มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ (MHI) และ สถาบันเทคโนโลยีบันดุง (ITB) เปิดตัวแผนวิจัยและพัฒนาร่วมสำหรับการผลิตไฟฟ้าจากแอมโมเนีย โดยใช้กังหันก๊าซในประเทศอินโดนีเซีย

พุธ ๐๒ พฤศจิกายน ๒๐๒๒ ๑๖:๐๒
มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ (Mitsubishi Heavy Industries, Ltd.) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีบันดุง (Institut Teknologi Bandung) จากประเทศอินโดนีเซียเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาร่วมในโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแอมโมเนียผ่านกังหันก๊าซ ซึ่งทั้งสองได้ร่วมมือกันมาก่อนหน้านี้แล้วในการวิจัยร่วมระบบการผลิตพลังงานสะอาดหลายชนิด เพื่อผลักดันให้ประเทศอินโดนีเซียก้าวสู่การเป็นประเทศที่ไม่ก่อคาร์บอนภายใต้แผนงานอย่างต่อเนื่อง งานวิจัยใหม่นี้จะเป็นการนำประโยชน์จากความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมปฏิกรณ์เคมีของสถาบันเทคโนโลยีบันดุง (ITB) ในการปรับปรุงระบบการผลิตกระแสไฟฟ้าผ่านเชื้อเพลิงจากแอมโมเนีย หลังการทดสอบสาธิตกับกังหันก๊าซ H-25 ของ มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ (MHI) ทีมงานด้านการวิจัยและพัฒนา จะร่วมกันพัฒนาระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากแอมโมเนียให้สามารถดำเนินการในเชิงพาณิชย์ได้ในประเทศอินโดนีเซีย
มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ (MHI) และ สถาบันเทคโนโลยีบันดุง (ITB) เปิดตัวแผนวิจัยและพัฒนาร่วมสำหรับการผลิตไฟฟ้าจากแอมโมเนีย โดยใช้กังหันก๊าซในประเทศอินโดนีเซีย

ซึ่งในปี 2565 ทั้งสองฝ่ายได้ทำการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกันในการสนับสนุนเพื่อการวิจัยระบบการผลิตพลังงานสะอาด แบบใหม่และเพื่อวิเคราะห์รวบรวมข้อมูลที่มีทั้งหมด (Big Data) เกี่ยวกับโรงไฟฟ้า โดยระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ปี 2565 ทั้งสองฝ่ายได้ทำข้อตกลงเพื่อขยายกรอบบันทึกความร่วมมือ (MOU) ออกไปเป็นห้าปี เพื่อร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีในการผลักดันแผนการลดการก่อคาร์บอนของอินโดนีเซีย ภายใต้ข้อตกลงเดียวกันนี้ จะมีการดำเนินการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับพลังงานจากเชื้อเพลิงแอมโมเนีย โดยใช้ส่วนปฏิบัติการของสถาบันฯ โดยมีเป้าหมายที่สำคัญสามประการ ได้แก่ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีระหว่างญี่ปุ่นและอินโดนีเซีย เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและบุคลากรกับกลุ่มนักวิชาการและทีมงานวิจัยของสถาบันฯ และเพื่อผลักดันการปรับใช้แนวทางการผลิตพลังงานสะอาดในประเทศอินโดนีเซีย

พิธีลงนามข้อตกลงใหม่นี้จัดขึ้นที่กรุงโตเกียวเมื่อวันที่ 26 กันยายน ระหว่างงาน 2nd Asia Green Growth Partnership Misnisterial Meeting (AGGPM) ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ของญี่ปุ่น (METI) Prof. I Gede Wenten รองอธิการบดีของสถาบันเทคโนโลยีบันดุง (ITB) ได้ร่วมแบ่งปันแนวคิดของตนเกี่ยวกับความร่วมมือในครั้งล่าสุดนี้ว่า "การปรับเปลี่ยนแนวทางด้านพลังงานนี้จะมีบทบาทสำคัญในการลดการก่อก๊าซเรือนกระจกสู่โลก และในระยะยาวจะช่วยในการลดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การประสานงานด้านการวิจัยในครั้งนี้ระหว่างทั้งสองฝ่าย จะมุ่งเน้นไปที่การใช้ระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากแอมโมเนีย เพื่อลดปริมาณการใช้ถ่านหินในระยะยาว การผลิตไฟฟ้าจากแอมโมเนียคาดว่าจะมีการนำแอมโมเนียมาใช้ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นผ่านพลังงานหมุนเวียน เรามุ่งหวังว่าความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาในครั้งนี้จะส่งผลดีต่อแผนความร่วมมือเพื่อผลักดันไปสู่การผลิตพลังงานอย่างยั่งยืน"

Mr. Junichiro Masada เจ้าหน้าที่อาวุโสและผู้จัดการทั่วไปอาวุโสฝ่าย Energy Transition ของ มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ (MHI) กล่าวถึงความตั้งใจที่มีเกี่ยวกับโครงการนี้ว่า "การผนวกขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีในเชิงลึกของบริษัทฯ ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ร่วมกับความเชี่ยวชาญที่ลึกซึ้งและชำนาญเป็นพิเศษ และความรู้ความเข้าใจจากสถานการณ์จริงในประเทศอินโดนีเซียของสถาบันฯ จะทำให้ผมมั่นใจได้ว่านวัตกรรมจากการวิจัยด้านเทคโนโลยีพลังงานสะอาดนี้จะเกิดขึ้นได้จริง ผ่านการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดและความร่วมมือกันในครั้งนี้ จะนำไปสู่วิถีแนวคิดรูปแบบใหม่ ๆ ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานของประเทศอินโดนีเซียในอนาคต"

ภายใต้บันทึกความเข้าใจ (MOU) ในปี 2565 ที่มีเป้าหมายเพื่อลดการก่อคาร์บอนในภาคพลังงานของประเทศอินโดนีเซียระหว่าง มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ (MHI) และสถาบันเทคโนโลยีบันดุง (ITB) ซึ่งเป็นสถาบันที่ได้สร้างผู้เชี่ยวชาญอย่างมากมายในหลายวงการทั้งในภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคการเงินของประเทศอินโดนีเซีย ได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ร่วมกันในด้านต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่เพียงเฉพาะเกี่ยวกับแหล่งพลังงานใหม่ ๆ อาทิ ไฮโดรเจน และแอมโมเนียเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพอากาศ (AQCS) และระบบไมโครกริดอีกด้วย เพื่อฝึกสอนวิศวกรที่จะมีบทบาทในการผลักดันอนาคตของประเทศอินโดนีเซียต่อไป มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ (MHI) และสถาบันเทคโนโลยีบันดุง (ITB) จึงได้จัดหลักสูตรการสอนร่วมกันเกี่ยวกับหัวข้อต่าง ๆ ตั้งแต่การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีทั้งหมด (Big Data) ไปจนถึงพลังงานชีวมวล การเปลี่ยนถ่านหินเป็นก๊าซเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า (IGCC) การใช้ประโยชน์จากไฮโดรเจน และการพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพอากาศ (AQCS)

บันทึกความเข้าใจ (MOU) ที่ลงนามร่วมกันครั้งใหม่นี้เกิดขึ้นในช่วงที่ประเทศอินโดนีเซียมีแผนที่จะลดการก่อคาร์บอนในภาคพลังงาน หลังจากที่มีการประกาศปณิธานอย่างเป็นทางการในการใช้พลังงานหมุนเวียนให้ได้ 23% ภายในปี 2568 และกำหนดเป้าหมายในการลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศให้ได้ 29% ภายในปี 2573 ภายในอนาคต ด้วยการสนับสนุนจากบริษัท มิตซูบิชิ พาวเวอร์ (Mitsubishi Power) ซึ่งเป็นผู้ประกอบการด้านพลังงาน มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ (MHI) จึงมีแผนที่จะมีส่วนร่วมด้านการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศอินโดนีเซีย และในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไปพร้อม ๆ กับการปกป้องสิ่งแวดล้อม

ที่มา: Edelman

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO