สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานลำพูน จัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานฯ สาขา ช่างหล่อลูกพิมพ์ ระดับ 1

อังคาร ๒๐ กันยายน ๒๐๒๒ ๑๕:๕๐
นายพงษ์ศักดิ์ โพธินาม ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานลำพูน เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองมาตรฐานฝีมือแรงงานตามมาตรา 26 สาขา ช่างหล่อลูกพิมพ์ ระดับ 1 ครั้งที่ 1/2565 ที่ห้องประชุมชั้น 2 อาคารอำนวยการ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานลำพูน เพื่อพิจารณากลั่นกรองมาตรฐานฝีมือแรงงานของสถานประกอบการ บริษัท เลอ ครูเซ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ประกอบการนำเสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานพิจารณารับรองตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545
สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานลำพูน จัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานฯ สาขา ช่างหล่อลูกพิมพ์ ระดับ 1

นายพงษ์ศักดิ์ โพธินาม ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานลำพูน กล่าวว่า มาตรฐานฝีมือแรงงานเป็นข้อกำหนดทางวิชาการที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดระดับ ความรู้ (Knowledge) ความสามารถ (Skill) และทัศนคติ (Attitude) ในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพในสาขาต่าง ๆ การจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ประกอบอาชีพเพื่อใช้เป็นแนวทางในการคัดเลือกพนักงานเข้าทำงาน กำหนดอัตราค่าจ้างและค่าตอบแทนตามทักษะฝีมือ พิจารณาเลื่อนตำแหน่งงาน พัฒนาเป็นหลักสูตรฝึกอบรมซึ่งส่งผลดีต่อสถานประกอบกิจการในแง่ของการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน ช่วยลดการสูญเสียในวงจรการผลิตลดต้นทุน ลดอุบัติเหตุระหว่างการทำงานได้ โดยขั้นตอนจะทำร่วมกันระหว่างสถานประกอบกิจการกับสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานลำพูนในการจัดตั้งคณะทำงานในการวิเคราะห์ตำแหน่งงาน จัดทำข้อสอบภาคความรู้ ภาคปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อสอบ จัดทดลองทดสอบให้แก่พนักงาน และเสนอต่อคณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เพื่อขอหนังสือรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ประกอบอาชีพแล้วนำไปใช้ได้ทันที สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานลำพูน ได้ร่วมกับบริษัท เลอ ครูเซ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด จัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 26 ในสาขา ช่างหล่อลูกพิมพ์ ระดับ 1 โดยใช้เทคนิค DACUM (DEVELOPING A CURRICULUM) ในการวิเคราะห์ตำแหน่งงาน งานหลักและงานย่อย แล้วจัดทำรายละเอียดคู่มือมาตรฐานฝีมือแรงงาน ข้อสอบภาคความรู้แบบทดสอบภาคความสามารถ ดำเนินการทดลองทดสอบทั้งภาคความรู้และภาคความสามารถ เพื่อสร้างมาตรฐานฝีมือแรงงานตามมาตรา 26 ที่ใช้เฉพาะในสถานประกอบกิจการ

ทั้งนี้ เมื่อผู้ประกอบกิจการได้รับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานของตนตามมาตรา 26 แล้ว และได้นำมาตรฐานดังกล่าว ไปใช้ในการทดสอบให้แก่ลูกจ้างของตนในปีที่ผ่านมา มีสิทธิขอรับเงินช่วยเหลือหรืออุดหนุนในแต่ละสาขา ระดับละ 10,000 บาทอีกด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการจัดทำมาตรฐานและนำไปใช้ในการทดสอบให้แก่ลูกจ้างของตน ต่อไป ซึ่งนอกจากประโยชน์ที่สถานประกอบกิจการจะได้รับแล้ว พนักงานหรือลูกจ้างก็จะได้ทราบระดับทักษะฝีมือ และข้อบกพร่องของตนเองเป็นแนวทางการวางแผนพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและช่วยให้ได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรมอีกด้วย

ที่มา: สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานลำพูน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ