ในทางกลับกัน ก็จะก่อให้เกิดความเสี่ยงจากช่องโหว่และภัยคุกคามในการฉ้อโกงแบบออนไลน์มากขึ้น ผู้ให้บริการด้านการชำระเงินจึงต้องหานวัตกรรมใหม่ๆในการป้องกันความเสี่ยงเหล่านี้ ในขณะที่ยังคงต้องตอบสนองกับการเติบโตของโลกดิจิทัล
จากรายงานของไอดีซี อินโฟบรีฟ (IDC Infobrief) หัวข้อ "วิธีจับจ่ายและชำระเงินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2565: โอกาสใหม่ การเชื่อมต่อ และความเสี่ยง" (How Southeast Asia Buys and Pays 2022: New Opportunities, Connectivity, and Risks) เปิดเผยถึงโอกาสและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม
หลักสำคัญๆ ด้านการชำระเงิน
- ภายในปี 2569 การใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลจะเพิ่มขึ้น 121% และการชำระเงินดิจิทัลจะเพิ่มขึ้นเป็น 92% ของการชำระเงินในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลทั้งหมด โดยเพิ่มขึ้นจาก 80% ในปี 2563
- ภายในปี 2569จะมีผู้ใช้กระเป๋าเงินมือถือ 426 ล้านคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คิดเป็น 62% ของประชากรทั้งหมด
- ชอปก่อน จ่ายทีหลัง (BNPL) ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมียอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 9.8 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 3.5 เท่าจากปี 2564
- การชำระเงินแบบเรียลไทม์ (RTP) จะกำหนดรูปแบบการชำระเงินในอนาคตของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยธุรกรรมจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 8 เท่า จาก 1.4286 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 1.29787 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐระหว่างปี 2564 - 2569
- ในปี 2564 จำนวนหนึ่งในสี่ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตกเป็นเหยื่อของการฉ้อโกง
ธุรกิจจำเป็นที่จะต้องตอบรับวิธีการชำระเงินรูปแบบใหม่ เช่น กระเป๋าเงินอิเล็คทรอนิกส์ การชำระเงินแบบเรียลไทม์ และการชอปก่อน จ่ายทีหลัง และมีระบบการจัดการด้านการชำระเงินที่ซับซ้อนขึ้น วิธีการชำระเงินในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่ละแห่งนั้นมีลักษณะเฉพาะและช่องโหว่ที่แตกต่างกันไป ธุรกิจที่ดำเนินการในภูมิภาคนี้จำเป็นต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับท้องถิ่นอย่างมาก และมีความเข้าใจในการเสนอตัวเลือกการชำระเงินที่เหมาะสมให้แก่ลูกค้า ในขณะเดียวกัน เนื่องจากความหลากหลายของตลาดและระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกัน ทำให้ผู้ไม่หวังดีสามารถปรับวิธีการฉ้อโกงให้ตรงกับจุดอ่อนที่มีอยู่ได้
ไอดีซี อินโฟบรีฟ ได้ให้คำแนะนำ 5 ประการในการเลือกพันธมิตรด้านการชำระเงินในปี 2565 ดังนี้
- มีการสนับสนุนภายในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการชำระเงินข้ามพรมแดน
- มีความคุ้นเคยกับความซับซ้อนของภูมิภาค
- มีความสามารถในการรับรู้และตอบโต้ภัยคุกคามใหม่ ๆ
- มีการนำเสนอเทคโนโลยียืนยันความถูกต้องของการชำระเงินที่แม่นยำกว่า
- มีข้อมูลเชิงลึกระดับโลก เพื่อติดตามภัยคุกคามล่าสุดและมีแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด
จูลี เฟอร์เกอร์สัน (Julie Fergerson) ซีอีโอของ MCR กล่าวว่า "ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เต็มไปด้วยอนาคตที่น่าตื่นเต้น ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลกำลังทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่การเติบโตดังกล่าวย่อมมาพร้อมกับการฉ้อโกงที่คุกคามธุรกิจและผู้บริโภคทั่วทั้งภูมิภาค บริษัทต่าง ๆ จำเป็นต้องเร่งพัฒนามาตรการที่ยืดหยุ่นได้เพื่อป้องกันภัยคุกคามจากเหล่ามิจฉาชีพ รายงานไอดีซี อินโฟบรีฟ ฉบับนี้จึงได้เน้นถึงวิธีการที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจในการลดความเสี่ยงจากการถูกฉ้อโกง โดยเลือกพันธมิตรด้านการชำระเงินที่ดีที่สุด เพื่อสนับสนุนเส้นทางการเติบโตของพวกเขา"
ออง โจ โม (Aung Kyaw Moe) ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของทูซีทูพี กล่าวว่า "ทูซีทูพีมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับ MRC ในการจัดทำรายงานอันทรงคุณค่านี้ และเราหวังว่า รายงานฉบับนี้จะสนับสนุนการเติบโตที่ปลอดภัยและปราศจากความเสี่ยงสำหรับธุรกิจต่าง ๆ ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อระบบเศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคขยายตัวและมีความซับซ้อนมากขึ้น ธุรกิจต่าง ๆ ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงกลโกงและความเสี่ยงใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นได้ ทูซีทูพีมีความมุ่งมั่นในการรักษาไว้ซึ่งการชำระเงินที่ราบรื่นและปลอดภัยในภูมิภาคแห่งนี้ และจะทำให้มั่นใจว่า การชำระเงินดิจิทัลจะเป็นเรื่องง่ายและปลอดภัยสำหรับลูกค้าและผู้ค้าของเรา"
MRC เปิดตัวในปี 2543 และยังคงอยู่ในระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรมและการต่อสู้กับการฉ้อโกงด้านอีคอมเมิร์ซอย่างต่อเนื่อง
โลโก้ MRC: ดาวน์โหลดภาพ