ล่าสุดจัดกิจกรรมเวิร์คชอปออนไลน์ ติดอาวุธ Design Thinking (การคิดเชิงออกแบบ) และ IoT & Automation ณ ห้อง I-SCALE ชั้น 4 อาคารวิศวกรรมศาสตร์ 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยโครงการนี้เป็นการเชิญชวนเยาวชนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมปีที่ 4 - 5 และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 - 2 ร่วมประกวดออกแบบนวัตกรรม ภายใต้หัวข้อ "Innovation for Sustainable Communities, Good Health and Well-being" ในการนำเสนอโซลูชันเพื่อพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ซึ่งในรอบแรกจะคัดเลือก 20 ทีม จาก 308 ทีม เพื่อเข้าร่วมเวิร์คชอปกับผู้เชี่ยวชาญ พร้อมรับเงินทุนสนับสนุน 5,000 บาท เพื่อเป็นทุนในการพัฒนาโครงการ และจะประกาศผลให้เหลือเพียง 10 ทีม ในวันที่ 11 ตุลาคม 2565 นี้ เพื่อผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศต่อไป สำหรับ 3 ทีมที่ชนะเลิศ จะได้รับเงินสนับสนุนในการพัฒนาโซลูชันต้นแบบ (Prototype) รวมถึงเงินรางวัลและแท็บเล็ตซัมซุง มูลค่ารวมกว่า 900,000 บาท
สำหรับแนวคิดของ 20 ทีม ที่ผ่านการคัดเลือกจากหลากหลายโรงเรียนทั่วประเทศ เป็นไอเดียที่ตอบโจทย์ Pain Point ของสังคมในแง่มุมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนวัตกรรมเพื่อความปลอดภัย เพื่อป้องกันและดูแลสุขภาพ เพื่อลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต หรือแม้กระทั่งเพื่อช่วยยกระดับการใช้ชีวิตวิถีใหม่จาก Work From Home
ชวนส่องไอเดียสุดคูลของเหล่านวัตกรไทยยุคใหม่ทั้ง 20 ทีม
- ทีม G1 - Area Athena โรงเรียนราชินี - นำเสนอแนวคิดเรื่องอุปกรณ์แจ้งเตือนที่ช่วยตรวจจับวัตถุอันตรายจากบุคคลที่เข้ามาใกล้ผ่านระบบอัลตราโซนิคเซนเซอร์ โดยเมื่อกดปุ่มฉุกเฉินจะส่งข้อความผ่านไลน์แอปพลิเคชันไปยังรายชื่อฉุกเฉิน เพื่อป้องกันการเกิดโจรกรรม
- ทีม G2 - BCC Robot โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย - นำเสนอไอเดียเกี่ยวกับเครื่องออกกำลังพร้อมฟังก์ชันตรวจจับความเคลื่อนไหว โดยจะสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการออกกำลังกาย การคำนวณและให้ข้อมูลในด้านอาหารและการเผาผลาญพลังงาน ผ่านทางแอปพลิเคชัน โดยมีการเชื่อมรูปแบบการออกกำลังกายเข้ากับเกมส์เพื่อเป็นเป้าหมายในการออกกำลังกาย
- ทีม G3 - Burning โรงเรียนกำเนิดวิทย์ - กับผลงานเครื่องแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ โดยการกรองผ่านเซลล์ไฟฟ้าเคมีที่ควบคุมด้วยไมโครคอนโทลเลอร์ เพื่อนำไปใช้ทำเป็นพอลิเมอร์ในภายหลัง
- ทีม G4 - Electra โรงเรียนขจรเกียรติศึกษา - โชว์แนวคิดเกี่ยวกับเครื่องแปลงพลังงานจากการเคลื่อนที่ขึ้นลงของโป๊ะเทียบเรือโดยอาศัยการซัดของคลื่นเมื่อมีเรือมาเทียบท่า โดยใช้เครื่องแปลงพลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้า
- ทีม G5 - F4 โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย - นำเสนอแนวคิดการจัดทำแอปพลิเคชันที่ช่วยระบุตำแหน่งทางม้าลายด้วยระบบจีพีเอส พร้อมทั้งระบบตรวจจับบุคคลที่จะข้ามทางม้าลาย และแจ้งเตือนผ่านทางหน้าจอโทรศัพท์ไปยังผู้ขับขี่ยานพาหนะในบริเวณใกล้เคียง และมีกิจกรรมเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้คนหันมาใช้ทางม้าลาย
- ทีม G6 - Fill โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จันทบุรี - การนำเสนอแนวคิดเครื่องวัดค่าความชื้นสัมพัทธ์ไปติดกับต้นไม้ เพื่อวัดค่าของปริมาณน้ำและปุ๋ย เมื่อมีปริมาณที่ต่ำจะมีการส่งโดรนออกไปรดน้ำต้นไม้ โดยปริมาณน้ำที่ใช้จะอยู่ในสัดส่วนที่พอเหมาะ เพื่อรักษาทรัพยากรทางน้ำ
- ทีม G7- HYBRID โรงเรียนวิเชียรมาตุ - นำเสนอแนวคิดเรื่องแปรงสีฟันพร้อมฟังก์ชันในการตรวจจับ ที่จะแจ้งเตือนผ่านระบบมือถือ เมื่อมีการแปรงฟันไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน จะมีการประเมินและแสดงผลผ่านแอปพลิเคชัน มีการคำนวณปริมาณยาสีฟันที่เหมาะสมและนำการฉายแสงยูวีมาใช้ในการฆ่าเชื้อที่ขนแปรง
- ทีม G8 - KMIDS โรงเรียนสาธิตนานาชาติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง - ผลงานแนวคิดแอปพลิเคชันสำหรับขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยกู้ภัย แสดงตำแหน่งสถานที่ปลอดภัย ศูนย์อาหาร ระบบโดรนอัตโนมัติใกล้ตัว พร้อมทั้งแสดงตำแหน่งของผู้ใช้ให้กับคนอื่นๆ เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอันตรายต่างๆ
- ทีม G9 - Lunares โรงเรียนสาธิตการจัดการปัญญาภิวัฒน์ - แนวคิดเครื่องกรองน้ำที่ช่วยปรับสมดุลของน้ำประปาให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยวัดค่าคุณภาพน้ำผ่านระบบเซนเซอร์ ประเมินและแสดงผลไปยังแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ
- ทีม G10 - MANGO โรงเรียนกำเนิดวิทย์ - แนวคิด ตุ๊กตาหน้ารถใช้ระบุพิกัดของถนนที่มีพื้นผิวไม่ปลอดภัย โดยมีระบบเซนเซอร์ตรวจจับการสั่นสะเทือน และวัดความเร็วติดไว้ และมีการอัพเดตข้อมูลเพื่อใช้ระบุตำแหน่งที่พบไว้ให้กับผู้ใช้คนอื่นๆ พร้อมแจ้งเตือนล่วงหน้า ทั้งยังมีระบบ SOS ในกรณีฉุกเฉินที่รถได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรง
- ทีม G11- Narcolepsycue โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม - โชว์แนวคิดเครื่องพ่นสเปรย์วาซาบิ ช่วยปลุกคนหลับใน เมื่อเซนเซอร์แสกนม่านตาตรวจพบภาวะการหลับใน เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนนจากการหลับใน
- ทีม G12 - No.1 โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย - นำเสนอแนวคิดเก้าอี้ที่ช่วยลดการเป็นออฟฟิศซินโดรม โดยตรวจวัดผ่านเซนเซอร์ และหากนั่งผิดท่าหรือมีการนั่งในระยะเวลาที่นานเกินกว่ากำหนด เก้าอี้จะสั่นเพื่อให้ผู้ใช้งานเปลี่ยนท่านั่งหรือลุกขึ้นจากเก้าอี้ โดยจะมีการแจ้งเตือนไปยังแอปพลิชันในมือถือเพื่อบันทึกข้อมูล
- ทีม G13 - NOPKK โรงเรียนสาธิต มศว. ประสานมิตร - โชว์แนวคิดเครื่องแคปซูลตรวจเช็คร่างกาย โดยการวัดข้อมูลทางการแพทย์พื้นฐาน สอบถามอาการป่วย และสแกนร่างกาย พร้อมทั้งประเมินอาการ และความเป็นไปได้ของโรค อีกทั้งยังจำแนกความเสี่ยงว่าควรพบแพทย์หรือรักษาโดยการทานยาได้
- ทีม G14 - Used โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย - แนวคิดการพัฒนาระบบ AI ที่ช่วยในการวินิจฉัยหาก้อนนิ่วที่ปนมาในปัสสาวะให้มีความแม่นยำและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
- ทีม G15 - ฝัน โรงเรียนกำเนิดวิทย์ - เสนอแนวคิดโปรแกรมเมาส์และคีย์บอร์ดสำหรับผู้พิการที่ไม่สามารถใช้คีย์บอร์ดได้ โดยการใช้ระบบการตรวจจับใบหน้าและการขยับหัวเข้ามาช่วยในการขยับเมาส์และคีย์บอร์ด
- ทีม G16 - Software Tiger โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย - กับแนวคิดสร้างซอฟต์แวร์ประมวลผลและแสดงผลของเซนเซอร์แม่เหล็กไฟฟ้าตรวจวัดดินเค็ม เพื่อประมวลผล แนะนำพืชที่เหมาะกับการเพาะปลูก และวิธีปรับสภาพดินให้กับผู้ใช้งาน
- ทีม G17 - Tpscoding โรงเรียนตากพิทยาคม - เสนอแนวคิดเครื่องแจ้งเตือนการหลับในขณะขับรถ โดยตรวจสอบอาการหลับในผ่านกล้อง webcam และส่งสัญญาณเตือนเมื่อพบอาการใกล้เคียง
- ทีม G18 - What's the problem โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย - เสนอแนวคิดสร้างแอปพลิเคชันสำหรับประเมินอาการป่วยเบื้องต้น ผ่านแบบสอบถาม แอปพลิเคชันจะแสดงผลการประเมินอาการพร้อมบอกรายละเอียด ยารักษาและแสดงตำแหน่งโรงพยาบาลใกล้ตัวในกรณีที่ร้ายแรง
- ทีม G19 - ตึงๆ โรงเรียนกำเนิดวิทย์ - เสนอแนวคิดเรื่องแว่นตาที่รวบรวมเอาข้อมูลในด้านความเหมาะสมในการใช้สายตามาประเมินและตรวจสอบ พร้อมทั้งแจ้งเตือนเข้าโทรศัพท์มือถือเพื่อให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับการใช้สายตา และความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมในขณะนั้น เพื่อลดปัญหาการเกิดความผิดปกติทางสายตา
- ทีม G20 - โสตนครปฐม โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม - เสนอแนวคิดเครื่องช่วยตรวจวัดระดับน้ำในอุโมงค์ทางลอดและแจ้งเตือนภัยผ่านระบบสัญญาณไฟและโทรศัพท์มือถือ โดยการใช้เซนเซอร์ตรวจวัดระดับน้ำภายในอุโมงค์
สำหรับรางวัลในโครงการ Samsung Solve for Tomorrow ผู้ที่ผ่านการคัดเลือก 10 ทีม จะได้รับเงินทุนสนับสนุน 10,000 บาท เพื่อใช้ในการพัฒนาโซลูชันต้นแบบ (Prototype) พร้อมรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดจากซัมซุง และรางวัล 3 ทีมสุดท้าย รางวัลที่ 1 ได้รับทุนการศึกษา มูลค่า 200,000 บาท รางวัลที่ 2 ทุนการศึกษา มูลค่า 100,000 บาท รางวัลที่ 3 ทุนการศึกษา มูลค่า 50,000 บาท รวมถึงสมาชิกทุกคนจะได้รับ ซัมซุง แท็บเล็ต มูลค่าเครื่องละ 23,900 บาท
วันที่ 11 ตุลาคม 2565 จะประกาศผล 10 ทีม เพื่อคัดแนวไอเดียสุดเจ๋งเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ (Final Round) 2565 โดยจะประกาศรายชื่อและมอบรางวัล 3 ทีมสุดท้าย ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2565
ผู้ที่สนใจสามารถติดตาม โครงการ Samsung Solve for Tomorrow ได้ทาง www.solvefortomorrow.in.th หรือติดตามที่เฟซบุ๊คเพจ Samsung Together for Tomorrow
ที่มา: เวิรฟ