โครงการ "ผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถศิลป์ไทย" ก้าวสู่ปีที่ 6 ภายใต้แนวคิด "ผ้าขาวม้าพาสุข" สืบสานหัตถกรรมพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน

พฤหัส ๐๖ ตุลาคม ๒๐๒๒ ๑๓:๓๑
บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ผสานความร่วมมือกับ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เครือข่ายบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม ทั่วประเทศ ภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษา และ ภาคเอกชน ดำเนินโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถศิลป์ไทย อย่างต่อเนื่องจนประสบความสำเร็จ และก้าวเข้าสู่ปีที่ 6 จากจุดเริ่มต้นของโครงการในปี พ.ศ.2559 ภายใต้การทำงานของคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนในการร่วมกันพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่และรายได้ของชุมชนในชนบททั่วประเทศ และมุ่งผลักดันให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าผ้าขาวม้าทอมือ เพื่อช่วยเพิ่มรายได้และพัฒนาทักษะอาชีพให้กับชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทั่วประเทศ
โครงการ ผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถศิลป์ไทย ก้าวสู่ปีที่ 6 ภายใต้แนวคิด ผ้าขาวม้าพาสุข สืบสานหัตถกรรมพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน

สำหรับ โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถศิลป์ไทย เริ่มต้นโดย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) นำโดย คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และประธานคณะกรรมการโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย ที่เป็นผู้ริเริ่มและหัวเรือหลักในการดำเนินงานมาตั้งแต่เริ่มโครงการ อีกทั้งยังเป็นผู้สนับสนุนหลักในโครงการเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ให้ชุมชนสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง สร้างความภาคภูมิใจในการสืบสานและต่อยอดหัตถกรรมพื้นบ้าน

ในปี 2565 นี้ โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถศิลป์ไทย ภายใต้งาน "ผ้าขาวม้าทอใจ 2565" จัดขึ้นภายแนวคิด "ผ้าขาวม้าพาสุข" ที่สื่อถึงความสุข สุขใจทั้งผู้ผลิต ผู้ใช้ และเกิดความสุขแก่สังคมที่สามารถนำผ้าขาวม้าทอมือไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย มีกำหนดจัดขึ้นระหว่าง 26 กันยายน - 2 ตุลาคม 2565 ภายใต้งาน Sustainability Expo 2022 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยเป็นการรวมพลังของทุกภาคส่วน ให้พัฒนาเป็นทีมผ้าขาวม้าที่แข็งแกร่งและยั่งยืนเป็นหนึ่งเดียว โดยภายในงานยังมีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ Creative Young Designers เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือ ด้วยการรวมพลังคนรุ่นใหม่ มาร่วมสร้างสรรค์อัตลักษณ์ผ้าขาวม้าทอมือ โดยมีการบูรณาการความรู้ระหว่างคณะด้านการออกแบบและคณะด้านการบริหารธุรกิจในการช่วยพัฒนาผ้าขาวม้า ซึ่งได้ต่อยอดขยายพื้นที่การทำงานเป็น 17 ชุมชนทั่วประเทศ ร่วมกับ 16 มหาวิทยาลัยในโครงการ Eisa (Education Institute Support Activity) และ 3 สโมสรฟุตบอล เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือกับกลุ่มนักศึกษา ซึ่งนอกจากต่อยอดความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า ของใช้ ของที่ระลึก ของชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือให้มีความทันสมัยแล้ว ยังมุ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาด้านการตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย

คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และประธานคณะกรรมการโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย กล่าวว่า "งาน "ผ้าขาวม้าทอใจ" ครั้งนี้นับเป็นการจัดงานต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 และในปีนี้มีความพิเศษกว่าปีก่อนๆ โดยกิจกรรมของเราได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของงาน Sustainability Expo 2022 ซึ่งเป็นมหกรรมด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับนานาชาติ ทั้งนี้ เป็นเพราะวัตถุประสงค์หลักของโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย และ "งานผ้าขาวม้าทอใจ"คือการสร้างรายได้และการพัฒนาทักษะต่างๆให้กับชุมชนผู้ผลิต เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความผาสุกให้กับชุมชน อันนับเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในมิติด้านสังคม

นับตั้งแต่ริเริ่มโครงการเมื่อปี 2559 เราได้เห็นพัฒนาการของสินค้าผ้าขาวม้าทอมือ และความร่วมมือในรูปแบบต่างๆมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการด้านลายผ้า รูปแบบสินค้า คุณภาพการตัดเย็บ ตลอดจนการทำการตลาดผ่านช่องทางต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้น เราได้เห็นความสนใจจากคนรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็น "ทายาทผ้าขาวม้า" ซึ่งเป็นลูกหลานของคนในชุมชนผู้ผลิต ที่หันกลับมายึดถือการผลิตสินค้าผ้าขาวม้าทอมือเป็นอาชีพ ความสนใจจากน้องๆนักศึกษาในโครงการ Creative Young Designer จากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ที่หันมาเลือกใช้ผ้าขาวม้าเป็นวัตถุดิบในการออกแบบ รวมไปถึงสโมรสรฟุตบอลหลายแห่งที่ได้ร่วมสนับสนุนนำผ้าขาวม้าทอมือมาประกอบเป็นสินค้าที่ระลึกของสโมสร แต่สิ่งที่น่าประทับใจที่สุดคงจะเป็นการนำผ้าขาวม้าทอมือของชุมชนในเครือข่ายของเราเข้าเป็นส่วนประกอบในชิ้นงานศิลปะขนาดยักษ์ที่ติดตั้งอยู่ในบริเวณโถงชั้น LG ของศูนย์ประชุมแห่งนี้ งานนี้เป็นผลงานศิลปะจากคุณเพ็ญจันทร์ วิญญรัตน์ หนึ่งในกรรมการโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทยนับตั้งแต่วันเริ่มโครงการ เรียกได้ว่า ชิ้นงานศิลปะนี้เป็นการยกระดับผ้าขาวม้าทอมือให้อยู่ในสายตาชาวโลกและผู้นำประเทศต่างๆที่จะเข้ามาร่วมงานในการประชุมระดับนานาชาติ ณ ศูนย์ประชุมแห่งนี้ อย่างถาวร

โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทยประสบความสำเร็จใน 5 มิติหลัก คือ 1) การสร้างรายได้ให้กับชุมชนผ้าขาวม้าทอมือ 2) การสร้างเครือข่ายภาควิชาการและภาคเอกชนที่พร้อมสนับสนุนชุมชนในการสั่งซื้อ ให้ความรู้เชิงธุรกิจ และการออกแบบ 3) การสร้างอัตลักษณ์ของชุมชน 4) การสานต่องานผลิตและแปรรูปผ้าขาวม้าสู่คนรุ่นใหม่ และ 5) การสร้างห่วงโซ่การผลิตผ้าขาวม้าทอมือที่เข้มแข็ง มีความเกื้อกูลกันระหว่างชุมชน หากมองในมิติเศรษฐกิจ โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย มีส่วนสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าผ้าขาวม้าทอมือ จนสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนที่เข้าร่วมโครงการมาอย่างต่อเนื่องนับเป็นจำนวนกว่า 185 ล้านบาท ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจในชุมชนมีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ สำหรับพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย ประจำปี 2565 นี้นับเป็นอีกก้าวสำคัญในการขยายเครือข่ายความร่วมมือ จากจุดเริ่มต้นเพียง 2 ชุมชน 2 มหาวิทยาลัย ในปี 2562 ไปสู่ 17 ชุมชน 16 สถาบันการศึกษา ในปีนี้

ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เครือข่ายทุกภาคส่วนที่ได้ร่วมแรงร่วมใจร่วมงานกันมาในโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทยตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา จะยังคงร่วมกันถักทอแรงบันดาลใจในการพัฒนาผ้าขาวไทยต่อไปในอนาคต ซึ่งจะไม่เป็นเพียงการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น แต่จะยังช่วยสร้างระบบเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง พึ่งพาตัวเองได้ และที่สำคัญที่สุด คือ การทอใจคนในชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทุกแห่งให้มีความรักสามัคคีและภูมิใจในคุณค่าภูมิปัญญาของตนเอง

คุณต้องใจ ธนะชานันท์ ผู้จัดการโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย กล่าวว่า ""โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย" เป็นโครงการที่ริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2559 ภายใต้การดำเนินงานของคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ตลอดเวลาเกือบ 6 ปีที่ผ่านมา โครงการนี้ได้รับความร่วมมืออันดียิ่งจากชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน ตลอดจนสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในการร่วมกันพัฒนาคุณภาพและการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าทอมือให้มีความทันสมัย ตรงกับความต้องการของตลาด และยังเป็นการสืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไป

ในช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าประเทศไทยจะประสบวิกฤตการณ์ COVID-19 เช่นเดียวกับประเทศต่างๆทั่วโลก แต่โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทยก็ยังคงมีการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยได้ปรับวิธีการทำงานให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าจะเป็นการประกวดลายผ้า "นวอัตลักษณ์" การจัดประกวดภาพถ่ายทางอินสตาแกรมภายใต้หัวข้อ "ผ้าขาวม้าพาสุข" การทำงานร่วมกันระหว่างนักศึกษาและชุมชนภายใต้กิจกรรม Creative Young Designer และการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำหนังสือ "ผ้าขาวม้า นวอัตลักษณ์ วิถีใหม่แห่งลวดลายตาราง" อันเป็นผลให้คณะทำงานสามารถสร้างสรรผลงานโครงการออกมาได้แม้ในช่วง Lock down และมีการขยายเครือข่ายการทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษาสู่ 13 สถาบัน โดยจับคู่ทำงานร่วมกับ 15 ชุมชนผู้ผลิต และ 3 สโมสรฟุตบอล

การจัดงาน "ผ้าขาวม้าทอใจ" ในวันนี้ มีวัตถุประสงค์ในการรวบรวมผลงานของโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทยในช่วงปี 2564 และ 2565 เพื่อนำออกสู่สายตาประชาชน ทั้งในรูปแบบการจัดแสดงแฟชั่นโชว์ การแสดงสินค้า และการเผยแพร่ข้อมูลผ่านหนังสือ "ผ้าขาวม้า นวอัตลักษณ์ วิถีใหม่แห่งลวดลายตาราง" นอกจากนั้น ยังมีพิธีลงนามในข้อตกลงความร่วมมือระหว่างโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย กับสถาบันการศึกษา ชุมชนผู้ผลิต และ สโมสรฟุตบอลต่างๆ เพื่อสร้างความร่วมมือในกิจกรรม Creative Young Designer สำหรับปีการศึกษา 2565-2566

ในฐานะตัวแทนของคณะทำงานโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย ดิฉันขอขอบพระคุณผู้สนับสนุนหลักของโครงการฯ ทั้ง บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย สถาบันการศึกษาในเครือข่าย EISA และ ภาคีทุกภาคส่วน ที่ได้ให้ความสนับสนุนโครงการนี้มาตลอดระยะเวลา 6 ปี ส่งผลให้โครงการฯ สามารถดำเนินงานมาได้อย่างต่อเนื่อง ดิฉันขอให้คำมั่นว่า โครงการของเราจะยังคงทำงานร่วมกับชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือต่อไป และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการของเราจะยังได้รับการสนับสนุนจากทุกท่านต่อไปในอนาคต เพื่อให้เราสามารถบรรลุถึงเป้าประสงค์หลัก คือ การพัฒนาผ้าขาวม้าทอมือของไทยเพื่อสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับชุมชนผู้ผลิตของเราทั่วประเทศ"

ขอเชิญเลือกช้อปผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าทอมือของชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าส่งตรงจาก ร้อยเอ็ด ลำปาง สุพรรณบุรี สุโขทัย เชียงใหม่ ปทุมธานี นนทบุรี ราชบุรี หนองบัวลำภู นครราชสีมา บึงกาฬ อุดรธานี ในโซน Sustainable Marketplace ชั้น LG โซน B - Sufficient Living ชมการจัดแสดงผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าจากสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ ในชั้น G โซน Better Me ระหว่างวันที่ 26 กันยายน - 2 ตุลาคม 2565 ภายใต้งาน Sustainability Expo 2022 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น. ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook.com/PakaomaThailand

ที่มา: ไทยเบฟเวอเรจ

โครงการ ผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถศิลป์ไทย ก้าวสู่ปีที่ 6 ภายใต้แนวคิด ผ้าขาวม้าพาสุข สืบสานหัตถกรรมพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ