กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับเดลต้าจัดงาน Angel Fund for Startups Awards 2022 มุ่งสนับสนุนสตาร์ทอัพ พร้อมมอบรางวัลและเงินทุนสนับสนุนนวัตกรรมไทย

จันทร์ ๐๓ ตุลาคม ๒๐๒๒ ๑๔:๕๑
บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) ร่วมมือกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม จัดพิธีมอบรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศโครงการ Delta Angel Fund สำหรับสตาร์ทอัพประจำปี 2565 โดยในปีนี้ เดลต้าได้มอบเงินสนับสนุนหนึ่งล้านบาทเป็นรางวัลให้แก่ทีม RENEWSI ผู้ชนะเลิศอันดับที่ 1
กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับเดลต้าจัดงาน Angel Fund for Startups Awards 2022 มุ่งสนับสนุนสตาร์ทอัพ พร้อมมอบรางวัลและเงินทุนสนับสนุนนวัตกรรมไทย

สืบเนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19 งานประกาศรางวัลโครงการ Angel Fund ในปี 2564 จึงถูกจัดผ่านระบบออนไลน์ และเพิ่งได้กลับมาจัดเต็มรูปแบบอีกครั้งในปีนี้ โดยภายในงาน นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มอบใบประกาศเกียรติคุณแก่เดลต้า ประเทศไทย

นอกจากนี้ นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และ นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ให้การต้อนรับทีมผู้เข้าแข่งขัน ทั้งยังแสดงความยินดีต่อความสำเร็จของโครงการ Delta Angel Fund สำหรับสตาร์ทอัพประจำปี 2565

จากนั้นทางกระทรวงอุตสาหกรรมและเดลต้าได้ร่วมกันมอบใบประกาศนียบัตรพร้อมเงินทุนสนับสนุนให้แก่ 6 ทีมสตาร์ทอัพผู้ชนะ โดยผู้ชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 1,000,000 บาท และผู้ชนะในลำดับถัดไปได้รับเงินรางวัลมูลค่าตั้งแต่ 800,000 บาทไปจนถึง 400,000 บาทตามลำดับ

ในปีนี้เดลต้าได้มอบเงินรางวัลทั้งหมดกว่า 4,000,000 บาท ทำให้ทุกทีมที่ชนะการแข่งขันได้รับเงินสนับสนุนเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นการดึงดูดสตาร์ทอัพไทยให้เข้าร่วมกองทุน Angel Fund และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตลาดและสังคม
โดยทีมที่ได้รับรางวัลกองทุนสนับสนุน Delta Angel Fund for Startup 2022 มีทั้งหมด 6 ทีม ได้แก่:

  1. รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1: RENEWSI
    - โปรเจกต์: กระบวนการรีไซเคิลโซลาร์เซลล์ชนิดซิลิคอน โดยสามารถเปลี่ยนขยะจากแผงโซลาร์เซลล์เป็นพลังงานใหม่ และสินค้าที่มีมูลค่าสูง เช่น นาโนซิลิโคนที่ใช้ในแบตเตอรี่และชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้า
  2. รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1: EMMA
    - โปรเจกต์: เครื่องตรวจคลื่นหัวใจไฟฟ้าแบบ 12-lead ที่ใช้เทคโนโลยีไร้สาย (Wireless Technology)
  3. รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2: UPCYDE
    - โปรเจกต์: กระบวนการเปลี่ยนแปลงขยะอาหารและเศษผลผลิตจากเกษตรกรรม ไปเป็นวัสดุหนังด้วยรูปแบบห่วงโซ่อุปทานเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy Supply Chain Model)
  4. รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 3: NRG Trac
    - โปรเจกต์: โซลูชันสำหรับบริษัทเพื่อติดตามการปล่อยคาร์บอนแบบออนไลน์
  5. รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 4: Muu
    - โปรเจกต์: ผลิตภัณฑ์นมจากเซลล์เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากวัว
  6. รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 5: TEDR
    - โปรเจกต์: หลักสูตรการฝึกอบรมทักษะการพัฒนาหุ่นยนต์ ที่จัดทำโดยนักออกแบบและผู้ผลิตหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในท้องถิ่น

ทั้งนี้ นายแจ็คกี้ จาง ประธานบริษัทเดลต้า ประเทศไทย กล่าวในโอกาสนี้ว่า "ทุก ๆ ปี เดลต้าและกระทรวงอุตสาหกรรมจะร่วมกันส่งเสริมกองทุนนางฟ้า พร้อมทั้งเลือกทีมสตาร์ทอัพที่เกี่ยวข้องกับโซลูชันด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และระบบอัตโนมัติของเดลต้า รวมถึงมีศักยภาพทางการค้าในตลาด โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การแข่งขันนี้สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้มีความสามารถได้มากขึ้นและน่าตื่นเต้นยิ่งกว่าเดิม ด้วยรูปแบบการแข่งขันแบบ Hackathon ทีมที่ชนะสามารถรับรางวัลเงินสดจากเดลต้า และทำให้เป็นที่รู้จักในระดับประเทศ ซึ่งถือเป็นการเปิดประตูสู่โอกาสใหม่ ๆ "

ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา เดลต้าได้สนับสนุนเหล่าทีมสตาร์ทอัพผ่านกองทุนนางฟ้า ด้วยการฝึกอบรมด้านเทคนิคและธุรกิจเพื่อพัฒนาและขัดเกลาการนำเสนอโครงการของพวกเขาให้มีประสิทธิภาพในเชิงพาณิชย์ และในปีนี้ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจและที่ปรึกษาในโครงการ โดยในปีที่สองนี้ ทีมที่ชนะจะได้เข้าร่วมการเสนอขายในรายการเรียลิตี้โชว์ ธุรกิจพิชิตล้าน Shark Tank Thailand เพื่อโอกาสในการรับทุนเพิ่มเติม

เดลต้าและกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ได้ร่วมกันให้ทุนแก่สตาร์ทอัพผ่านทางกองทุนนางฟ้า ตั้งแต่การเปิดตัวโครงการในปี 2559 โดยมีเป้าหมายคือการพัฒนาผู้มีความสามารถในประเทศไทยและบ่มเพาะธุรกิจสตาร์ทอัพในภาคอุตสาหกรรมนวัตกรรมเพื่อสนับสนุน

นโยบายของรัฐบาลไทย ซึ่งในปีนี้ การการแข่งขันได้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อเกี่ยวกับแบบจำลองเศรษฐกิจหมุนเวียนชีวภาพ (BCG) และแนวคิดการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน ESG (Environment, Social, and Governance) ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำด้วยเศรษฐกิจสีเขียวรูปแบบใหม่เพื่อความยั่งยืน

ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนถึงปี 2565 เดลต้าได้มอบเงินทุนกว่า 23 ล้านบาทให้กับทีมที่ชนะถึง 309 ทีม (โดยร้อยละ 24 เป็นผู้หญิง) เพื่อสนับสนุนการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอัจฉริยะและพลังงานในตลาดไทย กองทุน Angel Fund นี้ เป็นส่วนสำคัญของโครงการสตาร์ทอัพของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 970 ล้านบาทและสร้างงานมากถึง 927 ตำแหน่ง

กองทุน Angel Fund สำหรับสตาร์ทอัพของเดลต้า คือเสาหลักของการร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลไทย สถาบันการศึกษา และพันธมิตรในอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในยุค New Normal ของประเทศไทย และการพัฒนาประเทศไปสู่ประเทศไทย 4.0

ที่มา: วีโร่

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version