เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เตรียมดึงไทยร่วมขับเคลื่อน 4 เมกะเทรนด์ ปฏิวัติอุตฯบรรจุภัณฑ์และกระบวนการแปรรูป พร้อมส่งผู้ประกอบการไทยอวดโฉมนวัตกรรมในงาน "อินเตอร์แพค 2023"

ศุกร์ ๒๑ ตุลาคม ๒๐๒๒ ๑๓:๔๘
บริษัท เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ ดึงผู้ประกอบการไทยร่วมงาน "อินเตอร์แพค 2023" งานแสดงสินค้าด้านอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์และกระบวนการแปรรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก ณ เมืองดุสเซลดอร์ฟ ประเทศเยอรมนี รวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์และกระบวนการแปรรูปจากทั่วทุกมุมโลก พร้อมผู้เข้าร่วมจัดแสดงสินค้ากว่า 2,700 ราย พร้อมตอกย้ำ 4 เทรนด์โลกด้านบรรจุภัณฑ์ที่น่าจับตามอง ประกอบด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การจัดการทรัพยากร (Resource Management) เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technologies) ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ (Product Safety) คาดมีผู้เข้าชมงานมากกว่า 170,000 คน จากกว่า 160 ประเทศทั่วโลก
เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เตรียมดึงไทยร่วมขับเคลื่อน 4 เมกะเทรนด์ ปฏิวัติอุตฯบรรจุภัณฑ์และกระบวนการแปรรูป พร้อมส่งผู้ประกอบการไทยอวดโฉมนวัตกรรมในงาน อินเตอร์แพค 2023

นายโทมัส โดเซ่ (Mr. Thomas Dohse) ผู้อำนวยการ การจัดงานอินเตอร์แพค บริษัท เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ กล่าวว่า จากอัตราการเติบโตของประชากรโลก การขยายตัวของเมืองที่เพิ่มขึ้น อัตราการจ้างงานที่สูงขึ้น และรายได้ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ทำให้ความต้องการด้านบรรจุภัณฑ์ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 932 ล้านตันในปี 2564 - 2569 โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหาร จากข้อมูลของ Verband Deutscher Maschinen-und Anlagenbau - VDMA ระบุว่าประเทศในทวีปเอเชียมีความต้องการบรรจุภัณฑ์อาหารอยู่ที่ 34% และคาดว่าความต้องการจะเพิ่มขึ้น 20% ในระหว่างปี 2564 - 2569 โดยประเทศจีนถือว่าเป็นตลาดบรรจุภัณฑ์อาหารที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย และมีส่วนแบ่งการตลาดเกือบ 50% จากความต้องการบรรจุภัณฑ์อาหารที่มากขึ้น คาดว่าจะมีการลงทุนเพิ่มเติมในส่วนของเครื่องจักรการแปรรูปและบรรจุภัณฑ์อาหาร เพื่อขยายกำลังการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการในภูมิภาค

นายโทมัส กล่าวเพิ่มเติมว่า "อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารในไทย ปี 2564 มีปริมาณการขายอยู่ที่ 6 ล้านตัน และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 7 ล้านตันในปี 2569 ไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 7 ของเอเชีย ซึ่งการอยู่ในท็อป 10 ของทวีปเอเชียในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหาร ถือเป็นสัญญาณอันดีที่อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหารจะเติบโตขึ้น และเป็นโอกาสในการขยายตลาดไปสู่ระดับโลกของผู้ประกอบการไทย"

ล่าสุด เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เตรียมจัดงานอินเตอร์แพค 2023 งานแสดงสินค้าด้านอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์และกระบวนการแปรรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก จัดขึ้นทุก 3 ปี โดยในปีนี้มีบริษัทผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเข้าร่วมจัดแสดงสินค้ากว่า 2,7000 ราย อาทิ ประเทศเยอรมนี ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสิงคโปร์ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศจีน และประเทศไทยที่นำสินค้าจัดแสดงจำนวน 4 ราย ได้แก่ บริษัท เอฟพีซี อินดัสทรี จำกัด บริษัท มหาธานีอุตสาหกรรม จำกัด บริษัท เอ็มเอ็มพี คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ บริษัท ควิค แพ็ค แปซิฟิค จำกัด นายโทมัส กล่าว

นางสาวซาบีน เกลเดอร์มาน (Ms. Sabine Geldermann) หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีการพิมพ์ระดับโลก บริษัท เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ กล่าวว่า งานในครั้งนี้มุ่งนำเสนอไปที่ 4 เทรนด์โลกที่น่าจับตามอง ณ ขณะนี้ อย่าง เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่เป็นปัญหาสำคัญในอุตสาหกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ระดับโลก โดยเป้าหมาย คือ การนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ ผ่านกระบวนการอัจฉริยะที่ช่วยประหยัดพลังงาน และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในอีกแง่มุมหนึ่ง การใช้บรรจุภัณฑ์ให้น้อยลง หรือแม้แต่เทคนิคการขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมถึงวัสดุที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ง่าย

การจัดการทรัพยากร (Resource Management) ผู้ประกอบการในปัจจุบันต้องเผชิญกับอีกหนึ่งความท้าทาย คือ การดำเนินกิจการอย่างมีความยั่งยืนและรับผิดชอบต่อสังคม ในขณะเดียวกันการผลิตก็ต้องมีประสิทธิภาพ ซึ่งการผลิตและการแปรรูปอาหารจำเป็นต้องใช้พลังงานเป็นอย่างมาก จึงจำเป็นต้องมีนวัตกรรมที่ช่วยควบคุมการใช้พลังงานระหว่างการผลิต ผ่านเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อทำให้กระบวนการทำงานยังคงประสิทธิภาพที่สูง และไม่กระทบกับกระบวนการผลิตโดยรวม โดยยึดแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ การบริหารจัดการทรัพยากร โดยเฉพาะทรัพยากรที่หาได้ยาก ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีขยะเหลือทิ้งน้อยที่สุด

เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technologies) เป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตที่มีอยู่ให้ดียิ่งกว่าเดิม อีกทั้งการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตยังสามารถช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการได้ อาทิ เทคโนโลยีบิ๊กดาต้าที่เข้ามาช่วยจัดการระบบการผลิต และเครื่องจักรเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้รวดเร็วมากขึ้น หรือแม้แต่เครื่องจักรเสมือน ที่ทำหน้าที่ทดสอบการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ก่อนผลิตจริง เทคโนโลยี Track-and-Trace อย่างระบบ Holy Grail 2.0 ช่วยแยกบรรจุภัณฑ์อัตโนมัติด้วยลายน้ำดิจิทัล อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการยังต้องวางแผนการใช้เทคโนโลยี การจัดการคุณภาพ รวมไปถึงการวางแผนในเรื่องของทรัพยากรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ (Product Safety) เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดและต้องสร้างให้ผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัยสูงสุดตามมาตรฐานระดับสากล นอกจากนี้ระบบตรวจสอบที่มีคุณภาพสูงจะทำให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ทุกชนิดจะสามารถถูกตรวจสอบย้อนหลังได้ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากที่สุด

ทั้งนี้ ความสำเร็จของงานอินเตอร์แพคในปี 2017 ที่ผ่านมามีผู้เข้าร่วมจัดแสดงสินค้ากว่า 2,866 ราย จาก 55 ประเทศทั่วโลก และมีผู้เข้าชมงานมากกว่า 170,899 คน จาก 169 ประเทศทั่วโลก โดยเป็นงานแสดงสินค้าด้านอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์หนึ่งเดียวที่ครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ และรวบรวมผู้ประกอบการสินค้าบรรจุภัณฑ์อย่างครบทุกประเภทไว้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ยังได้รวบรวมนวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัย อันเป็นปัจจัยที่สร้างความแตกต่างให้กับ อินเตอร์แพค 2017 อย่างชัดเจน จนนำไปสู่ความสำเร็จในครั้งที่ผ่านมา

สำหรับงาน อินเตอร์แพค 2023 ที่กำลังจะจัดขึ้นในวันที่ 4 - 10 พฤษภาคม 2566 ณ เมืองดุสเซลดอร์ฟ ประเทศเยอรมนี ถือเป็นโอกาสครั้งสำคัญให้ผู้ประกอบการไทยได้เรียนรู้ถึงนวัตกรรม เทคโนโลยี และเครื่องจักรที่ทันสมัยจากนานาประเทศทั่วโลกเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิต และต่อยอดไปสู่กระบวนการผลิตที่ปลอดภัยต่อโลก และสิ่งแวดล้อม รวมถึงทำให้การสร้างขยะเป็นไปได้น้อยที่สุด สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจสามารถเข้าชมรายละเอียดเพิ่มเติม หรือลงทะเบียนสำรองบัตรเพื่อเข้าชมนิทรรศการได้ที่เว็บไซต์ https://www.interpack.com/

ที่มา: เจซีแอนด์โค คอมมิวนิเคชั่นส์

เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เตรียมดึงไทยร่วมขับเคลื่อน 4 เมกะเทรนด์ ปฏิวัติอุตฯบรรจุภัณฑ์และกระบวนการแปรรูป พร้อมส่งผู้ประกอบการไทยอวดโฉมนวัตกรรมในงาน อินเตอร์แพค 2023

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ