"ไต้หวัน อินโนเทค เอ็กซ์โป" เวทีแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีระดับแนวหน้าของเอเชีย มุ่งส่งเสริมโซลูชันแห่งอนาคตและเศรษฐกิจหมุนเวียน

พุธ ๑๒ ตุลาคม ๒๐๒๒ ๐๘:๑๕
ไต้หวัน อินโนเทค เอ็กซ์โป ประจำปี 2565 (Taiwan Innotech Expo หรือ TIE 2022) คือเวทีรวบรวมผลลัพธ์ที่น่าประทับใจจากความพยายามด้านการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องของภาคอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษาของไต้หวัน โดยนิทรรศการออนไลน์จะเปิดฉากขึ้นในวันที่ 11 ตุลาคม และนิทรรศการในสถานที่จริงจะจัดขึ้นที่ฮอลล์ 1 ศูนย์การประชุมไทเปเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ในวันที่ 13 ตุลาคม

พาวิลเลียนหลักในงาน TIE 2022 ประกอบด้วยพาวิลเลียนนำร่องนวัตกรรม (Innovation Pilot), พาวิลเลียนเทคโนโลยีแห่งอนาคต (Future Tech) และพาวิลเลียนความยั่งยืน (Sustainability) โดยผู้จัดแสดงประกอบด้วยองค์กร 69 แห่ง จาก 18 ประเทศ และจะมีการจัดแสดงนวัตกรรมเทคโนโลยีมากกว่า 600 รายการ นอกจากนั้นยังมีโซนพิเศษที่เปิดให้บริษัทเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ของไต้หวัน เช่น ทีเอสเอ็มซี (TSMC), ยูเอ็มซี (UMC) และเอเอสอี (ASE) ได้มาแสดงความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา ซึ่งมีความสำคัญต่อการปกป้องผลประโยชน์เชิงกลยุทธ์ของไต้หวัน และด้วยวิธีการนำเสนอที่หลากหลาย งานนี้จะเผยแพร่ความสำเร็จทางเทคโนโลยีล่าสุดของไต้หวันต่อสาธารณชนในวงกว้าง

นำร่องนวัตกรรม: นำเสนอการใช้งานเซมิคอนดักเตอร์ล้ำสมัย

สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมของไต้หวันได้เชิญบริษัทเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่หลายแห่งของไต้หวันมาร่วมสาธิตความสามารถด้านการผลิตระดับแนวหน้าของห่วงโซ่อุปทานเซมิคอนดักเตอร์ที่ครอบคลุมของไต้หวัน โดยผลิตภัณฑ์ที่จะจัดแสดงมีทั้งชิป Wi-Fi 7 ของมีเดียเทค (MediaTek), โซลูชันบรรจุภัณฑ์ชิปขั้นสูงของเอเอสอี และวงจรรวมความละเอียดสูงเทคโนโลยี AI ของเรียลเทค (Realtek) ซึ่งรายการสุดท้ายได้รับรางวัลเบสต์ ชอยส์ อวอร์ด จากงานคอมพิวเท็กซ์ ประจำปี 2565 (COMPUTEX 2022 Best Choice Award)

สภาพัฒนาแห่งชาติของไต้หวันจะเข้าร่วมงานเพื่อแนะนำโซลูชันเทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้เซมิคอนดักเตอร์ที่ผ่านการรับรองเป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งสามารถตรวจจับการติดเชื้อไวรัสได้ภายใน 30 นาทีด้วยอัตราความแม่นยำสูงกว่า 95% และด้วยประสิทธิภาพที่เทียบเท่าการตรวจด้วยเทคนิคพีซีอาร์ (PCR) โซลูชันนี้จึงได้รับอนุญาตให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินจากกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการของไต้หวันเมื่อปลายปี 2564

นอกจากเซมิคอนดักเตอร์แล้ว พาวิลเลียนนำร่องนวัตกรรมยังเตรียมนำเสนอเทคโนโลยีลดการปล่อยมลพิษอีกมากมาย เพื่อปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมในไต้หวันให้สอดคล้องกับแนวโน้มการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ทั่วโลก โดยสถาบันวิจัยเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม สังกัดกรมเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้พัฒนาโซลูชันดิจิทัลสำหรับการลดคาร์บอน ซึ่งบริษัทหลายแห่งในไต้หวันได้นำไปใช้แล้ว และสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิตได้ 4.07% นอกจากนี้ สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติชุงซาน จะเปิดตัวสีป้องกันเพรียงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยไมโครแคปซูลและนาโนแคปซูล ผลิตโดยใช้วิธีการพอลิเมอไรเซชันที่ปราศจากอิมัลซิไฟเออร์ นวัตกรรมสีตัวนี้มีความสำคัญต่อการทำงานของเรือเดินทะเล เพราะช่วยป้องกันการกัดกร่อนของพื้นผิวและช่วยประหยัดต้นทุนเชื้อเพลิง นอกจากนั้นยังมีโซลูชันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกมากมายที่จัดแสดงในงาน เช่น ช้อนส้อมและจานที่ทำจากชานอ้อยและเส้นใยพืชเหลือใช้ ซึ่งได้รับการจดสิทธิบัตรและรับรองในหลายประเทศ และขณะนี้มีวางจำหน่ายในอเมริกาเหนือและยุโรปแล้ว

การพัฒนาที่ยั่งยืน: บริษัทไต้หวันแสดงความเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล

"ความยั่งยืน" เคยเป็นเพียงแค่สโลแกน แต่ทุกวันนี้ความยั่งยืนได้รวมอยู่ในแนวปฏิบัติขององค์กรและกลายเป็นแรงผลักดันที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมหลัก ๆ เช่น ยานยนต์ การก่อสร้าง และเซมิคอนดักเตอร์ แนวคิดนี้ได้หยั่งรากลึกในธุรกิจจำนวนมาก บริษัทในไต้หวันจึงเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วเพื่อเข้าร่วมในแนวหน้าของการปฏิวัติระดับโลกนี้ รวมทั้งสนับสนุนโรดแมปคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของรัฐบาล ในปีนี้ พาวิลเลียนความยั่งยืนจะมุ่งเน้นไปที่การลดการปล่อยคาร์บอน การดักจับคาร์บอน พลังงานสีเขียว และการรีไซเคิล โดยอุตสาหกรรมของไต้หวันจะใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมมากมายในภาคส่วนนี้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ทีมวิจัยภายใต้การดูแลของหน่วยงานรัฐบาลได้พัฒนาเทคโนโลยีระดับโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก ตัวอย่างเทคโนโลยีที่จะนำมาจัดแสดงในงานคือ ระบบควบคุมและรวบรวมข้อมูลสำหรับการกู้คืนระบบจ่ายไฟฟ้าในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากไฟฟ้าดับ รวมถึงโซลูชัน AI สำหรับตรวจจับการรั่วไหลจากท่อน้ำ และแพลตฟอร์มพลังงานไฮโดรเจน ส่วนอีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญคือโซลูชันเพิ่มประสิทธิภาพทางการเกษตร เช่น กระปุกเกียร์สำหรับรถไถตีนตะขาบพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ อุปกรณ์สวมใส่แบบมัลติฟังก์ชันเพื่อช่วยในการเก็บเกี่ยว และกระบวนการเปลี่ยนกากกาแฟเป็นสารเติมแต่งอาหารสัตว์ นอกจากนั้นยังมีการนำเสนอพลาสติกความแข็งแรงสูงสำหรับทำกรอบแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งวัสดุที่ทนทานนี้มอบประสิทธิภาพที่เชื่อถือได้ภายใต้สภาพอากาศเลวร้าย โดยสรุปแล้ว พาวิลเลียนความยั่งยืนจะให้มุมมองที่สมบูรณ์เกี่ยวกับความมุ่งมั่นของไต้หวันในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG)

เทคโนโลยีแห่งอนาคต: ทีมผู้เข้าแข่งขันจากทั่วโลกร่วมชิงรางวัล TIE Award ครั้งแรก

พาวิลเลียนเทคโนโลยีแห่งอนาคตจะจัดแสดงเทคโนโลยีที่มองการณ์ไกลมากที่สุดในบรรดาพาวิลเลียนทั้งหมด นอกจากนั้นจะจัดพิธีมอบรางวัลเทค อินโนเวชัน เอ็กเซลเลนซ์ อวอร์ด (Tech Innovation Excellence Award หรือ TIE Award) เป็นครั้งแรก โดยบรรดาผู้นำในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของไต้หวันได้รับเชิญให้มาตัดสินผลงานที่ดีที่สุดจากทีมสตาร์ทอัพ บริษัท และสถาบันวิจัยจากนานาชาติในส่วนของเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์และการใช้งาน ทีมผู้ชนะทั้งหมด 11 ทีมจากไต้หวันและต่างชาติจะนำเสนอโซลูชันของตนเองและสร้างเครือข่ายร่วมกับบริษัทอื่น ๆ ในไต้หวันภายในงาน

พาวิลเลียนนี้จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับนานาชาติซึ่งเป็นที่จับตาหลายหัวข้อ เช่น "การคงความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ตลอดทศวรรษหน้า" "เทคโนโลยีเพื่อการบรรลุเป้าหมายคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593" และ "นวัตกรรมที่กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมกีฬา" โดยวิทยากรจากบริษัทชั้นนำทั้งในไต้หวันและต่างชาติได้รับเชิญให้มาเสวนาเกี่ยวกับแนวโน้มอุตสาหกรรมใหม่ ๆ

การรวมตัวของเทคโนโลยีล้ำสมัย

ภายในงานจะได้เห็นการรวมตัวของยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีจากประเทศต่าง ๆ รวมถึงสหรัฐอเมริกา เยอรมนี ญี่ปุ่น และไทย โดยบริษัทข้ามชาติและสถาบันวิจัยชื่อดังที่จะเข้าร่วมงานประกอบด้วย ควอลคอมม์ (Qualcomm), ซิสโก้ (Cisco), ซีเมนส์ (Siemens), เมอร์ค (Merck), ฟูจิฟิล์ม (FUJIFILM), ฟานัค (Fanuc) รวมถึงสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติของไทย นอกจากนั้นยังมีการอภิปรายแบบคณะในหัวข้อ "เวทีนวัตกรรมเทคโนโลยี" (Innovative Technology Forum) ในวันที่ 14 ตุลาคม โดยจะมีผู้ดำเนินรายการและผู้ร่วมอภิปรายจากบริษัทชั้นนำ ได้แก่ กูเกิล (Google), เอชพี (HP), เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (Delta Electronics), ไชน่า สตีล คอร์ปอเรชัน (China Steel Corporation), อินเทลเลคชวล พรอพเพอร์ตี อินโนเวชัน คอร์ปอเรชัน (Intellectual Property Innovation Corporation), สมาคมผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งไต้หวัน ฯลฯ ซึ่งจะมีการไลฟ์สดให้ผู้ชมทั่วโลกได้รับชมด้วย

งาน TIE 2022 มีจุดมุ่งหมายในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในไต้หวันผ่านการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนด้านการวิจัยและพัฒนา จึงเป็นงานที่ห้ามพลาดสำหรับผู้ที่สนใจในนวัตกรรมเทคโนโลยีและแนวโน้มอุตสาหกรรมล่าสุด

นิทรรศการในสถานที่จริง: ฮอลล์ 1 ศูนย์การประชุมไทเปเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ วันที่ 13-15 ตุลาคม 2565

นิทรรศการออนไลน์: https://tie.twtm.com.tw วันที่ 11-20 ตุลาคม 2565



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๗ เอ. เจ. พลาสท์ คว้า 2 รางวัลใหญ่ จาก SET Awards 2024 และได้รับการประเมิน CGR ดีเลิศ ระดับ 5 ดาว
๑๖:๑๓ เปิดมาตรการ พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ช่วยเหลือ SMEs ถูกน้ำท่วมในงาน มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 เชียงใหม่
๑๖:๓๙ หน้าหนาวมาเยือน! กรมอนามัยเตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม เด็กเล็ก-ผู้สูงอายุเสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
๑๖:๕๗ เปิดรันเวย์อวดผลงานไอเดียสร้างสรรค์ของ 5 ผู้ชนะรางวัลทุนการศึกษา จากโครงการ Jaspal Group Scholarship Program
๑๖:๐๘ กิฟฟารีน แนะนำไอเทมเด็ด กิฟฟารีน เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3 สำหรับช่วยดูแลมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
๑๕:๐๑ ไขข้อสงสัย สินเชื่อรถแลกเงินคืออะไร
๑๕:๓๘ ซื้อมอเตอร์ไซค์ ออกรถใหม่ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง
๑๕:๐๕ ยางขอบ 17 ยี่ห้อไหนดีที่ขับขี่สนุก และยังคงนุ่มสบาย
๑๔:๕๖ heygoody คว้าแชมป์จากเวที Thailand Influencer Awards 2024 ตอกย้ำความเข้าใจลูกค้า Introvert
๑๔:๐๓ เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 4 รางวัลใหญ่ระดับสากล ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และเป็นองค์กรสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ