ทั้งนี้ การร่วมทุนกับบริษัท ชิซูโอกะ ก๊าซ ซึ่งเป็นหนึ่งบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ได้เข้ามาช่วยเพิ่มยอดขายให้กับ SCN ส่งผลให้ยอดผลิตมากถึง 5,000 MMBTU/วัน จากปกติเพียงแค่ 500 MMBTU/วัน บวกกับปัจจุบันอัตราราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น จึงคาดว่าจะมีการเปลี่ยนมาใช้ iCNG เพิ่มขึ้น เชื่อว่าจะสามารถสร้างยอดขายให้เติบโตอย่างรวดเร็ว
สำหรับธุรกิจ Scan Advance Power หรือ SAP ซึ่งเป็นการลงทุนในธุรกิจของแผงโซลาร์ โดยมีผลประกอบการดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีกำไรสุทธิที่ 21.7 ล้านบาท ส่วนธุรกิจ Green Earth Power หรือ GEP ในประเทศเมียนมา มีผลกำไรในช่วงเดือนกรกฎาคม 2565 ที่ผ่าน จำนวน 74 ล้านบาท แม้ว่าจะสามารถขายได้แค่ 50 เมกะวัตต์ แต่ในปลายปีนี้จะแล้วเสร็จอีก 50 เมกะวัตต์ จะสามารถรับรู้รายได้การผลิตไฟฟ้าได้ 100 เมกะวัตต์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทฯ เพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ SCN ได้จับธุรกิจใหม่เพิ่มขึ้นมาเมื่อต้นปี บริษัท พืชเภสัชกรรม จำกัด หรือ Pharmaceutical Plant ซึ่ง SCN ได้ถือหุ้นอยู่ 41% มีระบบการปลูกกัญชงแบบอินดอร์ ซึ่งเป็น Medical Grade ที่สามารถผลิตได้ 200 กิโลกรัมต่อเดือน และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และในอนาคตอาจจะมีการเดินหน้าทำสัญญาร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาธุรกิจดังกล่าว
ในส่วนของการร่วมมือระหว่าง SCN กับบริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) หรือ CHO มีการขายรถเมล์ให้กับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) แล้วเมื่อ 3-4 ปีก่อนนั้น ปัจจุบันมีอัตราการซ่อมบำรุงที่ลดลงเหลือเพียง 3% ส่งผลให้งบการเงินของ SCN ดีขึ้นและมีกำไรมากขึ้น
"หากพูดถึงธุรกิจของ SCN ที่เน้นการดำเนินธุรกิจในด้านพลังงานเป็นหลักแล้ว เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ทาง SCN ก็ได้ดำเนินธุรกิจให้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องเกิน 100% ในส่วนของก๊าซธรรมชาติทั้งหมด แบ่งเป็น อัตราการเติบโตในธุรกิจยานยนต์เพิ่มขึ้น 3.9% อัตราการเติบโตในธุรกิจรถเพื่อการเชิงพาณิชย์หรือ รถเมล์ เพิ่มขึ้น 23% ซึ่งส่งผลดีให้หนี้บางส่วนลดลง 12% หรือ 356 ล้านบาท และเมื่อมองย้อนไปในช่วงโควิดที่ผ่านมานั้น SCN ยังมีการปันผลที่ดีให้แก่นักลงทุน และยังเหลือกำไรสะสมอยู่ 608 ล้านบาท ทั้งนี้ เชื่อว่า ในอนาคตเทรนด์ของราคาน้ำมันจะปรับตัวสูงขึ้นอีก ธุรกิจของ SCN จึงยังคงเติบโตและยั่งยืน"
ที่มา: เดอะเวย์ คอมมิวนิเคชั่น