การเขียนเรียงความเป็นความรู้-ความฉลาดด้านภาษา นำมาซึ่งพหุปัญญาที่หลากหลาย

ศุกร์ ๒๑ ตุลาคม ๒๐๒๒ ๑๕:๔๓
เหลือเวลาอีกไม่กี่วันแล้ว สำหรับการประกวดเรียงความในหัวข้อ "ครูใหญ่ในใจเรา" ที่มูลนิธิเอเชียร่วมกับเหล่าพันธมิตรได้จัดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสริมการรู้รักษ์ภาษาไทย และรับฟังพร้อมนำข้อคิดเห็นและเสียงสะท้อนของนักเรียนมาเผยแพร่ และสื่อสารให้ผู้บริหารสถานศึกษา ให้ได้รับรู้ถึงความต้องการที่แท้จริง โดยนักเรียนชั้น ม.1-ม.6 จากทั่วประเทศสามารถส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้-31 ต.ค.65 ซึ่งเมื่อถามถึงประโยชน์ของการเขียนเรียงความ และเรียงความที่ดีจะต้องมีลักษณะอย่างไร เรามีคำตอบจากสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย มาให้รับทราบกัน
การเขียนเรียงความเป็นความรู้-ความฉลาดด้านภาษา นำมาซึ่งพหุปัญญาที่หลากหลาย

รศ. ดร.มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ เลขาธิการสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า "ความรู้เรื่องการเขียนเรียงความเป็นความรู้ที่สำคัญประการหนึ่งของ "ความรู้-ความฉลาดด้านภาษา" ซึ่งเป็นความรู้-ปัญญาด้านหนึ่งในความรู้ที่หลากหลาย หรือพหุปัญญา ที่วงการศึกษาในปัจจุบันทั้งในและต่างประเทศกำลังสนับสนุนให้เกิดมีขึ้นในนักเรียนนักศึกษาของเรา เพราะมีความคิดว่าความรู้ที่หลากหลายจะทำให้นักเรียนคิดได้หลายรูปแบบ มีประโยชน์ในการเข้าสังคมและทำให้เป็นคนที่สมบูรณ์ได้ การเขียนเรียงความต้องการความรู้หลายเรื่อง ทั้งความเข้าใจเนื้อหารวบยอดที่จะเขียน ความสามารถในการรวบรวมประเด็นที่จะนำเสนออย่างมีเหตุมีผล และมีศิลปะในการเลือกใช้สำนวนภาษาที่จะโน้มน้าวใจผู้อ่านให้เชื่อตามได้ โดยเรียงความที่ดีนั้น จะต้องสื่อความได้ตรงกับเรื่องที่ได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้ หรือมีใจความที่ชัดเจน และยิ่งถ้ามีการใช้ภาษาที่ดีก็จะช่วยโน้มน้าวให้คนเห็นคล้อยตามความคิดของเรา ก็จะทำให้เกิดประโยชน์ในการสื่อสารได้มากที่สุด"

สำหรับกิจกรรมการประกวดเรียงความหัวข้อ "ครูใหญ่ในใจเรา" นั้น จัดขึ้นโดยมูลนิธิเอเชีย ภายใต้ร่วมมือกับกระทรวงการต่างประเทศและการค้าออสเตรเลีย (DFAT) และสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย โดยนักเรียนที่สนใจส่งผลงานเข้าประกวด จะต้องเขียนเรียงความในหัวข้อครูใหญ่ในใจเรา ด้วยลายมือตนเองลงบนกระดาษมีเส้นบรรทัด ด้วยปากกาสีน้ำเงินหรือสีดำ ตัวบรรจงครึ่งบรรทัด โดยไม่เว้นบรรทัด นักเรียนชั้น ม.1-3 เขียนระหว่าง 25-30 บรรทัด ส่วนนักเรียนชั้น ม.4-6 เขียนไม่เกิน 35 บรรทัด เนื้อหาจะต้องเป็นเรียงความที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่จัดประกวด โดยต้องมีความสมบูรณ์ของเนื้อหา หลักการและวิธีการ มีการใช้สำนวนภาษาไทยถูกต้องตามอักขรวิธี เหมาะสมและสละสลวย และต้องเป็นความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง หากตรวจสอบพบว่าผลงานดังกล่าวคัดลอกหรือเลียนแบบมาจากผู้อื่น ทางคณะกรรมการขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกคืนรางวัลและ เกียรติบัตรที่ได้รับ

หลักเกณฑ์การตัดสินจะประกอบด้วย 1)รูปแบบ 10 คะแนน คือต้องมีคำนำ เนื้อหา สรุป องค์ประกอบครบและสมบูรณ์ตามหลักการใช้ภาษาไทย 2)เนื้อเรื่อง 20 คะแนน ต้องมีเนื้อหาสอดคล้องกับหัวข้อการประกวด อาจมีบริบททางสังคมหรือท้องถิ่นที่ตั้งของโรงเรียน แสดงถึงความโดดเด่น ลักษณะพิเศษของโรงเรียน และบุคลากรผู้นำในโรงเรียน หรือประเด็นในการอยู่ร่วมกับสังคมอย่างมีความสุขที่สามารถนำมาเป็นต้นแบบได้จริง สะท้อนทัศนคติ ความคิดความต้องการของผู้เขียนอย่างเหมาะสมตามวัยวุฒิ เรียงลำดับ เหตุการณ์ได้อย่างต่อเนื่อง และสอดแทรกแนวคิดที่เป็นประโยชน์ในเชิงสร้างสรรค์ 3)การใช้ภาษา 10 คะแนน และ 4)ลายมือ 10 คะแนน รวมเป็น 50 คะแนน โดยผู้ชนะการประกวดจะได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท (2 รางวัล), รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง 15,000 บาท (2 รางวัล), รองชนะเลิศอันดับสอง 10,000 บาท (2 รางวัล) และรางวัลชมเชย 3,000 บาท (60 รางวัล) พร้อมรับเกียรติบัตรจากมูลนิธิฯ ทุกรางวัล สนใจสามารถดาวน์โหลดใบสมัครที่ https://shorturl.asia/Zpl7T และส่งใบสมัครพร้อมผลงานมาทางไปรษณีย์มาที่ ดร.รัตนา แซ่เล้า มูลนิธิเอเชีย ประเทศไทย เลขที่ 38 อาคารชลันทิพย์ ชั้น 6 ถนนคอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก กทม. 10500 ได้ตั้งแต่วันนี้-31 ต.ค.65 โดยสามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ Facebook : โรงเรียนดีมีทุกที่ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร. 062-7341267

ที่มา: ไวสแบรนด์

การเขียนเรียงความเป็นความรู้-ความฉลาดด้านภาษา นำมาซึ่งพหุปัญญาที่หลากหลาย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ