เภสัชกรปรีชา พันธุ์ติเวช นายกสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย (THAIMED) ในฐานะพันธมิตรร่วมจัดงานฯ กล่าวว่า "ตลาดเครื่องมือแพทย์ของโลกเติบโตเฉลี่ยปีละ 6.1% คาดว่า ในปี 2570 จะมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 7.44 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ตลาดเครื่องมือแพทย์ของไทย คาดว่าจะมีมูลค่ากว่า 3.38 พันล้านเหรียญ หรือกว่าแสนล้านบาท ในปี 2570 มีอัตราเติบโตเฉลี่ย 8.1% ต่อปี (ปี 2562-2570) โดยในปี 2564 ประเทศไทยมีมูลค่าส่งออกเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์เติบโตอย่างก้าวกระโดดเป็นอันดับที่ 19 ของโลก โดยมีอานิสงค์จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นปัจจัยสนับสนุน นอกจากนี้ นโยบายการยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ด้วย BCG Model ของรัฐบาลยังเป็นปัจจัยท้าทายทางธุรกิจที่สำคัญ ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการเพิ่มการจัดซื้อเครื่องมือแพทย์จากบัญชีนวัตกรรมของไทย อย่างน้อย 30% ของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัยนวัตกรรม และการผลิตในประเทศ หรือสร้างรายได้และผลบวกทางเศรษฐกิจ ประมาณ 10,000 ล้านบาท ภายใน 5 ปี (ปี 2564-2568) ซึ่งจะช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการและผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ส่วนใหญ่ของไทย ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในการเข้าถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่มีคุณภาพดีและได้มาตรฐานสากล เพื่อยกระดับประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็น Medical Hub of Asia"
สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย จึงได้ร่วมมือกับอินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ และอิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ ในการจัดงาน Medlab Asia & Asia Health 2022 ซึ่งเป็นงานแสดงนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ และห้องปฎิบัติการทางการแพทย์ชั้นนำจากทั่วโลก ที่ยกเอานวัตกรรม เทคโนโลยี และความรู้ที่จะเปลี่ยนอนาคตการวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์มากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติมาให้ความรู้ เพื่ออัพเดทข้อมูลต่างๆ และเป็นพื้นที่พบปะของผู้ที่อยู่ในแวดวงการแพทย์ได้มีโอกาสมาร่วมชมงานนี้ ซึ่งได้ขนทัพเครื่องมือแพทย์ และเทคโนโลยีใหม่ๆ จากทั่วโลกมาจัดแสดงไว้ในงานเดียว ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของฟรอส แอนด์ ซัลลิแวน บริษัทวิจัยชั้นนำระดับโลก ที่ระบุว่า การวินิจฉัยโรคในยุคต่อไปจะมุ่งไปที่การวินิจฉัยในระดับโมเลกุลที่ทันสมัย โดยใช้เครื่องมือแพทย์ที่มีขนาดกะทัดรัดยิ่งขึ้น สำหรับการตรวจหาโรคเพื่อช่วยให้แพทย์มีความสามารถในการตัดสินใจในการรักษา
"ตลาดเครื่องมือแพทย์ที่วินิจฉัยในระดับโมเลกุลนี้จะมีดีมานด์ที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค อาทิ กลุ่มโรคของผู้สูงวัย กลุ่มโรค NCDs โดยเฉพาะกลุ่มโรคมะเร็งที่พบผู้ป่วยใหม่ในภูมิภาค APAC ถึง 9.5 ล้านราย ในปี 2563 ซึ่งข้อมูลนี้ได้กระตุ้นให้บริษัทเทคโนโลยีทางการแพทย์ชั้นนำของ APAC เกิดความร่วมมือลงทุนเพื่อพัฒนาเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัยในโซลูชั่นใหม่ๆ เพื่อใช้สำหรับการวินิจฉัยระดับโมเลกุลในการตรวจรักษาที่นำเสนอผลลัพธ์ในเวลาน้อยที่สุด มีความแม่นยำ พร้อมสามารถระบุไบโอมาร์คเกอร์อื่นๆ ได้ ทำให้ผู้บริการด้านการแพทย์ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจได้โดยการนำเทคโนโลยีการแพทย์สมัยใหม่ อาทิ การแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine) เวชศาสตร์ฟื้นฟูสภาวะเสื่อมมาให้บริการรักษาพยาบาลที่มีความซับซ้อน และให้ผลการรักษาที่ดีและมีประสิทธิภาพ มากขึ้น อีกทั้งมีคุณภาพการรักษาเทียบเท่าสากล" เภสัชกรปรีชา กล่าว
ทั้งนี้ งาน Medlab Asia & Asia Health 2022 จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 19-21 ตุลาคมนี้ ณ ฮอลล์ 5-6 อิมแพค เมืองทองธานี โดยมีบริษัทเครื่องมือแพทย์ชั้นนำกว่า 300 รายจาก 24 ประเทศ ร่วมแสดงสินค้านวัตกรรม และองค์ความรู้ด้านการแพทย์มาแลกเปลี่ยนกัน รวมถึงยังเป็นการสร้างเครือข่ายและเวทีเจรจาธุรกิจที่ดีที่สุดสำหรับผู้ประกอบการ และบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์อีกด้วย พร้อมเปิดให้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ที่ https://www.medlabasia.com
ที่มา: อินฟอร์ม่า มาร์เก็ตส์