บริษัทชั้นนำของโลกปรับปรุงการรายงานสภาพภูมิอากาศ ไทยติดท็อป 10 ด้านการรายงานความยั่งยืน

จันทร์ ๓๑ ตุลาคม ๒๐๒๒ ๐๙:๐๔
ผลการสำรวจล่าสุดจาก เคพีเอ็มจี เปิดเผยว่าแต่ละบริษัทมีการจัดทำรายงานความยั่งยืนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทชั้นนำร้อยละ 79 ได้จัดทำรายงานความยั่งยืนบริษัทต่างๆ ปรับปรุงรายงานเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากคาร์บอนอย่างชัดเจน แต่ยังดำเนินการช้าเกินไปในหลายด้านสำคัญ ปัจจุบันบริษัทน้อยกว่าครึ่งที่มีการระบุว่าการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพเป็นความเสี่ยงจากการวิเคราะห์รายงานกว่าพันฉบับพบว่า บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกจำนวนน้อยกว่าครึ่งที่มีการรายงานเกี่ยวกับองค์ประกอบ 'สังคม' และ 'บรรษัทภิบาล' ของ ESGเคพีเอ็มจี ได้ให้คำแนะนำต่างๆ ด้านการรายงานความยั่งยืน เช่น บริษัทที่เปลี่ยนจากแนวทางการให้ข้อมูล มาสู่การใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงและให้หลักฐานการดำเนินการการสำรวจรายงานความยั่งยืนของเคพีเอ็มจี (KPMG Survey of Sustainability Reporting) เผยแพร่ครั้งแรกในปี 2536 และจัดทำขึ้นทุกๆ สองปี โดยฉบับของปีนี้วิเคราะห์รายงานความยั่งยืน และสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) จาก 5,800 บริษัทใน 58 ประเทศและเขตการปกครอง ผลการสำรวจที่เผยแพร่ในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ายังมีความไม่สอดคล้องระหว่างความเร่งด่วนในการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเท่าเทียมทางสังคม กับ "ผลลัพธ์ที่จับต้องได้" ที่ธุรกิจต้องเปิดเผย
บริษัทชั้นนำของโลกปรับปรุงการรายงานสภาพภูมิอากาศ ไทยติดท็อป 10 ด้านการรายงานความยั่งยืน

ผลการสำรวจล่าสุดเปิดเผยว่า การรายงานความยั่งยืนได้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง บริษัท 250 อันดับแรกของโลกหรือที่รู้จักกันในชื่อ G250 เกือบทั้งหมดจัดทำรายงานความยั่งยืน โดยบริษัทในกลุ่มนี้ร้อยละ 96 รายงานด้านความยั่งยืนหรือประเด็น ESG

ในขณะเดียวกัน มีการรายงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอจากกลุ่ม N100 (บริษัท 100 อันดับแรกในแต่ละประเทศหรือเขตการปกครองที่นำมาวิเคราะห์) เมื่อ 10 ปีที่แล้ว มีเพียงสองในสามของกลุ่มบริษัท N100 เท่านั้นที่จัดทำรายงานความยั่งยืน โดยปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 79

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงเป็นประเด็นสำคัญหลักผลการวิจัยล่าสุดเผยให้เห็นว่าธุรกิจต่างๆ ตระหนักมากขึ้นว่าพวกเขามีบทบาทในการช่วยให้บรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ โดยร้อยละ 71 ของบริษัทในกลุ่ม N100 และร้อยละ 80 ของกลุ่ม G250 ได้มีการตั้งเป้าหมายการลดคาร์บอน บริษัทส่วนใหญ่ตระหนักว่าต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านคาร์บอน แทนที่จะพึ่งคาร์บอนเครดิต (ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดและกักเก็บได้จากการดำเนินโครงการหรือกลไกลดก๊าซเรือนกระจกต่างๆ) เพียงอย่างเดียว จำนวนบริษัทที่รายงานตามแนวทางของ คณะกรรมการดูแลเสถียรภาพทางการเงินในการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ (Task Force on Climate-related Financial Disclosures: TCFD) ได้เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า นำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลสภาพอากาศที่ดียิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม รายงานยังเผยให้เห็นประเด็นสำคัญที่ยังคังต้องดำเนินการให้เร็วขึ้น โดยบริษัทในกลุ่ม G250 เพียงร้อยละ 64 รายงานอย่างเป็นทางการว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นความเสี่ยงต่อธุรกิจของตน และปัจจุบันมีบริษัทน้อยกว่าครึ่งหนึ่งที่รายงานว่าการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพเป็นความเสี่ยงการรายงานความยั่งยืนผ่านเลนส์ ESGรายงานผลสำรวจประจำปีนี้ยังเน้นถึงความท้าทายอื่นๆ ที่บริษัทชั้นนำของโลกต้องเผชิญเมื่อรายงานด้าน ESG ในบรรดารายงานนับพันฉบับที่ได้ถูกวิเคราะห์ บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกจำนวนน้อยกว่าครึ่งหนึ่งจัดทำรายงานเกี่ยวกับองค์ประกอบด้าน 'สังคม' (เช่น การกดขี่แรงงาน ความหลากหลายทางเชื้อชาติและเพศ การอยู่ร่วมกันและความเท่าเทียม การมีส่วนร่วมของชุมชน และปัญหาด้านแรงงาน) แม้จะมีความตระหนักมากขึ้นถึงความเชื่อมโยงระหว่างวิกฤตสภาพภูมิอากาศและความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม ในขณะเดียวกัน มีบริษัทน้อยกว่าครึ่งที่เปิดเผยความเสี่ยงด้านบรรษัทภิบาล (เช่น การติดสินบนทุจริตและการต่อต้านการทุจริต พฤติกรรมต่อต้านการแข่งขัน หรือการสนับสนุนทางการเมือง) นอกจากนี้ บริษัท N100 เพียงหนึ่งในสามเท่านั้นที่มีสมาชิกในทีมผู้บริหารทำหน้าที่รับผิดชอบด้านความยั่งยืนโดยเฉพาะ และบริษัทเหล่านี้จำนวนน้อยกว่าหนึ่งในสี่ เชื่อมโยงความยั่งยืนเข้ากับค่าตอบแทนให้แก่ผู้บริหารธุรกิจ

การเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ยังคงเป็นการให้ข้อมูลเป็นส่วนใหญ่ มากกว่าการเผยแพร่ข้อมูลเชิงปริมาณหรือข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับผลกระทบด้านต่างๆ ซึ่งเป็นจุดที่ต้องปรับปรุงสำหรับบริษัททั่วโลกอย่างชัดเจน

อย่างไรก็ตามข้อดีก็คือ สามในสี่ของบริษัทที่จัดทำรายงานความยั่งยืน ได้ดำเนินการประเมินประเด็นสำคัญทางธุรกิจ (Materiality assessments) และเปิดเผยหัวข้อที่มีสาระสำคัญจอห์น แมคคาลา-ลีซี ประธานฝ่าย ESG เคพีเอ็มจีอินเตอร์เนชันแนล กล่าวว่า"ปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์จากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) เตือนว่าโลกอยู่ในสถานะ 'โค้ดแดง' ในด้านภาวะโลกร้อนจากกิจกรรมของมนุษย์ และผู้นำทางการเมืองจำนวนหนึ่งให้คำมั่นสัญญาต่อที่ประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 (UN Climate Change Conference of the Parties: COP26) ในขณะที่เรามุ่งสู่ COP27 จำเป็นต้องมีการดำเนินการทันทีเพื่อหลีกเลี่ยงโศกนาฏกรรมของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในระดับที่เพิ่มมากขึ้น"

"การสำรวจรายงานความยั่งยืนปี 2022 ของเคพีเอ็มจี เผยให้เห็นว่ากฎระเบียบกำลังผลักดันความเปลี่ยนแปลง ผมเห็นว่า เป็นเรื่องสำคัญมากที่เราต้องให้คำแนะนำและทิศทางแก่บริษัทต่างๆ และช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ผู้นำธุรกิจต่างยอมรับว่าพวกเขามีความรับผิดชอบและมีบทบาทในการช่วยชะลอและหลีกเลี่ยงวิกฤติที่กำลังใกล้เข้ามา สิ่งจำเป็นมากในปัจจุบันคือมาตรฐานที่สอดคล้องกันทั่วโลกจากรัฐบาลและความพยายามร่วมกันจากบริษัทใหญ่ๆ ระดับโลกในการรายงานเกี่ยวกับ ESG ในทุกด้าน โดยตระหนักถึงความเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างสิ่งแวดล้อมกับประเด็นความเท่าเทียมกันทางสังคม"เจนนิเฟอร์ ชุลแมน ผู้เขียนรายงานร่วม และผู้นำศูนย์ที่ปรึกษาด้าน ESG ระดับโลกของเคพีเอ็มจี กล่าวว่า"การประชุมสุดยอด COP26 เผยให้เห็นว่าโลกกำลังเผชิญภัยร้ายแรงด้านสภาพภูมิอากาศ มีตัวแทนจากประเทศและพื้นที่ห่างไกลซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักมาแบ่งปันประสบการณ์ แต่ถึงแม้จะมีความตระหนักเพิ่มขึ้นในองค์ประกอบด้าน 'คน' ของ ESG การสำรวจล่าสุดของเรายังคงเน้นย้ำถึงความท้าทายที่แท้จริงที่ผู้บริหารระดับสูงต้องเผชิญ ซึ่งสะท้อนว่าบริษัทของตนสามารถส่งผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง"

"เราน่าจะเริ่มเห็นความคืบหน้าภายในปีหน้า เมื่อองค์กรต่างๆ เช่น International Sustainability Standards Board (ISSB) ออกมาตรฐานสากลใหม่สำหรับการรายงาน แต่บริษัทต่างๆ ไม่ควรรอให้ถึงเวลานั้น การตัดสินใจเริ่มโดยผู้นำจากเบื้องบนขององค์กรเป็นสิ่งสำคัญ โรคระบาดทั่วโลกและ การประชุมสุดยอด COP26 ได้ชี้ให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันที่เพิ่มขึ้นในสังคม องค์กรใหญ่ๆ หลายแห่งตอบสนองด้วยการดำเนินการเชิงรุกซึ่งควรได้รับการยกย่อง เราเห็นการดำเนินการที่มากขึ้นในด้านความเท่าเทียมทางเพศ ความเท่าเทียมในการจ่ายค่าตอบแทน และการประเมินผลกระทบต่อชุมชน ถึงเวลาแล้วที่องค์กรต่างๆ ต้องมีความโปร่งใสในการรายงานเพื่อเน้นย้ำถึงสิ่งที่พวกเขาประสบความสำเร็จและยึดมั่นรับผิดชอบในส่วนที่จำเป็นต้องมีความคืบหน้าเพิ่มเติม"ธเนศ เกษมศานติ์ หัวหน้าฝ่ายสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล เคพีเอ็มจี ประเทศไทย กล่าวว่า "การสำรวจพบว่า ร้อยละ 97 ของบริษัท N100 ในประเทศไทย มีการรายงานความยั่งยืน ซึ่งเป็นหนึ่งในอัตราที่สูงที่สุดในโลก เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 84 ในปี 2563 ในจำนวนนี้ ร้อยละ 59 มีการทำรายงานความยั่งยืนให้สอดคล้องกับคำแนะนำของ TCFD และร้อยละ 68 ระบุถึงความหลากหลายทางชีวภาพในการรายงาน การเพิ่มขึ้นของการรายงานนี้ ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เรื่องแบบรายงาน 'One Report' สำหรับการรายงานปี 2564 ที่ให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนและ ESG มากขึ้น"

"ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเรากำลังดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้อง เนื่องจากประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 และการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2608 อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการมุ่งเน้นไปที่องค์ประกอบด้าน 'สิ่งแวดล้อม' ของ ESG แล้ว บริษัทต่างๆ ยังต้องให้ความสำคัญกับองค์ประกอบด้านสังคมและบรรษัทภิบาลด้วย คำแนะนำที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือบริษัทต่างๆ ต้องให้ความสำคัญกับการติดตามและการให้ข้อมูลเชิงปริมาณที่สามารถพิสูจน์ได้ในการรายงานความยั่งยืน ซึ่งจะช่วยให้บริษัทระบุประเด็นความเสี่ยงที่สำคัญและสร้างคุณค่าให้แก่แผนดำเนินการด้านความยั่งยืน ซึ่งจะช่วยเน้นย้ำถึงความสำคัญของความยั่งยืนต่อคณะกรรมการบริษัท ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสังคมโดยรวม"ภาพรวมในระดับภูมิภาคการรายงานความยั่งยืนมีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในสามประเทศตั้งแต่ปี 2563 ได้แก่ ไอซ์แลนด์ (เพิ่มร้อยละ 39) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (เพิ่มร้อยละ 22) และเกาหลีใต้ (เพิ่มร้อยละ 22)

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นผู้นำในการรายงานความยั่งยืน โดยมีบริษัทที่ดำเนินการรายงานความยั่งยืนร้อยละ 89 ตามมาด้วยยุโรป (ร้อยละ 82) อเมริกา (ร้อยละ 74) และตะวันออกกลางและแอฟริกา (ร้อยละ 56)

รายงานประจำปีนี้เน้นถึงความผันแปรในระดับภูมิภาคในแง่เนื้อหาของการรายงานความยั่งยืน ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนจากข้อกังวลที่สำคัญและความแตกต่างด้านกฎระเบียบ ในขณะที่อเมริกาเหนือ (ร้อยละ 97) และยุโรปตะวันตก (ร้อยละ 85) โดดเด่นด้วยอัตราการรายงานโดยรวมสูงสุด ตะวันออกกลาง (ร้อยละ 55) และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ร้อยละ 30) มีความโดดเด่นในด้านการรายงานแบบบูรณาการ ในขณะเดียวกัน ละตินอเมริกา (ร้อยละ 50) มีความโดดเด่นในด้านการรายงานความหลากหลายทางชีวภาพ และแอฟริกามีความโดดเด่นในด้านการรายงานทางสังคมและบรรษัทภิบาล (ร้อยละ 51 และ 49 ตามลำดับ)การผลักดันสู่การดำเนินการข้อกำหนดด้าน ESG กระตุ้นมุมมองและแนวคิดใหม่ๆ ในกลุ่มผู้บริหาร ผลักดันให้ผู้นำธุรกิจขยายขอบเขตความคิด และทำให้แน่ใจว่าการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์จากบนลงล่างขององค์กร จะให้น้ำหนักกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและประเด็น ESG ด้านอื่นๆ มากขึ้น

รายงานของเคพีเอ็มจีระบุแนวทางรูปธรรมที่ธุรกิจสามารถลงทุนในการรายงานความยั่งยืน ดังนี้

  • เข้าใจความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • รวมการประเมินประเด็นสำคัญทางธุรกิจเข้ากับการรายงาน
  • จัดทำรายงานให้สอดคล้องกับเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลแบบบังคับ หรือกรอบการเปิดเผยข้อมูลแบบสมัครใจ
  • การลงทุนในการจัดการข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงินที่มีคุณภาพ
  • ทำความเข้าใจผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและประเด็นทางสังคมที่มีต่อธุรกิจ

แรงกดดันต่อธุรกิจในการรายงานต่อตัวชี้วัดที่ไม่ใช่ด้านการเงินนั้นคาดว่าจะเพิ่มขึ้น ตามการออกกฎระเบียบใหม่ๆ การลงมือทำทันทีจะช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถตัดสินใจโดยมีข้อมูลครบถ้วนเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นอย่างมากในการเป็นพลเมืองดีขององค์กรในโลกปัจจุบัน

ที่มา: เคพีเอ็มจี ประเทศไทย

บริษัทชั้นนำของโลกปรับปรุงการรายงานสภาพภูมิอากาศ ไทยติดท็อป 10 ด้านการรายงานความยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version