สถาบันโกลบอลเวลเนส (Global Wellness Institute; GWI) องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ที่มุ่งเน้นงานวิจัยและข้อมูลทางการศึกษาด้านสุขภาพเชิงป้องกันและอุตสาหกรรมเวลเนสทั่วโลก ได้ประกาศให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ 3 ที่ได้รับการปักหมุดลงใน "ภูมิศาสตร์เวลเนส" (Geography of Wellness) แพลตฟอร์มใหม่ของ GWI โดย 2 ประเทศแรก คือ สิงคโปร์และบราซิลที่ถูกปักหมุดเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
ครั้งนี้ BDMS Wellness Clinic ศูนย์สุขภาพเชิงป้องกันในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ Bangkok Dusit Medical Services (BDMS) เครือข่ายโรงพยาบาลเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้เป็นผู้สนับสนุนการเจาะลึกข้อมูลเศรษฐกิจเวลเนสในประเทศไทย ซึ่ง BDMS Wellness Clinic ดำเนินงานโดยยึดหลักปรัชญาที่ว่า 'สุขภาพที่ดีเริ่มที่การป้องกัน' (Prevention is the pathway to wellness) โดยการรวบรวมแพทย์ผู้มีความรู้ความชำนาญ และเทคโนโลยีในการปฏิบัติงานทางการแพทย์ที่ทันสมัย มาใช้ในการตรวจประเมินสุขภาพ นำไปสู่การวางแผนปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (Lifestyle Medicine) อย่างมีคุณภาพ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ (Physical and mental wellness)
"ความร่วมมือระหว่างเรากับ GWI ทำให้สามารถมองเห็นภาพใหญ่ของตลาดเวลเนสในประเทศไทย และยังสามารถเป็นแหล่งความรู้เชิงลึกในด้านสินทรัพย์เวลเนสของประเทศไทย นำไปใช้ในการวางแผน เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดของประเทศในเศรษฐกิจเวลเนสโลกที่มีมูลค่า 4.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี พ.ศ. 2563 และมีแนวโน้มที่จะเติบโตไปจนถึง 7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2568" นายแพทย์ตนุพล วิรุฬหการุญ ประธานคณะผู้บริหาร BDMS Wellness Clinic และ BDMS Wellness Resort กล่าวถึงการร่วมมือกันครั้งนี้
Susie Ellis ประธานและซีอีโอของ GWI กล่าวว่า "ภูมิศาสตร์เวลเนสของ GWI เป็นแพลตฟอร์มที่สร้างขึ้นเพื่อให้ประเทศต่างๆ เข้าใจอย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นว่า ประเทศของตนอยู่ในตำแหน่งใดในเศรษฐกิจเวลเนสที่มีมูลค่า 4.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบการ นักธุรกิจ นักวิชาการ และหน่วยงานภาครัฐมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจนว่า โอกาสในระยะสั้นและระยะยาวอยู่ตรงไหน เราขอขอบคุณพันธมิตรระดับประเทศอย่าง BDMS Wellness Clinic ที่เล็งเห็นคุณค่าของข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้"
GWI ประเมินมูลค่าเศรษฐกิจเวลเนสทั่วโลก พบว่ามีการเติบโตขึ้นอย่างมากตลอดหลายปีที่ผ่านมา มูลค่าการตลาดทางด้านเวลเนสทั่วโลก ในปี พ.ศ. 2560 อยู่ที่ 4.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 ขยับสูงขึ้นมาอยู่ที่ 4.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เฉลี่ยเติบโต ประมาณ 6.6 % ติดต่อกันมาตลอดหลายปี สูงกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่มีการเติบโต 4% แต่ในปี พ.ศ. 2563 เศรษฐกิจเวลเนสหดตัวลง 11% เหลือ 4.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และได้รับผลกระทบหนักกว่า GDP ของโลกที่ลดลงเพียง 2.8% อย่างไรก็ตามมีการคาดการณ์ว่าจะกลับมาเติบโตไปจนถึง 7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี พ.ศ. 2568 (เฉลี่ยเติบโต 9.9% ต่อปี)
จากข้อมูลของ GWI เศรษฐกิจเวลเนสของประเทศไทยมีอัตราเติบโตอยู่ที่ 29% ในช่วงปี พ.ศ. 2560-2562 แต่ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 การเติบโตนี้ชะลอตัวลงภายใต้ข้อจำกัดการของเดินทางที่เข้มงวด เนื่องจากเศรษฐกิจเวลเนสของประเทศไทยพึ่งพาการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพและธุรกิจสปา ซึ่งเป็น 2 ธุรกิจหลักที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19
นายแพทย์ตนุพล กล่าวว่า "GWI ประเมินว่า การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจะกลับมาเติบโตแบบก้าวกระโดด เฉลี่ยสูงถึงปีละ 20.9% และจะมีมูลค่าทะลุ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี พ.ศ. 2567 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) ของภูมิภาคเอเชียซึ่งก่อนการระบาดของโควิด-19 ประเทศไทยมีรายได้หลักจากการเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวชั้นนำของโลก มีศักยภาพในการส่งเสริมให้เป็นศูนย์รวมของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก ซึ่งจากรายงานของ GWI ในปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทยติดอันดับ 9 ในเศรษฐกิจเวลเนสในแถบเอเชียแปซิฟิก และติดอันดับ 24 ของโลก" ประเทศไทยยังได้รับการโหวตให้เป็นประเทศเป้าหมายที่คนอยากมาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอันดับที่ 2 ของโลก รองจากออสเตรเลีย จากการจัดอันดับของ Wellness Tourism Initiative 2020 สิ่งเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศไทย
นายแพทย์ตนุพล กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า "จาก 11 สาขาเศรษฐกิจเวลเนสทั่วโลก หนึ่งในสาขาที่เติบโตสวนกระแส ในยุคการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 คือ 'การแพทย์ด้านเวชศาสตร์ป้องกัน สาธารณสุขและการแพทย์เฉพาะบุคคล' ซึ่งเติบโต 4.5% ในช่วงปี พ.ศ. 2562-2563 BDMS Wellness Clinic รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ร่วมมีบทบาทในการเติบโตดังกล่าว"
ข้อมูลตลาดเศรษฐกิจเวลเนสระดับมหภาคของ GWI พร้อมกับการเจาะลึกตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและประเทศไทย สามารถค้นหาได้ในรายงานฉบับใหม่ "The Global Wellness Economy: Thailand" ซึ่งมีให้ดาวน์โหลดฟรีด้วยการสนับสนุนของ BDMS Wellness Clinic
เวลเนสในประเทศไทย
ประเทศไทยติดอันดับจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยว ไม่เพียงแต่เป็นที่รู้จักด้วยสถานที่ท่องเที่ยวอันสวยงาม รสชาติของอาหาร ความมั่งคั่งทางวัฒนธรรม และตลาดที่คึกคักเท่านั้น แต่การดูแลสุขภาพเชิงป้องกันและการพักผ่อนเพื่อสุขภาพ ก็มีชื่อเสียงในระดับโลกเช่นเดียวกัน ด้วยบริการที่เป็นที่ยอมรับ ทั้งด้านการท่องเที่ยว การแพทย์และเวลเนส ประเทศไทยจึงเหมาะสำหรับทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่กำลังมองหาการดูแลสุขภาพ จากชื่อเสียงของการแพทย์แผนไทยและตำรับยาสมุนไพร ทำให้ "การนวดแผนไทย" และ "การแพทย์แผนไทย" เป็นการรักษาที่มีชื่อเสียงและทั่วโลกให้ความสนใจ
ประเทศไทยยังเป็นผู้นำด้านการแพทย์เชิงสุขภาพและเป็นที่ยอมรับในด้านการตรวจสุขภาพเชิงป้องกันที่ครบวงจรและการพักผ่อนเพื่อสุขภาพ ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางในฝันสำหรับผู้ที่กำลังมองหาบริการด้านสุขภาพและเวลเนสระดับโลกในราคาที่คุ้มค่า
[หมายเหตุ: ขณะนี้ GWI กำลังทำงานร่วมกับพันธมิตรหลายประเทศเพื่อเน้นสินทรัพย์เวลเนสที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละประเทศ และจะเดินหน้าออกรายงานฉบับใหม่ เมื่อมีการเพิ่มรายชื่อประเทศนั้นลงในแพลตฟอร์ม]
เกี่ยวกับ Global Wellness Institute: Global Wellness Institute (GWI) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร ถือเป็นแหล่งข้อมูลการวิจัยและการศึกษาชั้นนำระดับโลกสำหรับอุตสาหกรรมเวลเนสทั่วโลก และเป็นที่รู้จักในการนำเสนอแนวคิดใหม่ในด้านอุตสาหกรรมและกิจกรรมระดับภูมิภาคที่ผู้นำต่างมารวมตัวกัน เพื่อสร้างอนาคต GWI ส่งผลในเชิงบวกต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของโลกโดยการให้ความรู้แก่สถาบันภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชนเกี่ยวกับวิธีการป้องกันโรค ลดความเครียด และยกระดับคุณภาพชีวิตโดยรวม ภารกิจของ GWI คือการส่งเสริมสุขภาพทั่วโลก
ที่มา: แมสคอท คอมมิวนิเคชั่น