ในแต่ละปี อัลกอริตมี ไพรซ์ จะมุ่งเน้นไปยังความท้าทายระดับโลกที่ชุมชนโลกกำลังเผชิญในหัวข้อต่าง ๆ เช่น ความมั่นคงด้านอาหารและน้ำ การดูแลสุขภาพ พลังงาน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยผู้สมัครที่มีคุณสมบัติทั้งหมดจะได้รับเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขันแบบเปิด ซึ่งประเมินโดยคณะผู้เชี่ยวชาญอิสระระดับโลก
ผู้สมัครที่ชนะจะได้รับเงินทุนเพื่อพัฒนาและยกระดับเทคโนโลยีของตน ในขณะที่เข้าถึงแพลตฟอร์มของสถาบัน FII ที่พวกเขาจะแบ่งปันงานวิจัยของตนกับนักลงทุน นักวิชาการ และผู้มีอำนาจตัดสินใจได้ โดยจะมีการเปิดรับสมัครในเดือนมกราคม 2566 และประกาศชื่อผู้ชนะเลิศในเดือนตุลาคม 2566 ที่งานประชุม FII ครั้งที่ 7
นอกจากนี้ รางวัลดังกล่าวจะมาพร้อมกับการประชุมสัมมนาประจำปีที่การประชุม FII ซึ่งจะมีการกล่าวสุนทรพจน์จากวิทยากรที่มีชื่อเสียงในด้านวิทยาการหุ่นยนต์ โดยการประชุมครั้งนี้จะรวบรวมผู้แทนจากทั่วทั้งภาควิชาการ รัฐบาล และอุตสาหกรรมที่มีความสนใจร่วมกัน เพื่อสร้างเส้นทางสำหรับการอภิปรายเกี่ยวกับวิทยาการหุ่นยนต์และผลักดันนวัตกรรมต่อไป
คุณริชาร์ด อัตเทียส (Richard Attias) ซีอีโอสถาบัน FII ให้ความเห็นว่า "ภารกิจของเราที่สถาบัน FII คือการสร้างผลกระทบต่อมนุษยชาติ โดยมุ่งเน้นไปที่ 4 ด้านหลัก อันรวมถึง เอไอและวิทยาการหุ่นยนต์ ด้วยการเปิดตัวรางวัลอัลกอริตมี ไพรซ์ เราหวังว่าจะสนับสนุนความคิดที่เฉียบแหลมจากทั่วโลก เพื่อแบ่งปันความคิดสร้างสรรค์ของพวกเขากับนักลงทุนและผู้มีอำนาจตัดสินใจ และเปลี่ยนให้เป็นโซลูชันในชีวิตจริง เพื่อแก้ปัญหาบางประการที่ผู้คนกำลังเผชิญอยู่ทั่วโลก"
ความสำคัญของเอไอและวิทยาการหุ่นยนต์ในการแก้ปัญหาระดับโลกในปัจจุบันนั้นเป็นที่ยอมรับมากขึ้นเรื่อย ๆ ในระดับโลก และจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ก็เพิ่มขึ้นแบบทวีคูณเมื่อเทียบเป็นรายปี เมื่อเทคโนโลยีใหม่ปรากฎขึ้น เห็นได้ชัดว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนในการวิจัยหุ่นยนต์ เพื่อมุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริง เพื่อจัดการกับความท้าทายทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน
การพัฒนาโครงการรางวัลดังกล่าวได้ดำเนินการร่วมกับสำนักพิมพ์วิจัยระดับโลกอย่างสปริงเกอร์ เนเชอร์ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์และการวิจัย โดยจะเข้ามามีส่วนร่วมในคณะกรรมการตัดสินและประเมินผลงานสำหรับรางวัลแรก
สตีเวน อินช์คูมบ์ (Steven Inchcoombe) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายตีพิมพ์ กล่าวว่า "โครงการมอบรางวัลนั้นสร้างเวทีที่สำคัญ เพื่อยกย่องนักวิจัยที่กำลังใช้หลักฐานในการขยายแนวทางเพื่อรับมือกับความท้าทายระดับโลก โดยเรายินดีที่จะสนับสนุนรางวัลใหม่นี้ ซึ่งทาง FII จะเน้นย้ำความสำคัญเกี่ยวกับการวิจัยที่ทรงอิทธิพลที่เกิดขึ้นในแวดวงเอไอและวิทยาการหุ่นยนต์"
หมายเหตุถึงบรรณาธิการ
ดูเอกสารสรุปข้อมูลของงานประชุมนี้ได้ที่ https://fii-institute.org/wp-content/uploads/2022/07/FactSheet_Enabiling-a-New-Global-Order-6th-4.pdf
เกี่ยวกับสถาบัน FII
สถาบันโครงการลงทุนเพื่ออนาคตหรือ FII คือมูลนิธิไม่แสวงหาผลกำไรระดับโลกแห่งใหม่ที่มีเครื่องมือการลงทุน (Investment arm) และมีเป้าหมายเดียวคือการสร้างอิทธิพลเชิงบวกต่อมนุษยชาติ เราดำเนินงานในระดับโลกโดยให้ความสำคัญกับทุกกลุ่มคนและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) เราส่งเสริมผู้มีไอเดียดี ๆ จากทั่วโลกและเปลี่ยนไอเดียเหล่านั้นให้เป็นโซลูชันที่ใช้งานได้จริงใน 5 ส่วนสำคัญด้วยกัน ได้แก่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และวิทยาการหุ่นยนต์, การศึกษา, การดูแลสุขภาพ และความยั่งยืน
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1811613/FII_Institute_Logo.jpg