กรณีศึกษาที่ระบุในเอกสารดังกล่าวได้รับการคัดเลือกจากกว่า 50 โซลูชันที่จัดการกับความท้าทายด้านการอนุรักษ์ที่สำคัญ 6 ประการ ซึ่งความท้าทายเหล่านี้รวมถึงการจัดการพื้นที่คุ้มครอง การเฝ้าติดตามสายพันธุ์ การปลูกฝังการมีส่วนร่วมของชุมชน และการจัดหาเงินทุนในการดำเนินการอนุรักษ์
เจมส์ ฮาร์ดคาสเซิล (James Hardcastle) หัวหน้าฝ่ายพื้นที่คุ้มครองและอนุรักษ์ ไอยูซีเอ็น กล่าวว่า "การใช้เทคโนโลยีมีทิศทางการเติบโตที่ชัดเจนและได้รับการยอมรับจากชุมชนอนุรักษ์ รวมถึงการพัฒนาและสร้างวิธีการใหม่ ๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้ได้ ซึ่งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมจะช่วยให้มั่นใจได้ว่า จะได้รับประโยชน์อย่างยั่งยืนมากขึ้นจากการประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการดำเนินการอนุรักษ์ที่มีประสิทธิภาพและยุติธรรม"
โครงการที่กำลังดำเนินการในเม็กซิโกและจีนเป็น 2 กรณีทั่วไปที่ระบุอยู่ในรายงานดังกล่าว โดยในคาบสมุทรยูคาทานของเม็กซิโกได้มีการปรับใช้โซลูชันเพื่อตรวจสอบจำนวนเสือจากัวร์และเหยื่อ ผ่านระบบเครือข่ายกับดักกล้องที่มีการตรวจสอบเสียง พร้อมด้วยอัลกอริทึมเอไอที่ได้รับการฝึกฝนเพื่อตรวจจับและระบุเสือจากัวร์แต่ละตัว ข้อมูลที่ได้จะนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลกระทบที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีต่อระบบนิเวศที่สำคัญบนชายฝั่งทางเหนือของคาบสมุทรยูคาทาน และประเด็นสำคัญของโครงการนี้คือการมีส่วนร่วมของชุมชนในวงจรโครงการทั้งหมดเพื่อเพิ่มผลลัพธ์โดยรวม
ขณะเดียวกัน ระบบป้องกันอัคคีภัยอัจฉริยะในจีนที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องแหล่งที่อยู่อาศัยของแพนด้ายักษ์ได้ถูกนำมาใช้ในสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงเขตอนุรักษ์ธรรมชาติถังเจียเหอ (Tangjiahe) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในรายชื่อพื้นที่สีเขียวของไอยูซีเอ็น โดยในถิ่นที่อยู่ของแพนด้าในเสฉวน ภาพถ่ายดาวเทียมได้รับการวิเคราะห์แบบเรียลไทม์เพื่อตรวจจับไฟป่าที่อาจเกิดขึ้น ทำให้ตรวจสอบความเสี่ยงได้อย่างรวดเร็วและมีการส่งแจ้งเตือนไปยังเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินทันที ซึ่งระบบดังกล่าวส่งผลให้ไฟป่าร้ายแรงลดลง 71% ในปี 2564
เอกสารดังกล่าวได้รวมคำอธิบายปัจจัยความสำเร็จของแต่ละกรณีศึกษาอย่างละเอียด เพื่อสนับสนุนการนำไปใช้และการจำลองแบบของโซลูชันที่ใช้เทคโนโลยี นอกจากนี้ยังให้ทั้งกรอบงานของสถาปัตยกรรมโซลูชันทางเทคโนโลยีและรายการตรวจสอบ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้โซลูชันเทคโนโลยีรายใหม่มั่นใจถึงความเหมาะสมของการนำมาใช้ และเอาชนะความท้าทายของการอนุรักษ์ได้
ขณะเดียวกัน เอกสารฉบับนี้ยังเน้นย้ำถึงช่องว่างที่มีอยู่ในการทำความเข้าใจว่าเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่าและผู้คนอย่างไร และเน้นย้ำถึงความจำเป็นของความโปร่งใส ความครอบคลุม และความรับผิดชอบในการใช้โซลูชันเทคโนโลยี
แคทเธอรีน ตู่ (Catherine Du) หัวหน้าโครงการ TECH4ALL ของหัวเว่ย กล่าวว่า "เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นปัจจัยสำคัญในการอนุรักษ์ธรรมชาติ และเราเชื่อว่าประสิทธิภาพและผลกระทบของการอนุรักษ์ธรรมชาติจะได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ด้วยการใช้เทคโนโลยีและความร่วมมือจากหลายภาคส่วน"
โครงการ Tech4Nature ที่เปิดตัวโดยไอยูซีเอ็นและหัวเว่ยกำลังพัฒนาโซลูชันดิจิทัลเพื่อนำร่องใน 5 ประเทศหลัก ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ สเปน มอริเชียส เม็กซิโก และจีน โดยโครงการนี้มีเป้าหมายที่จะครอบคลุมพื้นที่คุ้มครองมากกว่า 300 แห่งทั่วโลกภายในปี 2566 และประเมินความสำเร็จในการอนุรักษ์ผ่านมาตรฐานรายชื่อพื้นที่สีเขียวไอยูซีเอ็น (IUCN Green List)
รายงานTech4Nature - Solutions in Focus มีเป้าหมายที่จะให้คำแนะนำในการใช้เทคโนโลยีในการอนุรักษ์ตามพื้นที่อย่างเหมาะสม และมีส่วนร่วมโดยตรงกับอุตสาหกรรมไอซีทีในการสนับสนุนผลการอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยเป็นเอกสารฉบับแรกภายใต้ความร่วมมือระหว่างไอยูซีเอ็นกับหัวเว่ย
นอกจากนี้ โครงการริเริ่มดังกล่าวยังเป็นครั้งแรกที่ไอยูซีเอ็นได้เป็นพันธมิตรรายสำคัญกับอุตสาหกรรมไอซีที โดยผสมผสานมาตรฐาน ความรู้ และประสบการณ์ที่กว้างขวางขององค์กรเข้ากับการอนุรักษ์ด้วยนวัตกรรมที่เกิดขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยี
เกี่ยวกับไอยูซีเอ็น
ไอยูซีเอ็น (IUCN) เป็นสหภาพสมาชิกที่ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคมเป็นหนึ่งเดียว ไอยูซีเอ็นให้ความรู้และมอบเครื่องมือแก่ภาครัฐ เอกชน และองค์กรนอกภาครัฐที่ส่งเสริมความก้าวหน้าของมนุษย์ การพัฒนาเศรษฐกิจ และการอนุรักษ์ธรรมชาติร่วมกัน
ไอยูซีเอ็นก่อตั้งขึ้นในปี 2491 ปัจจุบันเป็นเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดและมีความหลากหลายมากที่สุดในโลก โดยใช้ประโยชน์จากความรู้ ทรัพยากร และการเข้าถึงขององค์กรสมาชิกมากกว่า 1,400 แห่ง และผู้เชี่ยวชาญอีกประมาณ 17,000 คน เป็นผู้ให้บริการชั้นนำด้านข้อมูล การประเมิน และการวิเคราะห์การอนุรักษ์ ทั้งนี้ เครือข่ายสมาชิกที่กว้างขวางช่วยให้ไอยูซีเอ็นเติมเต็มบทบาทการเป็นศูนย์บ่มเพาะและแหล่งรวมแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด เครื่องมือ และมาตรฐานสากลที่เชื่อถือได้
นอกจากนี้ ไอยูซีเอ็นได้จัดเตรียมพื้นที่ที่เป็นกลางซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในหลากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล องค์การนอกภาครัฐ นักวิทยาศาสตร์ ธุรกิจ ชุมชนท้องถิ่น องค์กรของชนเผ่าพื้นเมือง และอื่น ๆ ทำงานร่วมกันได้ เพื่อสร้างสรรค์และดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน
ไอยูซีเอ็นดำเนินโครงการอนุรักษ์ขนาดใหญ่และหลากหลายทั่วโลกโดยทำงานร่วมกับพันธมิตรและผู้สนับสนุนจำนวนมาก ซึ่งโครงการเหล่านี้ใช้วิทยาศาสตร์ล่าสุดร่วมกับความรู้ดั้งเดิมของชุมชนท้องถิ่น เพื่อฟื้นฟูการสูญเสียถิ่นที่อยู่ บูรณะระบบนิเวศ และปรับปรุงความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน
เกี่ยวกับรายชื่อพื้นที่สีเขียวไอยูซีเอ็น
โครงการริเริ่มรายชื่อพื้นที่สีเขียวของพื้นที่คุ้มครองและอนุรักษ์ไอยูซีเอ็น (IUCN Green List of Protected and Conserved Areas) กำลังขยายตัว และให้การยอมรับพื้นที่คุ้มครองและอนุรักษ์ทั่วโลกที่ได้รับการควบคุมอย่างเป็นธรรมและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บรรลุผลความสำเร็จของการอนุรักษ์
หัวใจสำคัญของโครงการริเริ่มรายชื่อพื้นที่สีเขียวของพื้นที่คุ้มครองและอนุรักษ์ไอยูซีเอ็น (IUCN Green List) คือมาตรฐานระดับโลกหนึ่งเดียว สำหรับแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการอนุรักษ์ตามพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นระบบการรับรองพื้นที่คุ้มครองและอนุรักษ์ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติ พื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ พื้นที่อนุรักษ์ของชุมชน เขตอนุรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งได้รับการประเมินว่ามีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ดูรายการพื้นที่ทั้งหมดในรายชื่อพื้นที่สีเขียวไอยูซีเอ็นได้ที่นี่
เกี่ยวกับหัวเว่ย
หัวเว่ย ก่อตั้งขึ้นในปี 2530 เป็นผู้นำของโลกด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และอุปกรณ์อัจฉริยะ เรามีพนักงานกว่า 197,000 คน และดำเนินงานในกว่า 170 ประเทศและภูมิภาค เพื่อให้บริการลูกค้ากว่า 3 พันล้านคนทั่วโลก
วิสัยทัศน์และพันธกิจของเราคือการนำดิจิทัลไปสู่ทุกคน ทุกบ้าน และทุกองค์กร เพื่อโลกอัจฉริยะที่เชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์ เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ เราจะผลักดันการเชื่อมต่อที่มีอยู่ทุกแห่งและส่งเสริมการเข้าถึงเครือข่ายอย่างเท่าเทียม นำคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ไปยังทุกมุมโลกเพื่อมอบพลังการคำนวณที่เหนือกว่าในที่ที่ต้องการและในเวลาที่จำเป็น สร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อช่วยให้ทุกอุตสาหกรรมและองค์กรคล่องตัว มีประสิทธิภาพ และกระฉับกระเฉงมากขึ้น ตลอดจนเปลี่ยนนิยามประสบการณ์ผู้ใช้ด้วย AI เพื่อมอบความเป็นส่วนตัวที่มากขึ้นสำหรับประชาชนในทุกมุมมองของชีวิต ไม่ว่าจะที่บ้าน ที่ทำงาน หรือขณะเดินทาง
เกี่ยวกับหัวเว่ย เทคฟอร์ออล
เทคฟอร์ออล (TECH4ALL) เป็นโครงการส่งเสริมความเสมอภาคทางดิจิทัลระยะยาวที่หัวเว่ยมีขึ้นเพื่อไม่ทอดทิ้งใครในโลกดิจิทัล โดยในส่วนของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนั้น เทคฟอร์ออลมุ่งปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ ปัจจุบัน เราได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรอย่างไอยูซีเอ็น (IUCN) และเรนฟอเรสต์ คอนเนกชัน (Rainforest Connection) รวมถึงพันธมิตรในพื้นที่ต่าง ๆ อีกหลายราย เพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายโทรคมนาคม ไอโอที คลาวด์ และปัญญาประดิษฐ์ เพื่อปกป้องป่าไม้ มหาสมุทร และพื้นที่ชุ่มน้ำในกว่า 15 ประเทศ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์หัวเว่ย เทคฟอร์ออล https://www.huawei.com/en/tech4all หรือติดตามเราทาง https://twitter.com/HUAWEI_TECH4ALL
เกี่ยวกับพาโนรามา
พาโนรามา - โซลูชันส์ ฟอร์ อะ เฮลธี แพลเน็ต (PANORAMA - Solutions for a Healthy Planet) เป็นโครงการริเริ่มเพื่อร่วมจัดทำรายงานและส่งเสริมตัวอย่างการแก้ปัญหาที่สร้างแรงบันดาลใจและนำไปทำซ้ำได้ในหัวข้อการอนุรักษ์และการพัฒนาที่ยั่งยืน ทำให้เกิดแรงบันดาลใจและการเรียนรู้ข้ามภาคส่วน
พาโนรามาช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานได้แบ่งปันและไตร่ตรองประสบการณ์ของตนเอง เพิ่มการยอมรับในชิ้นงานที่ประสบความสำเร็จ และเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงานถึงแนวทางจัดการความท้าทายที่คล้ายคลึงกันทั่วโลก
สาขาวิชาและชุมชนต่าง ๆ ที่สำคัญล้วนมีส่วนสนับสนุนพาโนรามา โดยมีการนำเสนอชุมชนเหล่านี้บนเว็บแพลตฟอร์ม ซึ่งในขณะที่พาโนรามาก้าวหน้า เรายินดีต้อนรับหัวข้อสำคัญเพิ่มเติมและพันธมิตรรายใหม่ ๆ
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1921957/Huawei_Tech4Nature.jpg
คำบรรยายภาพ - รายงาน Tech4Nature - Solutions in Focus