นวัตกรรมดิจิทัลเป็นเพียงจุดเริ่มต้นหากเรามองภาพรวมในระดับโลก และเป็นที่คาดกันว่าในทศวรรษหน้านั้น องค์กรทุกขนาดจะเผชิญกับความยุ่งยากในการพลิกโฉมสู่ดิจิทัล (DX) การใช้งานข้อมูลจะมีความหลากหลายมากขึ้น และปริมาณข้อมูลแอปพลิเคชันที่มากขึ้นก็จะกระจุกอยู่ในระบบผลิต ทำให้ระบบจัดเก็บข้อมูลที่เชื่อถือได้ มีศักยภาพ และคุ้มค่ามีความสำคัญมากกว่าที่เคย
ด้วยเหตุนี้ รายงานเดินหน้าสู่โลกอัจฉริยะในหัวข้อระบบจัดเก็บข้อมูล จึงขอพาส่องแนวโน้มต่าง ๆ ที่หัวเว่ยคาดการณ์ไว้เกี่ยวกับวิวัฒนาการของระบบจัดเก็บข้อมูลในศูนย์ข้อมูลระดับองค์กร ครอบคลุม 9 หัวข้อ โดยให้คำแนะนำแก่ลูกค้าภาคองค์กรในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานข้อมูล เพื่อร่วมส่งเสริมอุตสาหกรรมจัดเก็บข้อมูล
แนวโน้มที่ 1: ข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง
ข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้างคิดเป็นสัดส่วนกว่า 80% ของข้อมูลองค์กรที่มีใหม่ และมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการผลิตและตัดสินใจ โดยทีมไอทีในองค์กรจำเป็นต้องพลิกโฉมขีดความสามารถที่มีข้อมูลแบบมีโครงสร้างเป็นศูนย์กลาง เพื่อออกแบบ วางแผน และบริหารจัดการข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้างจำนวนมาก
แนวโน้มที่ 2: การใช้งานข้อมูลอย่างหลากหลาย
การใช้งานข้อมูลอย่างหลากหลาย เช่น ฐานข้อมูลแบบกระจาย การวิเคราะห์บิ๊กดาต้า และปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังเป็นที่นิยม องค์กรต่าง ๆ ได้หันมาใช้สถาปัตยกรรมที่แยกการจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลออกจากกัน เพื่อรองรับการใช้งานข้อมูลรูปแบบใหม่ ๆ ให้เชื่อถือได้มากขึ้น นอกจากนี้ กลไกการเร่งยังสร้างขึ้นเพื่อให้รองรับการใช้งานข้อมูลได้หลากหลาย เพื่อให้เกิดการประมวลผลแบบใกล้ข้อมูลที่จะทำให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น
แนวโน้มที่ 3: การจัดเก็บข้อมูลแบบออลแฟลชรองรับทุกสถานการณ์
การจัดเก็บข้อมูลแบบออลแฟลชคิดเป็นสัดส่วนกว่า 50% ของตลาดระบบจัดเก็บข้อมูลหลัก และยุคของระบบจัดเก็บข้อมูลแบบแฟลชที่มีความครอบคลุมกำลังมา หัวเว่ยขอแนะนำให้องค์กรคว้าโอกาสในการใช้งานและเปลี่ยนระบบจัดเก็บข้อมูลใหม่ เพื่อเร่งการใช้ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบแฟลช
แนวโน้มที่ 4: ป้องกันแรนซัมแวร์
การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์กำลังกลายเป็นภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดสำหรับองค์กรต่าง ๆ โดยทีมที่ดูแลระบบจัดเก็บข้อมูลจำเป็นต้องสร้างระบบป้องกันข้อมูลที่ครอบคลุมมากขึ้น และสร้างโซลูชันจัดเก็บข้อมูลที่ป้องกันแรนซัมแวร์ได้อย่างรอบด้าน เพื่อเสริมเกราะป้องกันข้อมูลชั้นสุดท้าย
แนวโน้มที่ 5: ความยืดหยุ่นทางดิจิทัล
เมื่อข้อมูลกำลังกลายเป็นสินทรัพย์หลักสำหรับองค์กรต่าง ๆ ความยืดหยุ่นทางดิจิทัลจึงเป็นเกณฑ์สำคัญในโครงร่างงานเพื่อความยืดหยุ่นขององค์กร โดยองค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องเสริมแกร่งการป้องกันข้อมูลเพื่อไม่ให้ข้อมูลรั่วไหล เสียหาย และสูญเสีย ช่วยให้บริการได้ตลอดเวลา และเข้าถึงได้อย่างราบรื่น ทำให้มีความยืดหยุ่นทางดิจิทัลมากขึ้น
แนวโน้มที่ 6: จัดเก็บข้อมูลด้วยปัญญาประดิษฐ์
ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการไปจนถึงตัวผลิตภัณฑ์ ปัญญาประดิษฐ์มอบพลังให้ระบบจัดเก็บข้อมูลที่ขับเคลื่อนด้วนตนเองตลอดวงจรชีวิตของข้อมูล โดยองค์กรต่าง ๆ ควรรุกพัฒนาเกณฑ์ประเมินสำหรับซอฟต์แวร์บริหารจัดการ AI ในการเก็บข้อมูล ขณะที่ทีมบริหารจัดการระบบเก็บข้อมูลควรอัปเกรดเทคโนโลยีให้รองรับ AI ในการเก็บข้อมูล
แนวโน้มที่ 7: สถาปัตยกรรมแบบมัลติคลาวด์
เมื่อมัลติคลาวด์กลายเป็นความปกติใหม่ จึงแนะนำให้ย้ายบริการที่มีความไม่แน่นอน และบริการใหม่ ๆ อย่าง OA ไปยังคลาวด์สาธารณะ ขณะที่ยังเก็บบริการแกนหลักไว้ในศูนย์ข้อมูลในองค์กรเอง โดยในการสร้างมัลติคลาวด์นั้น องค์กรต่าง ๆ ควรใช้สถาปัตยกรรมไอทีที่จัดเก็บและแชร์ข้อมูลจากส่วนกลาง และเปิดการใช้งานในคลาวด์หลายตัว และวางแผนสร้างแพลตฟอร์มบริหารจัดการข้อมูลแบบรวมในคลาวด์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มการแชร์ข้อมูลให้ถึงขีดสุด
แนวโน้มที่ 8: โมเดลธุรกิจจัดเก็บข้อมูล
โมเดลธุรกิจจัดเก็บข้อมูลที่มีความยืดหยุ่นช่วยรองรับข้อมูลจำนวนมหาศาลและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ หัวเว่ยแนะนำให้องค์กรต่าง ๆ วางแผนหาทรัพยากรไอที และเลือกโมเดลธุรกิจที่เหมาะสมที่สุดตามความต้องการทางธุรกิจและกลยุทธ์ในอนาคต
แนวโน้มที่ 9: ประหยัดพลังงาน
ระบบเก็บข้อมูลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ศูนย์ข้อมูลต่าง ๆ ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ได้ โดยองค์กรต่าง ๆ สามารถใช้ผลิตภัณฑ์จัดเก็บข้อมูลที่ออกแบบให้มีความหนาแน่นสูง มีการบรรจบกันของระบบ และลดมิติข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดการใช้พลังงานของศูนย์ข้อมูลไปอีกระดับ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.huawei.com/en/giv/industries/data-storage
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1906472/image_5011010_37060953.jpg