ด้วยระยะเวลา 3 วันพร้อมด้วยวิทยากรจากนานาประเทศกว่า 500 คนและผู้แทนระดับระหว่างประเทศกว่า 6,000 คน งานประชุมดังกล่าวนี้จะประกอบด้วยการประชุมสุดยอด 4 รายการและเซสชั่น 180 รายการโดยผู้นำระดับโลกจากภาคส่วนต่าง ๆ โดยวันแรกจะมีการอภิปรายโดยกลุ่มผู้ได้รับรางวัลโนเบลซึ่งจะพยายามหาทางออกที่ยั่งยืนในการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของประชากรโลก โดยคุณเรย์ ดาลิโอ (Ray Dalio) ผู้ก่อตั้งและประธานร่วมของบริดจ์วอเตอร์ แอสโซซิเอตส์ (Bridgewater Associates) จะพูดถึงความท้าทายที่เกิดขึ้นจากระเบียบโลกใหม่ ตลอดจนโอกาสที่เกิดขึ้น อย่างเช่น การสร้างระบบเศรษฐกิจที่ยกระดับคุณภาพชีวิตของพลเมืองทั่วโลก นอกจากนี้ ในวันแรกยังจะมีการจัดการประชุมสุดยอดรายการแรกของงานภายใต้ธีม "ความขัดแย้งระหว่างรุ่น" (Clash of Generations)
ระเบียบวาระสำหรับวันที่สองของงานจะประกอบด้วยการประชุมสุดยอดในหัวข้อ "เศรษฐกิจพลังงานใหม่" (The New Energy Economy) โดยจะมีวิทยากรมาร่วมแบ่งปันมุมมองเชิงลึกเกี่ยวกับสภาพการณ์ปัจจุบันในภาคการเงินและเศรษฐกิจโลก โดยในบรรดาวิทยากรชื่อดังหลายท่าน คุณมาซาฮิโกะ คาโตะ (Masahiko Kato) ซีอีโอและประธานธนาคารมิซูโฮ (Mizuho Bank) จะนำเสนอเกี่ยวกับบทบาทของญี่ปุ่นในการจัดหาเงินทุนในด้านพลังงานยั่งยืน
วันที่สามซึ่งเป็นวันสุดท้ายของงานจะมีการประชุมสุดยอด 2 รายการเกี่ยวกับบทบาทที่เพิ่มขึ้นของคริปโทฯ และอนาคตของแอฟริกา นอกจากนี้การประชุมใหญ่เกี่ยวกับจีนจะประกอบด้วยวิทยากรอย่างเช่น คุณนิโคลัส อากูซิน (Nicolas Aguzin) ซีอีโอตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง (Hong Kong Exchanges and Clearing) และคุณเฟ่ง ฮง (Feng Hong) ผู้ร่วมก่อตั้งเสี่ยวหมี่ (Xiaomi) ซึ่งจะอภิปรายว่าเพราะเหตุใดจีนจึงเป็นพันธมิตรทางการลงทุนที่สำคัญสำหรับตะวันออกกลาง
นอกจากนี้ เซสชั่นเกี่ยวกับอนาคตของ ESG จะประกอบด้วยผู้มีบทบาทสำคัญระดับแนวหน้าในอุตสาหกรรม อย่างเช่น คุณจอห์น ควินน์ (John Quinn) ประธานและหุ้นส่วนผู้ร่วมก่อตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ควินน์ เอ็มมานูเอล เออร์คูฮาร์ต แอนด์ ซัลลิแวน (Quinn Emanuel Urquhart & Sullivan LLP), คุณรีเบ็คก้า มินเกลา (Rebecca Minguela) ซีอีโอและผู้ก่อตั้งคลาริตี เอไอ (Clarity AI), คุณจูเลีย ฮ็อกเก็ตต์ (Julia Hoggett) ซีอีโอตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน (London Stock Exchange Group), คุณลอร่า ชา (Laura Cha) ประธานตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง และวิศวกรคาลิด อับดุลเลาะห์ อัลฮัสซาน (Eng. Khalid Abdullah Al-Hussan) ซีอีโอตาดาวุล กรุ๊ป (Tadawul Group)
วิทยากรที่โดดเด่นท่านอื่น ๆ ภายในงานประชุมครั้งนี้ประกอบด้วย
- ฯพณฯ ยาซีร์ อัล รูไมยาน (H.E. Yasir Al Rumayyan) - ประธานกองทุนเพื่อการลงทุนสาธารณะแห่งซาอุดีอาระเบีย (PIF) และประธานซาอุดี อารามโค (Saudi Aramco)
- เจ้าฟ้าหญิงรีมา บินท์ บันดาร์ อัล ซาอุด (H.R.H. Princess Reema Bint Bandar Al Saud) - เอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบียประจำสหรัฐอเมริกา
- เจมี ไดมอน (Jamie Dimon) - ประธานและซีอีโอเจพีมอร์แกน เชส (JPMorgan Chase)
- เจนนิเฟอร์ จอห์นสัน (Jennifer Johnson) - ประธานและซีอีโอแฟรงก์ลิน เทมเพิลตัน (Franklin Templeton)
- เดวิด เอ็ม โซโลมอน (David M. Solomon) - ประธานและซีอีโอโกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs)
- แคเธอรีน แมคเกรอร์เกอร์ (Catherine MacGrergor) - ซีอีโอเอ็นจี (Engie)
- ซารา เมนเคอร์ (Sara Menker) - ผู้ก่อตั้งและซีอีโอโกร อินเทลลิเจนซ์ (Gro Intelligence)
- ฯพณฯ คาลดูน คาลิฟา อัล มูบารัค (H.E. Khaldoon Khalifa Al Mubarak) - ซีอีโอมูบาดาลา กรุ๊ป (Mubadala Group)
- สตีเวน เอ ชวาร์ซแมน (Stephen A. Schwarzman) - ซีอีโอแบล็คสโตน กรุ๊ป (Blackstone Group)
- จอห์น สตัดซินสกี (John Studzinski) (เครื่องราชอิสริยาภรณ์ CBE) - รองประธานพิมโค (PIMCO)
- เจ้าฟ้าชายอับดุลอาซิซ บิน ซัลมาน อัล ซาอุด (H.R.H. Prince Abdulaziz bin Salman Al Saud) - รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานซาอุดีอาระเบีย
- เฮนริก แอนเดอร์เซน (Henrick Andersen) - ประธานของเครือและซีอีโอเวสตัส วินด์ ซิสเต็ม (Vestas Wind System)
- ไมเคิล อาร์เธอร์ (Micheal Arthur) - ประธานโบอิง อินเตอร์เนชันแนล (Boeing International)
- แพทริซ เคน (Patrice Caine) - ประธานและซีอีโอเธลส์ กรุ๊ป (Thales Group)
- ลอร่า เอ็ม ชา (Laura M Cha) - ประธานตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง
- คริสตีน ไซ (Christine Tsai) - หุ้นส่วนผู้ก่อตั้งและซีอีโอ 500 โกลบอล (500 Global)
- แบร์รี สเติร์นลิคท์ (Barry Sternlicht) - ผู้ร่วมก่อตั้ง ประธาน และซีอีโอสตาร์วูด แคปิตอล กรุ๊ป (Starwood Capital Group)
- รื่นวดี สุวรรณมงคล - เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- ชีมารา วิครามานายาเคอ (Shemara Wikramanayake) - ซีอีโอแมคควารี กรุ๊ป โอเชียเนีย (Macquarie Group Oceania)
คุณริชาร์ด อัตเทียส (Richard Attias) ซีอีโอสถาบัน FII ให้ความเห็นว่า "เส้นทางของเราสู่ระเบียบโลกใหม่เต็มไปด้วยความท้าทายที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้จังหวะเวลาและธีมในปีนี้ของ FII มีความสำคัญและมีความเกี่ยวข้องอย่างสูงสุด ในงานประชุมครั้งที่ 6 นี้ FII มุ่งเน้นการลงทุนในมนุษยชาติ ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดการดำเนินการอันจำเป็นอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เกิดภาวะอุปทานหยุดชะงัก, ภาวะเงินเฟ้อ, วิกฤตพลังงานระดับโลก และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์กำลังสร้างความท้าทายอย่างลึกซึ้ง"
งานประชุม FII ครั้งที่ 6 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-27 ตุลาคมในกรุงริยาดภายใต้ธีม "ลงทุนในมนุษยชาติ: เสริมสร้างระเบียบโลกใหม่" (Investing in Humanity: Enabling a New Global Order) ภายในงานระยะเวลา 3 วันนี้ ผู้นำในอุตสาหกรรม, ซีอีโอ, ผู้กำหนดนโยบาย, ผู้นำรุ่นใหม่ และนักลงทุน จะประชุมกันเพื่อหารือเกี่ยวกับบทบาทของธุรกิจและการลงทุนในอนาคตของเทคโนโลยี, การดูแลสุขภาพ, ความมั่นคงทางอาหาร, สิ่งแวดล้อม, ภูมิรัฐศาสตร์, ความปลอดภัยทางไซเบอร์, กีฬา และอื่น ๆ อีกมากมาย
หมายเหตุสำหรับบรรณาธิกร
ดูเอกสารสรุปข้อมูลของงานประชุมนี้ได้ที่ https://fii-institute.org/wp-content/uploads/2022/07/FactSheet_Enabiling-a-New-Global-Order-6th-4.pdf
เกี่ยวกับสถาบัน FII
สถาบันโครงการลงทุนเพื่ออนาคตหรือ FII คือมูลนิธิไม่แสวงหาผลกำไรระดับโลกแห่งใหม่ที่มีเครื่องมือการลงทุน (Investment arm) และมีเป้าหมายเดียวคือการสร้างอิทธิพลเชิงบวกต่อมนุษยชาติ เราดำเนินงานในระดับโลกโดยให้ความสำคัญกับทุกกลุ่มคนและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) เราส่งเสริมผู้มีไอเดียดี ๆ จากทั่วโลกและเปลี่ยนไอเดียเหล่านั้นให้เป็นโซลูชันที่ใช้งานได้จริงใน 5 ส่วนสำคัญด้วยกัน ได้แก่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และวิทยาการหุ่นยนต์, การศึกษา, การดูแลสุขภาพ และความยั่งยืน
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1811613/FII_Institute_Logo.jpg