ดร. ลินดา ดาร์ลิง-แฮมมอนด์ และศ.หย่งซิน จู คว้า "อีตานไพรซ์" รางวัลเชิดชูเกียรติด้านการศึกษาระดับสูงสุดของโลก ประจำปี 2565

พฤหัส ๒๙ กันยายน ๒๐๒๒ ๐๘:๓๐
มูลนิธิอีตานไพรซ์ (Yidan Prize Foundation) มอบรางวัลอีตานไพรซ์ ประจำปี 2565 (2022 Yidan Prize) เพื่อเชิดชูเกียรติด้านการศึกษาระดับสูงสุดของโลกแก่ ดร. ลินดา ดาร์ลิง-แฮมมอนด์ (Dr Linda Darling-Hammond) และศาสตราจารย์หย่งซิน จู (Professor Yongxin Zhu) เพื่อยกย่องผลงานแห่งนวัตกรรมในด้านการยกระดับผู้สอน และส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียมและไม่กีดกัน เพื่อรับประกันว่าผู้เรียนทุกคนจะได้พัฒนาศักยภาพของตนได้อย่างเต็มที่
ดร. ลินดา ดาร์ลิง-แฮมมอนด์ และศ.หย่งซิน จู คว้า อีตานไพรซ์ รางวัลเชิดชูเกียรติด้านการศึกษาระดับสูงสุดของโลก ประจำปี 2565

มูลนิธิอีตานไพรซ์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2559 โดยมีภารกิจเพื่อการสร้างโลกที่ดีขึ้นผ่านการศึกษา หลังเสร็จสิ้นกระบวนการพิจารณาตัดสินอย่างอิสระที่มีความเข้มงวด ทางมูลนิธิได้ตัดสินใจมอบรางวัลเชิดชูเกียรติ อีตานไพรซ์ สาขาการวิจัยด้านการศึกษา (Education Research) ประจำปี 2565 ให้แก่ดร. ลินดา ดาร์ลิง-แฮมมอนด์ และสาขาการพัฒนาการศึกษา (Education Development) แก่ศาสตราจารย์หย่งซิน จู

"เราขอแสดงความยินดีอย่างสุดซึ้งแก่ ดร. ลินดา ดาร์ลิง-แฮมมอนด์ และศาสตราจารย์หย่งซิน จู ผู้ที่ได้รับรางวัลอีตานไพรซ์ ประจำปี 2565 ทั้งสองท่านมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมครูและเยาวชนในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ผลงานของพวกเขาเป็นที่ประจักษ์ชัดถึงผลกระทบสำคัญยิ่งของครูที่มีต่อผู้เรียน และเมื่อนักเรียนมีครูที่ยอดเยี่ยม พวกเขาก็มีโอกาสในการพัฒนาที่เยี่ยมยอด" คุณเอ็ดเวิร์ด หม่า (Mr Edward Ma) เลขาธิการมูลนิธิอีตานไพรซ์ กล่าว

ตระหนักถึงความเป็นเลิศเพื่อจุดประกายการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาเป็นวงกว้างได้อย่างแท้จริง

ดร. ลินดา ดาร์ลิง-แฮมมอนด์ ศาสตราจารย์กิตติคุณด้านการศึกษา ชาร์ลส์ อี ดูคอมมัน (Charles E. Ducommun Professor of Education Emeritus) มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และประธานและซีอีโอของสถานบันนโยบายการเรียนรู้ (Learning Policy Institute) คว้ารางวัลอีตานไพรซ์ สาขาการวิจัยด้านการศึกษา ประจำปี 2565 จากผลงานด้านการกำหนดทิศทางนโยบายและแนวทางปฏิบัติด้านการศึกษาต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพและความเท่าเทียมเพื่อการจัดการเรียนการสอน งานวิจัยของเธอแสดงให้เห็นถึงรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายของเด็กและวิธีการสอนที่เหมาะสมที่สุดให้กับพวกเขา และนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ให้แก่ผู้สอนผ่านโครงการพัฒนาผู้สอนที่เข้มข้น และพลิกโฉมโรงเรียนที่สนับสนุนครูแบบองค์รวมในการเปลี่ยนแปลงชีวิตของเด็ก ๆ

คุณแอนเดรียส์ ชไลเชอร์ (Mr Andreas Schleicher) หัวหน้าคณะกรรมการการตัดสินรางวัลอีตานไพรซ์สาขาการวิจัยด้านการศึกษา และผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษาและทักษะขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) กล่าวว่า "ด้วยอุดมการณ์อันแน่วแน่ที่ต้องการเห็นผู้เรียนทุกคนบรรลุศักยภาพสูงสุดของตัวเอง โดยไม่เกี่ยงว่าจะมีพื้นฐานทางสังคม, เพศ หรือสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์เป็นเช่นไร ลินดาได้ทุ่มเทชีวิตเพื่อพัฒนาเครื่องมือวิจัยที่ช่วยสนับสนุนนโยบายและแนวปฏิบัติเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาที่ดีและเท่าเทียมยิ่งขึ้น อิทธิพลด้านนโยบายสาธารณะของเธอได้ช่วยให้เหล่าผู้ออกแบบนโยบายกำหนดทิศทางการศึกษาในเชิงบวกให้กับเด็ก ๆ ได้เป็นวงกว้าง"

คุณลินดาเตรียมใช้ทุนสนับสนุนจากอีตานไพรซ์เพื่อขยายสเกลงานของเธอที่ห้องปฏิบัติการเตรียมความพร้อมผู้สอน (Educator Preparation Laboratory หรือ EdPrepLab) ซึ่งเป็นโครงการเครือข่ายเพื่อเตรียมความพร้อมครูที่มุ่งเน้นด้านความเท่าเทียมโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง โดยมีพื้นฐานอยู่บนวิทยาศาสตร์แห่งการเรียนรู้และการพัฒนาและฝึกครูให้พร้อมช่วยให้นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเธอจะขยายขอบเขตการเข้าถึง EdPrepLab จัดทำโครงการใหม่ ๆ ลงทุนในการวิจัยใหม่เกี่ยวกับโครงการที่มีประสิทธิภาพ และสร้างพื้นที่ที่ผู้สอน, นักวิจัย และผู้กำหนดนโยบายสามารถแบ่งปันและเรียนรู้ซึ่งกันและกันได้โดยง่าย

ศาสตราจารย์หย่งซิน จู (Yongxin Zhu) ผู้ก่อตั้งโครงการนิว เอดูเคชั่น อินนิชิเอทีฟ (New Education Initiative) หรือ NEI และศาสตราจารย์ด้านศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยซูโจว ได้รับรางวัลอีตานไพรซ์ สาขาการพัฒนาการศึกษา ประจำปี 2565 จากผลงานด้านการพัฒนาคุณภาพการสอนและการเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์การเรียนรู้ในประเทศจีน โครงการ NEI ของเขายังส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีและการพัฒนาบุคลากรครู โดยเข้าถึงโรงเรียนกว่า 8,300 แห่ง ครูกว่า 500,000 ราย และนักเรียน 8 ล้านรายทั่วประเทศ โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ในพื้นที่ชนบทและพื้นที่ห่างไกล โครงการ NEI พลิกโฉมสภาพแวดล้อมของบ้านให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้เชิงบวกและบ่มเพาะแนวทางการทำงานร่วมกันเพื่อการเรียนรู้โดยนำชุมชนของผู้เรียนทั้งหมดมารวมกัน ทั้งครู, นักเรียน และครอบครัวต่างร่วมมือกันเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการเรียนรู้ที่ชัดเจน เพิ่มพูนผลลัพธ์ทางการศึกษาให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น มากกว่าแค่มุ่งเน้นการสอนเพื่อสอบเพียงอย่างเดียว

คุณโดโรธี เค. กอร์ดอน (Dorothy K. Gordon) ประธานกรรมการผู้ตัดสินรางวัลอีตานไพรซ์ สาขาการพัฒนาการศึกษา ประจำปี 2565 และสมาชิกคณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของยูเนสโก (UNESCO) ระบุว่า "ศาสตราจารย์จูประสบความสำเร็จในการจัดการกับหนึ่งในความท้าทายที่ยากที่สุดในด้านการศึกษา นั่นคือ การยกระดับความเท่าเทียมและลดการกีดกัน ผลงานของเขาส่งเสริมให้เห็นถึงคุณค่าของการเรียนรู้เพื่อการเติบโตผ่านการพัฒนาการอ่าน การเขียน และการสื่อสาร เขาประสบความสำเร็จในการค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงวิธีที่ครูเข้าถึงการพัฒนาทางวิชาชีพ และวิธีการเรียนรู้ของนักเรียนในห้องเรียนและที่บ้าน และเรื่องที่อาจจะสำคัญที่สุดก็คือ เขาย้ำเตือนเราถึงความสำคัญของความสุขและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้เรียนทุกคน"

ศาสตราจารย์หย่งซิน จู วางแผนที่จะนำเงินทุนรางวัลอีตานไพรซ์มาใช้เพื่อขยายการเข้าถึงโครงการ NEI ในพื้นที่ห่างไกลในชนบทของจีน และพัฒนาฮับการเรียนรู้บนคลาวด์ ยกระดับคุณภาพการศึกษา และทำให้การศึกษาสามารถเข้าถึงผู้เรียนทุกคนอย่างครอบคลุมและเสมอภาค

ดร.โคอิชิโร มัทซูอาระ (Koichiro Matsuura) ประธานคณะกรรมการตัดสินรางวัลอีตานไพรซ์ และอดีตผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโกระบุว่า "รางวัลอีตานไพรซ์สนับสนุนไอเดียที่สร้างสรรค์ที่สุดในด้านการศึกษา และช่วยขยายสเกลของไอเดียเหล่านี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้คนจำนวนมากที่สุด ดังนั้น ผู้ที่ได้รับรางวัลจึงมีความสำคัญต่อเป้าหมายของเราในการเปลี่ยนแปลงการศึกษาทั่วโลก เพื่อปลดล็อกอนาคตที่สดใสสำหรับผู้เรียนทุกคน"

มูลนิธิอีตานไพรซ์สนับสนุนผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษา

รางวัลอีตานไพรซ์ยกย่องบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีบทบาทสำคัญต่อทฤษฎีและการปฏิบัติด้านการศึกษา แต่ละบุคคลหรือแต่ละทีมที่ได้รับรางวัลจะได้รับเงิน 30 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง (ประมาณ 3.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำมาแบ่งคนละเท่า ๆ กันในกรณีทีม) โดยจำนวนเงินครึ่งหนึ่งจะใช้เป็นกองทุนโครงการเพื่อช่วยขยายโครงการการศึกษาและส่งเสริมผู้เรียนทั่วโลกมากขึ้น

ศาสตราจารย์อีริก เอ. ฮานูเช็ก (Eric A. Hanushek) ผู้ได้รับรางวัลอีตานไพรซ์ สาขาการวิจัยด้านการศึกษา ประจำปี 2564 ใช้เงินรางวัลเพื่อก่อตั้งโครงการอีตาน แอฟริกัน เฟลโลวส์ (Yidan African Fellows) ซึ่งเป็นเครือข่ายนักวิจัยท้องถิ่นในด้านนโยบายการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการตัดสินใจด้านการศึกษาทั่วภูมิภาคแอฟริกาใต้สะฮารา ส่วนในอินเดีย ดร.รุกมีนี บาเนอร์จี (Rukmini Banerji) ผู้ได้รับรางวัลอีตานไพรซ์ สาขาการพัฒนาเพื่อการศึกษา ประจำปี 2564 กำลังร่วมงานกับองค์กรประถม (Pratham) เพื่อพัฒนา ทดสอบ และปรับปรุงโครงการสำหรับปีแรก ๆ และขยายความร่วมมือกับรัฐบาลท้องถิ่น โครงการเหล่านี้คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อเด็ก 35,000 คนใน 650 ชุมชน

เปิดรับการเสนอชื่อผู้เข้าชิงรางวัลอีตานไพรซ์ ประจำปี 2566 ในเดือนตุลาคม

รางวัลอีตานไพรซ์ยังคงยินดีเปิดรับการเสนอชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้เปลี่ยนแปลงในวงการศึกษา ซึ่งสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อผู้เรียนทั่วโลกผ่านโซลูชันการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลง ปรับสเกลได้ และมีความยั่งยืน

เกี่ยวกับมูลนิธิอีตาน

มูลนิธิอีตานไพรซ์ (Yidan Prize Foundation) เป็นมูลนิธิการกุศลระดับโลก มีพันธกิจในการสร้างโลกที่ดีกว่าด้วยการศึกษา ด้วยรางวัลและเครือข่ายนักนวัตกรรม มูลนิธิอีตานไพรซ์ สนับสนุนแนวคิดและการปฏิบัติทางด้านการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีพลังในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้แก่ชีวิตและสังคม

อีตานไพรซ์ เป็นรางวัลเชิดชูเกียรติด้านการศึกษา เพื่อยกย่องบุคคลหรือคณะบุคคลที่มีบทบาทสำคัญต่อทฤษฎีและการปฏิบัติด้านการศึกษา

https://yidanprize.org

รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/1908592/111.jpg
คำบรรยายภาพ: ดร. ลินดา ดาร์ลิง-แฮมมอนด์ (ซ้าย) ผู้ชนะรางวัลอีตานไพรซ์ สาขาการวิจัยด้านการศึกษา ประจำปี 2565 และศาสตราจารย์หย่งซิน จู (ขวา) ผู้ชนะรางวัลอีตานไพรซ์ สาขาการพัฒนาการศึกษา ประจำปี 2565

รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/1908593/222.jpg
คำบรรยายภาพ: สองรางวัลนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเชิดชูผลกระทบในเชิงบวก โดยผู้ชนะจะได้รับเหรียญทองและเงิน 30 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง (แบ่งคนละเท่า ๆ กันในกรณีทีม) ซึ่งจำนวนเงินครึ่งหนึ่งหรือ 15 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง จะใช้เป็นกองทุนโครงการเพื่อช่วยขยายโครงการการศึกษาของผู้ชนะ



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
ดร. ลินดา ดาร์ลิง-แฮมมอนด์ และศ.หย่งซิน จู คว้า อีตานไพรซ์ รางวัลเชิดชูเกียรติด้านการศึกษาระดับสูงสุดของโลก ประจำปี 2565

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version