เปิดทิศทางใหม่ CEA ภายใต้การบริหารงานของ ดร. ชาคริต พิชญางกูร พร้อมดันผู้ประกอบการไทยสู่ตลาดโลก

พุธ ๒๑ กันยายน ๒๐๒๒ ๑๔:๐๖
ดร.ชาคริต พิชญางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA หนุนคนรุ่นใหม่มีเวทีเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพ พร้อมส่งเสริมอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์สู่ตลาดโลก
เปิดทิศทางใหม่ CEA ภายใต้การบริหารงานของ ดร. ชาคริต พิชญางกูร พร้อมดันผู้ประกอบการไทยสู่ตลาดโลก

ในฐานะที่เป็นหัวเรือใหญ่คนใหม่ของ CEA ดร.ชาคริต พิชญางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA เปิดเผยว่า ขณะนี้ CEA ได้เดินหน้าแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองและย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative City & Creative District Development) ผ่านเครือข่ายย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ประเทศไทย (Thailand Creative District Network: TCDN) มาอย่างต่อเนื่องตามแผนระยะ 3 ปี (ปี 2563-2565) นอกจากนี้ CEA ยังมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาทักษะศักยภาพของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ให้ได้มาตรฐานสากล รองรับการผลิตและสร้างสรรค์คอนเทนต์ไทยไปสู่ตลาดโลก พร้อมสนับสนุนข้อมูลองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เชื่อมโยงเครือข่าย นักสร้างสรรค์ ยกระดับห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

สำหรับทิศทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศในระยะ 5 ปีข้างหน้า ในมุมมองของผู้อำนวยการ CEA คนใหม่ จะให้ความสำคัญในการสร้างความสามารถของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ 3 แนวทาง ได้แก่

การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของทุนวัฒนธรรมและเมืองสร้างสรรค์ (Empower Cultural Asset and Creative City)

CEA จะเดินหน้าส่งเสริมการรวมกลุ่มของเจ้าภาพเมืองขับเคลื่อนการนำร่องการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน ส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ เครื่องมือในการติดตามข้อมูล และเพิ่มปริมาณนวัตกรเมืองสร้างสรรค์ในท้องถิ่น ตลอดจนเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ในและต่างประเทศ และส่งเสริมนักสร้างสรรค์ในพื้นที่ต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม ทั้งเรื่องสินค้าที่มีเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ตามสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ซึ่งในประเทศไทยมีจำนวนมาก และเป็นสิ่งบ่งบอกว่าในประเทศของเรามีความพิเศษถึงสามารถที่จะเพาะปลูกหรือทำในเรื่องเหล่านี้ขึ้นมาได้ เช่น เรื่องข้าว ผลไม้ พืชสมุนไพรที่มีมูลค่ามากในต่างประเทศ โดย CEA จะสนับสนุนผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการพัฒนาและส่งเสริมย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative District) โครงการพัฒนาและส่งเสริมเมืองสร้างสรรค์ไทยสู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ยูเนสโก (UNESCO Creative City Network) โครงการเทศกาลส่งเสริมและยกระดับธุรกิจสร้างสรรค์ (Soft Power) ภาคใต้ โครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนและสร้างกลไกการสืบทอดของอัตลักษณ์ชุมชนเพื่อเกิดการจ้างงานอย่างยั่งยืน ระดับสากล (Global OTOP) เป็นต้น

พัฒนาศักยภาพธุรกิจสร้างสรรค์และยกระดับทักษะสร้างสรรค์ของคนไทย (Build Creative Business Competitiveness)

CEA จะเร่งพัฒนาโมเดลธุรกิจ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการลดข้อจำกัดทางธุรกิจในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กระตุ้นส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสร้างสรรค์ปกป้องและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา   (เงินลงทุน / การปกป้องสิทธิ) ซึ่ง CEA ได้ให้ความสำคัญกับการผลักดันให้ผู้ประกอบการเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทย จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา นอกจากนี้ยังจะยกระดับเครือข่าย สถาบันการศึกษาในการพัฒนา เตรียมความพร้อมแรงงานสร้างสรรค์ ตลอดจนส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาสินค้าหรือบริการ และยกระดับทักษะสร้างสรรค์ของคนไทย ผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการบริหารจัดการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจสร้างสรรค์เพื่อบริการองค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้แก่ประชาชนและเครือข่ายในภูมิภาค ทั้งในเชิงกายภาพและออนไลน์ โครงการพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการสร้าง Soft Power ของประเทศไทย โครงการพัฒนาแพลตฟอร์มปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและการระดมทุนแบบไม่อาศัยตัวกลางด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชนสำหรับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โครงการพัฒนาระบบนิเวศสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาโลกเสมือนจริง (CEA Metaverse Ecosystem Lab) เป็นต้น

พัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยภายใต้บริบทใหม่ เพื่อการแข่งขันในระดับสากล (Enter the Global Market)

CEA จะส่งเสริมการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เข้าถึงแหล่งทุนจากในและต่างประเทศ รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรม รวมทั้งส่งเสริมการหาโอกาสทางตลาดแก่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในตลาดต่างประเทศ และเชื่อมโยงเครือข่ายองค์กร หน่วยงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศทั้งทวิภาคีและพหุภาคี เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยได้พัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทยได้มีความสามารถทางเทคโนโลยีเพื่อให้แข่งขันในระดับสากล และส่งเสริมการหาโอกาสทางการตลาดแก่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในตลาดต่างประเทศได้

"เชื่อว่าอีก 5 ปี CEA จะมีบทบาทสำคัญในการเป็นหน่วยงานกลางในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อนำไปสู่การผลักดันให้เกิดนโยบายด้านต่างๆ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมสร้างสรรค์เกิดและเติบโตด้วยการจัดหาทรัพยากรความรู้และโอกาสในการพัฒนานักสร้างสรรค์ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค พร้อมกับการกระตุ้นให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และภาคการผลิตจริง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสินค้าและบริการในระดับสากล ภายใต้หัวใจสำคัญของการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อให้อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยสามารถผงาดได้ในตลาดโลก" ดร.ชาคริต กล่าวทิ้งท้าย

ที่มา: บีโอดับเบิลยู

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๓๘ บางจากฯ ร่วมสร้างสีสัน ส่งต่อสุขภาพดี ชวน เมย์ รัชนก ร่วมแข่งกีฬา Econmass Sport Day 2024
๑๖:๐๐ จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม เอิ้นหาพี่น้องโค้งสุดท้าย! ชวนมาม่วนซื่นส่งท้ายปี สูดอากาศดีกลางทุ่งดอกไม้บาน ชมงานศิลป์สุดอลัง พร้อมกิจกรรมม่วน ๆ ทั้งครอบครัว 2 สัปดาห์สุดท้าย
๑๕:๓๘ MediaTek เปิดตัว Dimensity 8400 ชิป All Big Core รุ่นแรกสำหรับสมาร์ทโฟนพรีเมียม
๑๕:๕๔ เปิด 10 เทรนด์ฮิตชีวิตดิจิทัลปี 2024 ปีแห่งความหลากหลายด้านป๊อปคัลเจอร์ โดย LINE ประเทศไทย
๑๕:๒๕ สุรพงษ์ ส่งมอบความสุข ขยายเวลาให้บริการสายสีแดง ถึง ตี 2 ในคืนเคานต์ดาวน์ เป็นของขวัญปีใหม่มอบให้แก่ประชาชน
๑๕:๐๗ เอ็นไอเอคัด 8 ผู้ประกอบการไทยสายการแพทย์ - สุขภาพ คว้าโอกาสบุกตลาดเยอรมนี - ยุโรป พร้อมโชว์จุดแข็งในงาน Medica 2024 ตอกย้ำไทย
๑๕:๒๖ EGCO Group คว้าหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ปี 2567 ระดับ AA ตอกย้ำความมั่นใจนักลงทุนต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
๑๕:๕๖ เมืองไทยประกันชีวิต จับมือ แมกซ์ โซลูชัน ส่งมอบความสุขและความอุ่นใจ ต้อนรับเทศกาลปีใหม่แก่สมาชิก Max Card ผ่าน กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ
๑๕:๔๘ แอสตร้าเซนเนก้า ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) กับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยทางคลินิกในไทย
๑๕:๓๒ ซีเอ็มเอ็มยู มุ่งผลิตบุคลากรชั้นนำผ่านนวัตกรรมการศึกษาและงานวิจัยระดับโลก พร้อมจุดประกายภาคเศรษฐกิจ - สังคม เปลี่ยนแหล่งเรียนรู้สู่ พาร์ทเนอร์การเรียนรู้