ออปเพอร์จูนิที เอดูไฟแนนซ์ ( Opportunity EduFinance ) โดยออปเพอร์จูนิที อินเตอร์เนชันแนล (Opportunity International) จากสหรัฐ ใช้การเงินเพื่อสังคมเพื่อช่วยให้เด็ก ๆ เข้าถึงโรงเรียนที่มีคุณภาพ โดยมอบความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่สถาบันการเงินต่าง ๆ ในการเปิดตัวและส่งเสริมกลุ่มผลิตภัณฑ์การเงินเพื่อการศึกษา และฝึกอบรมโรงเรียนในกลุ่มนี้เพื่อให้มีความยั่งยืนทางการเงินมากขึ้น และเพิ่มคุณภาพการศึกษาเมื่อเวลาผ่านไป
เอดูเคติง ฟอร์ เวลล์บีอิง ( Educating for Wellbeing ) โดยอเลนตาเมนเต (AtentaMente) จากเม็กซิโก ให้ความสนใจกับสมรรถนะทางอารมณ์และสังคม (SEC) ของผู้ใหญ่ โดยส่งเสริมสุขภาวะของนักการศึกษา และสร้างสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนและโรงเรียนให้มีความเอาใจใส่ ซึ่งจะทำให้นักเรียนมีสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ทำให้รู้สึกได้รับการคุ้มครอง โดยในเวลา 3 ปี ครูใหญ่ คุณครู และบุคลากรทางการศึกษาในระดับโรงเรียนเด็กก่อนวัยเรียนรวม 12,500 รายได้รับการฝึกอบรมในโครงการเอดูเคติง ฟอร์ เวลล์บีอิง
ไชลด์แคร์ โซเชียล แฟรนไชซิง ( Childcare Social Franchising) โดยคิโดโก (Kidogo) จากเคนยา ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนให้ผู้หญิงเป็นผู้ประกอบการในการบริหารศูนย์ดูแลเด็กปฐมวัยของตนเอง ทำให้เด็ก ๆ ได้รับการศึกษาและการดูแลที่มีคุณภาพและในราคาเอื้อมถึง ปัจจุบันคิโดโกเป็นเครือข่ายดูแลเด็กที่ใหญ่ที่สุดในเคนยา โดยมีแฟรนไชส์กว่า 750 แห่ง เข้าถึงเด็ก ๆ ได้ประมาณ 16,000 คน
รีเมค เลิร์นนิง ( Remake Learning ) จากสหรัฐ เชื่อมโยงนักเรียนเข้ากับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการทั้งในและนอกห้องเรียน โดยเป็นเครือข่ายที่ประกอบด้วยสมาชิกกว่า 1,200 ราย รวมนักการศึกษาและนักนวัตกรรมเข้าด้วยกันเพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ที่น่าสนใจให้นักเรียน และให้การสนับสนุนในยามที่สังคมและเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ดิ อินเทอร์เน็ต ฟรี เอดูเคชัน รีซอร์ส แบงก์ ( The Internet Free Education Resource Bank ) โดยเอดูเคชัน อโบฟ ออล (Education Above All) จากกาตาร์ เป็นแหล่งรวมทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ในลักษณะโปรเจกต์ที่ใช้ทรัพยากรน้อยและไม่ต้องใช้เทคโนโลยี โดยเปิดให้เข้าทั่วได้ทั่วโลกให้นักเรียนใช้เรียนรู้ โซลูชันดังกล่าวเข้าถึงผู้เรียนกว่า 827,000 ราย ในกว่า 14 ประเทศ ด้วยความร่วมมือกับพันธมิตรกว่า 30 ราย รวมถึงผู้เรียนชายขอบในชุมชนผู้ลี้ภัย ชุมชนชนบทห่างไกล และย่านเมืองที่ยังเข้าถึงไม่เต็มที่
ไคลเมต เชนจ์ พรอบเบล็ม ซอลเวอร์ส ( Climate Change Problem Solvers) โดยรีป เบเนฟิต ฟาวน์เดชัน (Reap Benefit Foundation) จากอินเดีย ได้พัฒนาแพลตฟอร์มซอลฟ์ นินจา (Solve Ninja) ขึ้น เพื่อปั้นเยาวชนที่มุ่งเน้นการกระทำ และทักษะศตวรรษที่ 21 ผ่านการดำเนินการในท้องถิ่น ผู้ที่เป็นซอลฟ์ นินจา กว่า 112,018 ราย ได้ดำเนินการมาแล้วกว่า 94,000 ครั้ง เพื่อแก้ไขปัญหาทางสภาพอากาศและประเด็นทางพลเมืองในประเทศ โดยงัดใช้ประโยชน์จากพลังของความเคลื่อนไหวในระดับระดับรากหญ้า เทคโนโลยี และชุมชนที่มุ่งเน้นการกระทำ
ผู้ชนะรางวัลไวส์ อวอร์ดส์ จะได้รับการเชิดชูที่กรุงโดฮาในพิธีที่จัดแบบเอ็กซ์คลูซีฟ โดยผู้ชนะแต่ละรายจะได้รับเงินรางวัล 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งยังมีโอกาสเป็นที่รู้จักและสร้างเครือข่ายในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนไวส์
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.wise-qatar.org/wise-awards
สื่อมวลชนติดต่อสอบถามได้ที่ ลินา ลาห์ลู (Lina Lahlou) อีเมล: [email protected]
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/969958/Wise_Logo.jpg