ธนาคารกรุงเทพ เปิด 3 โอกาสต่อยอดความร่วมมือ ฮ่องกง-อาเซียน หนุนเศรษฐกิจเติบโตก้าวกระโดดสู่ศตวรรษที่ 21 อย่างยั่งยืน

พฤหัส ๐๓ พฤศจิกายน ๒๐๒๒ ๑๖:๔๙
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ กรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) กล่าวปาฐกถา เรื่อง Hong Kong-ASEAN Connect: Potential for Mutual Multi-dimensional Opportunities (โอกาสหลากมิติภายใต้ความร่วมมือฮ่องกง-อาเซียน) ผ่านระบบ Video Conference ในการประชุมสุดยอดฮ่องกง-อาเซียน 2022 ที่จัดโดย South China Morning Post ณ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ว่า สถานการณ์ปัจจุบันที่ปัญหาโควิด-19 ได้คลายตัวลงแล้ว ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ด้วยการสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาคที่จะเป็นส่วนสำคัญต่อการเติบโตในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต โดยเฉพาะความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและ RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership) ซึ่งก็คือ อาเซียนบวกจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
ธนาคารกรุงเทพ เปิด 3 โอกาสต่อยอดความร่วมมือ ฮ่องกง-อาเซียน หนุนเศรษฐกิจเติบโตก้าวกระโดดสู่ศตวรรษที่ 21 อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากข้อมูล จะพบความน่าสนใจว่า อาเซียนมีประชากรกว่า 660 ล้านคน มากกว่า 50% อยู่ในวัยแรงงาน และ 25% อยู่ในกลุ่มอายุ 5-19 ปี และเมื่อพิจารณาในด้านการจ้างงาน แรงงาน 90 ล้านคนอยู่ในภาคเกษตร 73 ล้านคนอยู่ในภาคค้าส่ง ขายปลีก และ Hospitality 44 ล้านคนอยู่ในภาคการผลิต 22 ล้านคนอยู่ในภาคการก่อสร้าง 16 ล้านคนอยู่ในภาคโลจิสติกส์ และไอที ขณะที่ 9 ล้านคนอยู่ในภาคการเงิน อสังหาริมทรัพย์ และบริการธุรกิจ

ขณะที่ GDP ของอาเซียน ปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีมูลค่าการค้ากับจีนกว่า 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีมูลค่าการนำเข้ากว่า 3.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2563 ด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในอาเซียนมีมูลค่า 1.37 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่ง 25% มาจากการลงทุนของสหรัฐฯ และ 8.5% หรือประมาณ 1.16 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มาจากฮ่องกง ภาคการท่องเที่ยวถือเป็นไฮไลต์ของอาเซียน โดยในช่วงก่อนโควิด-19 มีนักท่องเที่ยวอาเซียนไปเยือนฮ่องกงปีละ 2.6 ล้านคน และนักท่องเที่ยวฮ่องกงมาเยือนอาเซียน 1.7 ล้านคน นอกจากนี้อาเซียนยังส่งออกสินค้าเกษตรไปยังฮ่องกงมูลค่ากว่า 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อีกด้วย

เมื่อโฟกัสที่ความร่วมมือระหว่างอาเซียนและฮ่องกง พบว่ายังมีโอกาสสำหรับการพัฒนาศักยภาพและความร่วมมือระหว่างกันได้อีกมาก และมีกลไกความร่วมมือระหว่างกันอีกหลายมิติ เช่น ข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง ที่มีมาตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งครอบคลุมการลงทุน การค้าสินค้าและบริการ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และทรัพย์สินทางปัญญา ขณะเดียวกันก็มีหน่วยงานต่าง ๆ ที่ช่วยสนับสนุนความร่วมมือระหว่างกันอยู่แล้ว เช่น สำนักงานเศรษฐกิจและการค้าฮ่องกง (Hong Kong Economic and Trade Office-HKETO) ในกรุงเทพฯ จาการ์ตา และสิงคโปร์ สำนักงานการค้าธุรกิจที่นำโดยองค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (Hong Kong Trade Development Council - HKTDC) ในการเชื่อมโยง จับคู่ธุรกิจและร่วมทุนทางธุรกิจกับสำหรับโอกาสการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างฮ่องกงและอาเซียน ดร. พิเชฐได้เสนอข้อคิดเห็นไว้ 3 แนวทาง ประกอบด้วย

ประการแรก การเติบโตอย่างก้าวกระโดดจากความร่วมมือด้านการเงิน การค้า และการลงทุน โดยต้องกำหนดเป้าหมายและแนวทางดำเนินงานใหม่ เช่น ด้านการค้าที่ต้องเริ่มโฟกัสกับกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ร่วมกัน เช่น รถยนต์พลังงานไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียน อาหารเพื่อสุขภาพเฉพาะด้าน (Functional Food) กลุ่มเศรษฐกิจใหม่ ที่มุ่งเน้นเรื่องเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน BCG ซึ่งประกอบด้วย เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ส่วนภาคบริการควรเน้นด้านการท่องเที่ยว เทคโนโลยีการเงิน (FinTech) และการลงทุนด้านนวัตกรรมที่ต้องสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) เรื่องการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ และการส่งเสริมธุรกิจเอสเอ็มอี เนื่องจากวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมาได้สะท้อนให้เห็นว่าโลกกำลังต้องการความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทาน การขนส่ง อาหาร และความมั่นคงทางพลังงาน อันจะเป็นประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจและมนุษยชาติอีกด้วย

ประการที่ 2 ฮ่องกงและอาเซียนควรทบทวนด้านการเชื่อมโยงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่างกัน โดยอาจมีแนวทางและความร่วมมือเพื่อขยายปริมาณการค้า ความเชี่ยวชาญทางเทคนิค ห่วงโซ่คุณค่า ตลอดจนการเสริมทักษะใหม่ของแรงงาน ขณะเดียวกันอาจต้องมองถึงการเชื่อมต่อในมิติอื่น ๆ อย่างท่าเรือน้ำลึก การบิน และระบบราง การเชื่อมต่อด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่งผ่านเครือข่ายข้อมูลภาคพื้น ดาวเทียม และเคเบิลใต้น้ำ อันจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการเชื่อมโยงด้านข้อมูล ด้านอีคอมเมิร์ซ และการศึกษา ที่จะนำพาเศรษฐกิจของทั้งสองฝ่ายเดินหน้าสู่โลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน รวมถึงในระหว่างทางที่ต้องมีความร่วมมือระหว่างกันในประเด็นด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องข้อมูล

"ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เราเห็นความตั้งใจและผลงานของสตาร์ทอัพที่สร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลขึ้นมามากมาย และเชื่อมั่นว่าภายใต้ความร่วมมือระหว่างฮ่องกงและอาเซียนที่จะเกิดขึ้นต่อไป จะทำให้เราได้เห็นความสามารถของคนรุ่นใหม่จากทั้งสองฝั่งที่จะทำงานและเติบโตไปด้วยกัน เพื่อขยายศักยภาพไปสู่การแข่งขันในตลาดระดับโลกมากยิ่งขึ้น และนำมาซึ่งความต้องการด้านการเงินในลักษณะการร่วมลงทุน หรือ Venture Capital มากขึ้นด้วย นับเป็นเครื่องยนต์เศรษฐกิจเครื่องใหม่ที่ต้องใช้นวัตกรรมและความสามารถเชิงธุรกิจจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ๆ มาช่วยขับเคลื่อน"

ประการที่ 3 อาเซียนยังให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสังคมและวัฒนธรรมร่วมกันในฐานะที่เป็นพลเมืองของอาเซียน ซึ่งจะครอบคลุมเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม การมีส่วนร่วม ความยั่งยืน และการปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นความร่วมมือที่ดีระหว่างกันในมิตินี้ จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต นอกจากนี้ การแข่งขันในตลาดปัจจุบัน ภาคเศรษฐกิจและธุรกิจไม่อาจแยกขาดจากประเด็นทางสังคมได้อีกต่อไป ดังที่ได้เห็นองค์กรธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรมต่างประกาศเจตนารมณ์ด้าน ESG การเงินเพื่อสิ่งแวดล้อม และการแลกเปลี่ยนนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การส่งเสริมด้านความร่วมมือของมนุยชาติ สังคม และสิ่งแวดล้อม ควบคู่กันไปกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจจะช่วยให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน และช่วยลดช่องว่างความไม่เท่าเทียมกันให้แคบลง

ที่มา: ธนาคารกรุงเทพ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ