เฝิง จวินอิง (Feng Junying) อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายการศึกษา สถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ได้กล่าวว่า " รัฐบาลจีนและไทยมุ่งมั่นที่จะสร้างชุมชนแห่งเป้าหมายและวิสัยทัศน์ร่วมกันในอนาคต อนึ่งเป็นครอบครัวเดียวกัน ด้วยการบูรณาการภาษาและวัฒนธรรมเป็นรากฐานสำคัญของการส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างอารยธรรมจีนและไทย โดยการแข่งขันการประกวดสุนทรพจน์ภาษาจีนสิรินธรจะเป็นสะพานเชื่อมโยงส่งเสริมการแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมระหว่างจีนกับไทย และหวังว่าผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะได้รับความสนุก พร้อมเพลิดเพลินไปกับความงามของภาษาจีน ตลอดจนเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราวอันโดดเด่นที่แลกเปลี่ยนฉันมิตรระหว่างจีนและไทยต่อไป "
รองศาสตราจารย์ ดร.หาน เซิ่งหลง (Han Shenglong) ผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายจีน) กล่าวว่า " ทางสถาบันส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาและวัฒนธรรมระหว่างจีนกับไทย โดยการประกวดสุนทรพจน์ภาษาจีนสิรินธร ระดับอุดมศึกษา ชิงถ้วยพระราชทานฯ นั้น เป็นโครงการที่จัดขึ้นทุกปีสำหรับนักศึกษาไทย และเป็นโครงการหลักของสถาบันขงจื๊อ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ต้องหยุดชะงักโครงการเป็นเวลา 3 ปี การเริ่มใหม่ในปีนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะถือเป็นการสร้างเวทีให้นักศึกษาไทยได้เรียนรู้และถ่ายทอดเรื่องราววัฒนธรรมภาษาจีนในยุคสมัยใหม่ที่พวกเขาได้เรียนรู้มา รวมถึงได้ร่วมเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างผู้เข้าแข่งขัน และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทยกับจีนเป็นอย่างมาก"
หวง เฉาหยาง (Huang Chaoyang) กรรมการบริหาร บริษัท ออล ซีซั่นส์ พร็อพเพอร์ตี้ กล่าวในฐานะบริษัทร่วมทุนระหว่างจีน-ไทย และผู้ร่วมสนับสนุนการจัดงานในครั้งนี้ว่า " ทางบริษัทฯ ได้มีบทบาทในการส่งเสริมการเผยแพร่วัฒนธรรมจีนตามหนึ่งในวิสัยทัศน์ขององค์กรตลอดระยะที่ผ่านมา โดยการสนับสนุนการจัดงานการประกวดสุนทรพจน์ภาษาจีนสิรินธร ของสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาฯ ในครั้งนี้ทางบริษัท หวังว่าจะช่วยเป็นแรงผลักดัน และเป็นการสร้างเวทีให้ผู้เรียนภาษาจีนในประเทศไทยได้แสดงความสามารถทางด้านภาษา กล้าที่จะถ่ายทอดเสน่ห์ภาษาวัฒนธรรมจีนให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ไปด้วยกัน "
ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า " ความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างจีนและไทยมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ทั้งความเจริญรุ่งเรืองและการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนอย่างต่อเนื่อง การประกวดการแข่งขันในครั้งนี้ถือเป็นโอกาสดีสำหรับประเทศไทย ที่นักศึกษาทุกคนล้วนเป็นกองกำลังการพัฒนาในอนาคตของประเทศไทยจะได้คว้าโอกาสเพื่อเป็นการทดสอบความสามารถให้ตัวเองได้เรียนรู้และก้าวหน้าไปพร้อมกัน "
การประกวดสุนทรพจน์ภาษาจีนสิรินธร ระดับอุดมศึกษา ชิงถ้วยพระราชทานฯ ครั้งที่ 11 ในรอบชิงชนะเลิศมีผู้แข่งขันที่ผ่านเข้ารอบทั้งหมด 13 คน จาก 10 โรงเรียน โดยการตัดสินในรอบชิงชนะเลิศมีแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนแรก เป็นการกล่าวสุนทรพจน์ ในหัวข้อ "เรียนภาษาจีน เปิดประตูสู่อนาคต" ส่วนที่สอง เป็นแบบทดสอบถาม-ตอบ ความรู้ความเข้าใจของผู้เข้าแข่งขันเกี่ยวกับความหมายของอักษรจีน
ทั้งนี้ สำหรับผลการแข่งขันการประกวดสุนทรพจน์ภาษาจีนสิรินธร ระดับอุดมศึกษา ผู้ที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ได้แก่ นายชยานันท์ คลี่บำรุง จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ รับรางวัลชนะเลิศ ขณะที่ นางสาว พ.ภัทรพิชญ์ ศรีสันติรัตน และนางสาวญานิกา ลั่ว จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง และ นายธนากร บุญสพ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง ตามลำดับ
ในฐานะผู้สนับสนุนของงานดังกล่าว หวง เฉาหยาง (Huang Chaoyang) กรรมการบริหาร บริษัท ออล ซีซั่นส์ พร็อพเพอร์ตี้ ได้กล่าวปิดท้ายว่า " การประกวดสุนทรพจน์ภาษาจีนสิรินธร ระดับอุดมศึกษา ชิงถ้วยพระราชทานฯ ครั้งนี้ ทำให้ได้เห็นความกระตือรือร้นของนักศึกษาไทยในการเรียนรู้ภาษาจีนและความสามารถของนักศึกษาไทยมากขึ้น ทางบริษัทออล ซีซั่นส์ พร็อพเพอร์ตี้ พร้อมที่จะสานต่อวิสัยทัศน์ขององค์กรร่วมกับสถาบันขงจื๊อในประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการเผยแพร่วัฒนธรรมจีนในต่างประเทศต่อไป
ที่มา: แอ็ท ออล อิน วัน