กระแสการลาออกระลอกใหญ่ที่อาจไม่เกิดขึ้นจริง The 'Not-so Great' Resignation

พุธ ๐๕ ตุลาคม ๒๐๒๒ ๐๙:๐๐
กระแสการลาออกระลอกใหญ่ที่อาจไม่เกิดขึ้นจริง The 'Not-so Great' Resignation
กระแสการลาออกระลอกใหญ่ที่อาจไม่เกิดขึ้นจริง The 'Not-so Great' Resignation

โรเบิร์ต วอลเทอร์ส เปิดเผยรายงานฉบับล่าสุด ถึงผลสำรวจและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ "กระแสการลาออก (Great Resignation)" ของพนักงานในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 50% ของพนักงานในไทย (ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) เคยคิดลาออกในปีที่ผ่านมาแต่ยังไม่ได้ลาออกจริง

ข้อมูลจากผลการสำรวจจากพนักงานและบริษัทใน 6 ประเทศทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แสดงให้เห็นว่า:

  • 4 ใน 5 ต้องการลาออกในปี 2564 แต่มีพนักงานถึง 42% ที่ยังทำงานที่เดิมจนถึงปัจจุบันอยู่
  • 86% ของพนักงานได้ ทบทวนถึงความสัมพันธ์ ในการทำงานในปี 2564 โดยให้น้ำหนักกับเพื่อนร่วมงานที่สร้างแรงบันดาลใจและวัฒนธรรมการทำงานเป็นอันดับต้น
  • 40% ของพนักงานไม่เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงขององค์กร ในด้านการสร้างความผูกพันแก่พนักงาน

ภาพรวมประเทศไทย:

  • 80% เคยคิดลาออกในปี 2564 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในภูมิภาคเช่นเดียวกับสิงคโปร์ รองจากมาเลเซีย อย่างไรก็ตาม 56% รู้สึกไม่สบายใจที่จะลาออกหากยังไม่มีงานใหม่รองรับ
  • ช่องว่างระหว่างการรับรู้: 56% ของบริษัทในประเทศไทยมีการดำเนินมาตรการในการรักษาพนักงาน แต่ 36% ของพนักงานกลับไม่รู้สึกถึงความพยายามเหล่านี้เลย
  • การปรับขึ้นเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง และการเปลี่ยนหน้าที่ความรับผิดชอบยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาพนักงานผู้มีความสามารถสูงไว้

'กระแสของปรากฎการณ์การลาออกระลอกใหญ่ (Great Resignation)' อาจไม่เกิดขึ้นจริงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยอ้างอิงจากการสำรวจล่าสุดจาก โรเบิร์ต วอลเทอร์ส บริษัทจัดหางานผู้เชี่ยวชาญชั้นนำ พบว่าพนักงานต่างให้ความสำคัญกับความมั่นคงของงานในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน โดยมากกว่าครึ่ง (59%) ระบุว่าพวกเขารู้สึกไม่สบายใจที่จะลาออกโดยที่ยังไม่สามารถหางานใหม่ได้ และ 81% ของผู้ที่คิดที่จะลาออกยินดีที่จะเปลี่ยนใจหากเงื่อนไขที่บริษัทจะเสนอตรงกับความต้องการ

การจ้างพนักงานใหม่ยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย ซึ่งพบว่า 76% ของบริษัทประสบปัญหาดังกล่าวในปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังมีช่องว่างในการรับรู้เกี่ยวกับความพยายามของบริษัทในการรักษาพนักงานไว้ เนื่องจาก 40% ของพนักงานไม่ได้รู้สึกว่าบริษัทจะมีมาตรการในการสร้างความผูกพันและใส่ใจในข้อกังวลต่างๆของพวกเขา

ข้อค้นพบที่สำคัญจากการสำรวจโดยโรเบิร์ต วอลเทอร์ส เรื่องกระแสการลาออก ที่จัดทำขึ้นในเดือนมิถุนายน 2565 ซึ่งครอบคลุม 6 ประเทศทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย อินโดนีเซียและเวียดนาม) ที่เก็บข้อมูลจากพนักงานกว่า 2,600 คนและฝ่ายที่ดูแลการสรรหาบุคลากรในบริษัทต่างๆ มากกว่า 1,100 แห่ง ที่เจาะลึกถึงทัศนคติของพนักงาน เหตุผลในการลาออกและปัจจัยที่จะช่วยในการรักษาพนักงานไว้กับบริษัท

ภาพรวมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: เปลี่ยนตำแหน่งแทนการลาออก

79% ของพนักงานที่ทำการสำรวจยอมรับว่ามีความตั้งใจที่จะลาออกในปีที่ผ่านมา แต่กว่า 4 ใน 10 หรือคิดเป็น 42% ยังไม่ได้ลาออกจริง   มาเลเซียมีสัดส่วนของพนักงานที่คิดลาออกสูงที่สุดในปีที่ผ่านมา (82%) รองลงมาคือสิงคโปร์ (80%) และไทย (80%) 50% พนักงานในไทย (สูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) เคยคิดที่จะลาออกในปีที่ผ่านมาแต่ยังคงอยู่กับบริษัทจนถึงปัจจุบัน 

นายแกริต บุคกาต กรรมการผู้จัดการ บริษัทโรเบิร์ต วอลเทอร์ส เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มองว่านายจ้างจะเจอภาวะการจ้างงานที่ดุเดือดในช่วงที่เหลือของปี 2565 และ 2566  "ประเด็นสำคัญนอกเหนือไปจาก "กระแสการลาออกระลอกใหญ่" คือตลาดการจ้างงานที่จะขยายตัวมากขึ้นทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปีหน้า เนื่องจากพนักงานไม่ได้ตัดสินใจลาออกอย่างไม่ได้ไตร่ตรอง แต่ต้องการเปลี่ยนงานใหม่มากกว่า ยิ่งเมื่อเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ เราจึงแนะนำให้พนักงานตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง และย้ายงานเฉพาะเมื่อมีข้อเสนอเข้ามาใหม่แล้วเท่านั้น"

สรุปประเด็นสำคัญในประเทศไทย: บริษัทยังมีเวลาที่จะรักษาพนักงานเอาไว้ แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่พนักงานรับรู้และสิ่งที่บริษัทกำลังพยายามทำกลับสวนทางกัน

80% ของพนักงานในไทยเคยคิดที่จะลาออกในปีที่ผ่านมา โดย 50% ยังไม่ได้ลาออกจริงซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในภูมิภาค เหตุผลหลักที่ทำให้พวกเขาอยู่ต่อ ได้แก่ ยังไม่พบงานที่เหมาะสมที่สุด (58%) ขาดโอกาสในตำแหน่งที่เลือก (32%) และความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงในงานกับบริษัทใหม่ (24%) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพนักงานมีโอกาสที่จะย้ายงานได้อยู่เสมอ และส่วนใหญ่กำลังวางแผนย้ายงานในอนาคตอันใกล้หากมีตำแหน่งที่ตอบโจทย์ 

อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจ มากกว่า 4 ใน 5 ของผู้ตอบแบบสำรวจในไทย ระบุว่าพวกเขาจะทำงานกับบริษัทต่อหากมีการเปลี่ยนแปลงที่ตอบโจทย์ สำหรับพนักงานที่คิดลาออก 82% ยอมรับว่า จะเปลี่ยนความคิดหากได้รับข้อเสนอที่เหมาะสมซึ่งเงินเดือนยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการทบทวนการตัดสินใจ  โดยจากการสำรวจพนักงานให้น้ำหนักกับการขึ้นเงินเดือนมากที่สุด (38%) รองลงมาคือการเลื่อนตำแหน่ง (30%) และการเปลี่ยนหน้าที่ความรับผิดชอบในงาน (27%)  เป็นปัจจัยที่จะทำงานกับบริษัทต่อไป

เพื่อนร่วมงานและวัฒนธรรมองค์กรที่สร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานทำงานได้อย่างดีที่สุดเป็นสิ่งที่พนักงานให้ความสำคัญที่สุดในบริษัท (42%) ซึ่งอยู่ในอันดับที่สูงกว่าค่าตอบแทนและสวัสดิการอื่น (41%) รวมถึงการทำงานที่ยืดหยุ่น (35%)

อัตราการลาออกของพนักงานในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีที่ผ่านมา คิดเป็น 72% ของบริษัท  สำหรับมาตรการในการรักษาพนักงาน บริษัทได้ดำเนินมาตรการหลากหลาย ได้แก่ การปรับขึ้นเงินเดือน (56%)  การเพิ่มโอกาสในการฝึกอบรมและการเพิ่มทักษะ (50%) การใช้นโยบายการทำงานที่ยืดหยุ่นและการทำงานจากทางไกล (45%) อย่างไรก็ตาม 36% ของพนักงานที่ถูกสัมภาษณ์กล่าวว่าพวกเขาไม่ได้รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เลยซึ่งสื่อให้เห็นถึงช่องว่างในการสื่อสารมาตรการต่างๆเหล่านี้ลงไปยังพนักงาน

ประเด็นอื่นๆ ในประเทศไทย ที่น่าสนใจได้แก่:

  • ความท้าทายหลักที่นายจ้างต้องเผชิญในการสรรหาพนักงาน คือความคาดหวังในเงินเดือนและผลตอบแทนที่สูงเกินไป (68%)  การแย่งชิงพนักงานระหว่างบริษัทต่างๆ (41%) และการขาดทักษะเฉพาะทาง (40%)
  • พนักงานมากกว่า 4 ใน 5 คน (83%) ได้ประเมินความพึงพอใจในงานอีกครั้งในช่วงปีที่ผ่านมา โดยให้น้ำหนักประเด็นสำคัญ ได้แก่ การมีเวลาอยู่กับครอบครัวและเพื่อนฝูง (67%) สุขภาพกายและใจที่ดี (58%) และการได้ทำงานที่มีความหมายและมีคุณค่า (51%)

นางปุณยนุช ศิริสวัสดิ์วัฒนา ผู้จัดการโรเบิร์ต วอลเทอร์ส ประจำประเทศไทย ให้ความเห็นเกี่ยวกับผลสำรวจเพิ่มเติมว่า "บริษัทต่างๆจำเป็นต้องตื่นตัวเพื่อพร้อมเผชิญกับบริบทการทำงานหลังวิกฤติโรคระบาดและสร้างสภาพแวดล้อมที่ตอบโจทย์กับพนักงานที่ต้องการสรรหาเข้ามาในบริษัท เนื่องจากตลาดการจ้างงานจะมีการแข่งขันสูงกว่าที่เคยเป็นมา มองหากลยุทธ์การสรรหาที่มากกว่าการเสนอค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ดี และมีนำเสนอแนวทางใหม่ในการสร้างความผูกพันพนักงาน นอกจากนี้ การสร้างแบรนด์นายจ้างที่ยอดเยี่ยมยังคงต้องดำเนินต่อไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้สมัครได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทแล้ว"

รายละเอียดผลการสำรวจสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่

https://www.robertwalters.co.th/great-resignation-reality-check.html

ติดตามข้อมูลข่าวสารอื่นๆ  เกี่ยวกับ โรเบิร์ต วอลเทอร์ส ประเทศไทย เพิ่มเติมได้ที่ www.robertwalters.co.th 

ที่มา: ออล อะเบาท์ พีอาร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version