WHO-SEARO- สสส. จับมือสร้างชุมชนเมืองสุขภาวะ จัดการประชุมระดับภูมิภาคด้านธรรมาภิบาลเมืองสุขภาวะ สร้างความมั่นคงด้านสุขภาพ

อังคาร ๒๗ กันยายน ๒๐๒๒ ๑๑:๒๔
วันที่ 27 ก.ย. 2565 ที่ โรงแรมพูลแมน คิงเพาเวอร์ องค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก (WHO-SEARO) Regional Laboratory on Urban Health Governance for Health and Wellbeing (UGHW) Swiss Development Cooperation ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดการประชุม "Regional Meeting with Multisectoral Partners on Urban Governance for Health and Wellbeing in South-East Asia Region" ตั้งแต่วันที่ 27-29 ก.ย. 2565 เพื่อเป็นเวทีหารือกับหลายภาคส่วนในเรื่องธรรมาภิบาลเมืองสุขภาวะในภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า การประชุมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินการด้านเมืองสุขภาวะ (Healthy City) ในภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก แนะนำเครื่องมือที่สนับสนุนการขับเคลื่อนและการพัฒนาศักยภาพผู้นำของงานสร้างเสริมสุขภาวะเขตเมือง (Urban Health)

ดร.นพ. ไพโรจน์ กล่าวต่อว่า การประชุมยังยกระดับหุ้นส่วนการทำงานระหว่างภาคส่วนสุขภาพและภาคส่วนการพัฒนาเมืองผ่านเครือข่ายเมืองสุขภาวะ (Healthy City Network) โดยประกอบด้วยกิจกรรมสำคัญ เช่น การหารือเชิงนโยบายด้านธรรมาภิบาลเมืองสุขภาวะกับหลายภาคส่วน นิทรรศการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแนวปฏิบัติที่ดีด้านการสร้างเสริมสุขภาพจากสสส. องค์การอนามัยโลก และประเทศสมาชิก WHO-SEARO เป็นต้น โดย สสส. มีความร่วมมือกับ WHO-SEARO มาอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ปี โดยนอกจากมีการขับเคลื่อน MOU ร่วมกันแล้ว ที่ผ่านมา สสส. ยังได้ร่วมกับ WHO-SEARO และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาคู่มือ Healthy Space Next Door จากต้นทุนการพัฒนางานพื้นที่สุขภาวะบริบทประเทศไทย เพื่อให้เมืองต่างๆในประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออกนำไปใช้ในการออกแบบพื้นที่สุขภาวะในชุมชนเมืองอีกด้วย

ดร.ณัฐพันธ์ ศุภกา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ เสริมว่าการจัดประชุมครั้งนี้ถือเป็นกิจกรรมแรก ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง สสส. กับ WHO-SEARO ฉบับล่าสุด ปี พ.ศ. 2565 - 2568 ที่มุ่งสร้างเสริมสุขภาพผ่านการทำงานกับทุกภาคส่วน เพื่อส่งเสริมสุขภาวะเขตเมือง (Urban Health)ง และพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการสร้างเสริมสุขภาพทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก ทั้งนี้ การจัดการประชุมในครั้งนี้ สสส. ร่วมออกบูธนิทรรศการเพื่อแบ่งปันผลงานเด่น (best practices) แนวทางหรือเครื่องมือ (guidance and tools) ในประเด็นสร้างเสริมสุขภาพที่หลากหลาย อาทิ การสร้างความปลอดภัยทางถนน (Road Safety) มหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาวะ (Healthy University) ชุมชนสุขภาวะ (Healthy Community) พื้นที่สุขภาวะและกิจกรรมทางกาย (Healthy Space and Physical Activity) นอกจากนี้ ยังมีผู้บริหาร สสส. และภาคีเครือข่ายที่มีความเชี่ยวชาญเข้าร่วมประชุมในเวทีหลัก เพื่อแลกเปลี่ยนและแบ่งปันการทำงานจากประสบการณ์จริงในการทำงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ

ที่มา: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ( สสส.)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ