแต่ละคน ทำให้ระบุกลุ่มผู้ป่วยที่มีลักษณะทางเภสัชวิทยาที่มีความเชื่อมโยงกับตัวบ่งชี้ทางชีวภาพแบบกลไกได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการทดลองทางคลินิกที่มีตัวบ่งชี้ทางชีวภาพเป็นปัจจัยหลัก"

การระบุและใช้ยาพุ่งเป้าเช็คพอยท์เนื้องอกสะท้อนถึงระเบียบวิธีอันเป็นเอกลักษณ์ของดาร์วินเฮลธ์ ซึ่งมุ่งให้ความสำคัญกับการค้นคว้ายารักษามะเร็ง "โครงการแบบ PMP นับเป็นแนวทางอันเป็นระบบที่ใช้ระบุและพุ่งเป้าชุดโปรตีนควบคุม (หรือตัวควบคุมหลัก) ที่มีบทบาทควบคุมอัตลักษณ์การถอดรหัส (สภาพฟีโนไทป์) ของเซลล์มะเร็งได้ ทั้งยังทำให้แผนแม่บทการพัฒนาแบบ Compound-2-Clinic (C2C) นี้โดดเด่นออกมาจากกลยุทธ์อื่น ๆ" ดร.มาเรียโน อัลวาเรซ (Mariano Alvarez) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิทยาศาสตร์ ดาร์วินเฮลธ์ กล่าว "และที่สำคัญ สิ่งนี้ยังขยายคอนเซปต์เกี่ยวกับภาวะการพึ่งพาของยีนก่อมะเร็ง (oncogene addiction) ให้ครอบคลุมตัวควบคุมสภาวะเซลล์มะเร็งแบบถอดรหัส ซึ่งปรากฏให้เห็นอย่างแพร่หลาย ทำให้ตัดแยกออกจากเนื้องอกได้ทุกประเภท โครงการดังกล่าวช่วยปิดวงจรด้วยการตัดแยกตัวควบคุมหลักออกจากเนื้อเยื่อในเนื้องอกของผู้ป่วยโดยตรง จากนั้นใช้กลไกออกฤทธิ์เจาะจงตามลักษณะยา ซึ่งทำให้ได้แบบจำลอง in vitro ที่เกี่ยวเนื่องกัน ส่งผลให้กระบวนการดังกล่าวทำนายการตอบสนองทางการรักษาต่อยาที่อยู่ระหว่างการประเมินประสิทธิภาพในสภาวะแวดล้อมที่สำคัญที่สุดได้ นั่นคือการทดลองทางคลินิก"

โครงการ PMP นี้ออกแบบมาเพื่อรับมือกับความขาดแคลนและข้อจำกัดต่าง ๆ ในแนวทางที่ใช้อยู่ปัจจุบันเพื่อพัฒนาเทคนิครักษามะเร็งและตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ "ในทำนองเดียวกับอาคารที่ตั้งอยู่บนเสาหลายตัว ซึ่งถ้าเสาเดียวมีปัญหาก็ทำให้ทั้งอาคารล่มลงได้ แนวทางคิดค้นเทคนิครักษามะเร็งที่เหมาะสมและอยู่รอดได้นั้นจำเป็นต้องพุ่งเป้าปัจจัยที่เอื้อต่อการเกิดมะเร็งหลายตัวพร้อมกัน" ดร.แอนเดรีย แคลิฟาโน (Andrea Califano) อาจารย์และหัวหน้าภาควิชาชีววิทยาระบบ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ( https://news.columbia.edu/news/deciphering-cancer-messy-and-complex-were-here-it ) และผู้ร่วมก่อตั้งดาร์วินเฮลธ์ กล่าว "เทคโนโลยีและแนวทางในการค้นคว้ายารักษามะเร็งที่ปรากฏให้เห็นในรายงานนี้ ช่วยส่งเสริมเทคนิครักษายีนก่อมะเร็ง ด้วยการพุ่งเป้าไปที่จุดอ่อนที่ทำให้เกิดมะเร็งทั้งหมด ดังที่สะท้อนให้เห็นจากโปรตีนตัวควบคุมหลักที่อยู่เบื้องหลังความผิดปกติและแผนควบคุมของเซลล์เนื้องอก"

แพลตฟอร์ม PMP และกระบวนการค้นคว้ายาของดาร์วินเฮลธ์เป็นรากฐานสนับสนุนเทคโนโลยีที่ทางบริษัทนำมาใช้ในความร่วมมือและการทำงานร่วมกันทางวิทยาศาสตร์มาแล้วหลายโครงการ ที่ให้ความสำคัญกับการหาเป้าหมายมะเร็งแบบใหม่ การสร้างตัวบ่งชี้ทางชีวภาพแบบใหม่ และการพัฒนายา "โครงการแบบ Patient-to-Model-to-Patient protocol (PMP) อย่างที่เราทำนี้ เป็นกระบวนการค้นคว้ายารักษามะเร็งที่ใช้ตัวอย่างเนื้องอกจากผู้ป่วยและชีววิทยาระบบ รองรับการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายในการรักษามะเร็งแบบแม่นยำและการรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด" ดร.กิเดียน บอสเกอร์ (Gideon Bosker) ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งดาร์วินเฮลธ์ กล่าว "แต่ละขั้นตอนของการพัฒนาและทวนสอบยาแบบ compound-to-clinic อย่างที่รายงานใน Current Protocols นั้นเป็นผลจากการผสานรวมอัลกอริทึมเชิงคำนวณและข้อมูลจากการทดลอง เพื่อทำให้แน่ใจว่า โครงสร้างการควบคุมแบบพุ่งเป้าอย่าง 'เช็คพอยท์เนื้องอก' และกลไกการออกฤทธิ์ (MOA) ของยาที่กำลังประเมินนั้น มีความเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่องและดำเนินการต่อได้ เมื่อโครงการดังกล่าวก้าวหน้าจากเซลล์ไลน์ไปเป็นสัตว์ตัวแบบ และท้ายที่สุดก็ถึงตัวผู้ป่วยเพื่อวิจัยต่อยอดทางคลินิก ความหลากหลายในแง่ของชีววิทยามะเร็งนั้นทำให้แบบจำลอง PMP รองรับการนำไปใช้กับเนื้องอกในกระแสเลือดและเนื้องอกชนิดเป็นก้อนได้หลากหลายประเภท ซึ่งกำลังมีการทดลองทางคลินิกโดยใช้เทคโนโลยีค้นคว้ายานี้อยู่หลายโครงการ นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยี PMP เพื่อปรับปรุงการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันและลดฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันในเซลล์ประเภทย่อยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Tregs ไฟโบรบลาสต์ แมคโครฟาจ ในสภาวะแวดล้อมของเซลล์มะเร็งนั้น เป็นหนทางที่ดูจะมีศักยภาพเป็นอันดับต้น ๆ ในการพัฒนายาที่ช่วยเหลือการตอบสนองของยากลุ่มยับยั้งการทำงานที่อิมมูนเช็คพอยท์ได้ ด้วยการโปรแกรมสถานะฟีโนไทป์ของเซลล์กดภูมิคุ้มกันเสียใหม่"

เมื่อนำมาใช้อย่างเป็นระบบ อย่างที่ดาร์วินเฮลธ์ทำอยู่โดยที่ปรับปรุงและขยับขยายโครงการ PMP ในเชิงการค้าอย่างต่อเนื่องแล้ว กระบวนการค้นคว้ายา ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ และเป้าหมายมะเร็งที่ใช้ PMP นั้น ก่อให้เกิดแผนแม่บทที่ทำให้ระบุสารที่ใช้ในการรักษาที่อยู่ระหว่างการวิจัยและได้รับการอนุมัติจาก FDA ซึ่งพุ่งเป้าไปที่โครงสร้างควบคุมเนื้องอกและโครงสร้างควบคุมของเซลล์พุ่งเป้าอิมมูนได้อย่างแม่นยำและใช้กลไกการออกฤทธิ์

เกี่ยวกับดาร์วินเฮลธ์

DarwinHealth: Precision Therapeutics for Cancer Medicine  คือบริษัทชีวเทคโนโลยีที่เป็น "แนวหน้าด้านการรักษาโรคมะเร็ง" ซึ่งร่วมก่อตั้งโดยนายแพทย์กิเดียน บอสเกอร์ (Gideon Bosker) ในฐานะซีอีโอ และศาสตราจารย์แอนเดรีย แคลิฟาโน (Andrea Califano) ผู้ดำรงตำแหน่ง Clyde and Helen Wu Professor of Chemical Systems Biology และประธานภาควิชาชีววิทยาระบบแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ทั้งนี้ เทคโนโลยีของบริษัทได้รับการพัฒนาโดยห้องปฏิบัติการแคลิฟาโนตลอด 15 ปีที่ผ่านมา และได้รับอนุญาตแต่เพียงผู้เดียวจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย

ดาร์วินเฮลธ์ใช้อัลกอริทึมชีววิทยาระบบอันเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท เพื่อจับคู่ผู้ป่วยมะเร็งทุกรายกับยาและชุดยาที่มีแนวโน้มให้ผลการรักษาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด "ในทางกลับกัน อัลกอริทึมเดียวกันนี้ยังสามารถจัดลำดับความสำคัญของยาและสารประกอบที่ยังไม่ทราบประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ในมนุษย์ รวมถึง NCT" นายแพทย์บอสเกอร์ กล่าว "นับเป็นสิ่งล้ำค่าสำหรับบริษัทยาที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพสารประกอบของตน และค้นพบ NCT ที่มีประสิทธิภาพเชิงกล รวมถึงสารประกอบสำหรับรักษาเนื้องอก"

พันธกิจของดาร์วินเฮลธ์คือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ที่มีรากฐานมาจากชีววิทยาระบบเพื่อยกระดับผลลัพธ์ทางคลินิกของการรักษาโรคมะเร็ง โดยเทคโนโลยีหลักของบริษัทอย่างอัลกอริทึมไวเปอร์ ( VIPER) สามารถระบุโมดูลของโปรตีนควบคุมหลักที่ถูกถักทอไว้อย่างแน่นหนา ซึ่งเป็นการรักษารูปแบบใหม่และตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของมะเร็ง ระเบียบวิธีนี้ถูกนำไปใช้ในสองส่วน หนึ่งคือ เทคโนโลยีของดาร์วินเฮลธ์สนับสนุนการจำแนกอย่างเป็นระบบ และการตรวจสอบความถูกต้องของเป้าหมายที่สามารถรับยาได้ภายใต้ตรรกะการควบคุมของเซลล์มะเร็งที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ดังนั้นเราและพันธมิตรทางวิทยาศาสตร์ของเราจึงสามารถใช้ประโยชน์จากความสามารถในการจัดการรูปแบบใหม่โดยอาศัยการพึ่งพาและกลไกของเนื้องอกขั้นพื้นฐานและขั้นที่เป็นสากลมากขึ้น และสอง จากมุมมองด้านการพัฒนาและการค้นพบยาใหม่ เทคโนโลยีเดียวกันนี้สามารถระบุเป้าหมายใหม่ที่รับยาได้โดยอาศัย Master Regulator และ Upstream Modulator ของเซลล์เป้าหมายเหล่านั้น วิธีการรักษาโรคมะเร็งของดาร์วินเฮลธ์ซึ่งเน้นการระบุและกำหนด Tumor Checkpoint ได้มอบโซลูชันและโรดแมปที่สำคัญที่สุดเพื่อความก้าวหน้าในการคิดค้นยาและการรักษาโรคมะเร็งที่เน้นความแม่นยำ

แนวทางการแพทย์แม่นยำอันเป็นกรรมสิทธิ์ของดาร์วินเฮลธ์ได้รับการสนับสนุนจากบทความทางวิทยาศาสตร์ที่สร้างสรรค์โดยผู้นำทางวิทยาศาสตร์ของบริษัท ซึ่งรวมถึงดร. มาเรียโน อัลวาเรซ ( Mariano Alvarez) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิทยาศาสตร์ของดาร์วินเฮลธ์ ผู้ร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคำนวณที่สำคัญของบริษัท โดยกลยุทธ์อันเป็นกรรมสิทธิ์เหล่านี้ใช้ประโยชน์จากความสามารถด้านพันธุวิศวกรรมย้อนกลับและการวิเคราะห์ตรรกะการควบคุมและการส่งสัญญาณทั่วทั้งจีโนมของเซลล์มะเร็ง ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากการทดลองผ่านการจำลอง การทดลองหลอดแก้ว และการทดลองในสิ่งมีชีวิต ซึ่งมอบแพลตฟอร์มการคันพบและจำแนกลักษณะของยาแบบบูรณาการอย่างสมบูรณ์ ซึ่งออกแบบมาเพื่ออธิบาย ขับเคลื่อน และตรวจสอบทิศทางการพัฒนายาอย่างแม่นยำ เพื่อบรรลุศักยภาพทางคลินิกและการค้าอย่างเต็มที่ สามารถเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.DarwinHealth.com

โลโก้ -  https://mma.prnewswire.com/media/966600/DarwinHealth_Logo.jpg



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๑๙ กสิกรไทย คาดยอดผู้ใช้ K PLUS ปี 68 เพิ่มล้านราย เป็น 23.9 ล้านราย
๑๐:๐๗ ร้าน เดอะ คอฟฟี่ อะคาเดมิคส์ ชวนฉลองคริสต์มาสและต้อนรับปีใหม่กับ เมนูเฟสทีฟ หลากหลาย ตั้งแต่ วันนี้ - 31 มกราคม
๑๐:๓๗ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย คว้ารางวัล Best Places to Work
๑๐:๓๒ วว. จับมือพันธมิตร ร่วมผลักดันกิจกรรม CSR สร้างแรงบันดาลใจด้าน วทน. ให้แก่เยาวชน
๑๐:๐๐ กทม. ตรวจเข้มสถานที่ประกอบ-จำหน่ายอาหาร เน้นมาตรการด้านสุขลักษณะ
๑๐:๒๓ ชลิต อินดัสทรีฯ สานต่อภารกิจเพื่อสังคม สร้างโอกาสและความยั่งยืนทางการศึกษาและอาชีพสำหรับผู้พิการ
๑๐:๒๔ บิทคับ กรุ๊ป สุดปัง! คว้ากว่า 20 รางวัล ตลอดปี 2567 ตอกย้ำความเชื่อมั่นองค์กรของคนรุ่นใหม่
๐๙:๕๓ NITMX เผยยอดธุรกรรมพร้อมเพย์พุ่งต่อเนื่อง สะท้อนความเชื่อมั่นในระบบชำระเงินดิจิทัลของไทย
๐๙:๔๖ พฤติกรรมติดหรูคนไทย จะหยุดที่ตรงไหน! ซีเอ็มเอ็มยู พาส่องการตลาดที่คาดไม่ถึงของกลุ่ม ลักซูเมอร์ กับการไปต่อในปี
๑๐:๐๖ เปิดเมนูอาหารวันคริสต์มาส พร้อมอร่อยเพลินกับวันเดอร์พัฟฟ์