ออร์แลนโด, ฟลอริด้า และนอร์ธ ฮอลลีวู้ด, แคลิฟอร์เนีย--12 ธ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์-เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์
ผลการศึกษาที่นำเสนอในที่ประชุมประจำปี 2006 ของสมาคมโลหิตวิทยาแห่งอเมริกา
มูลนิธิเนื้องอกสากล (IMF) ซึ่งเป็นองค์กรที่ดำเนินการวิจัยและศึกษา ให้ความช่วยเหลือ และสนับสนุนผู้ป่วย ครอบครัว นักวิจัย และแพทย์สาขาวิชาเนื้องอก เปิดเผยในวันนี้ว่า ผลการศึกษาอันหลากหลายที่มีการนำเสนอในที่ประชุมประจำปี 2006 ของสมาคมโลหิตวิทยาแห่งอเมริกา (ASH) สะท้อนให้ถึงผลประโยชน์ในมุมกว้างของการรักษาเนื้องอกและมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับเม็ดเลือดที่หลากหลาย การค้นพบครั้งนี้บ่งชี้ว่า ระบบการรักษาแบบใหม่ที่เริ่มด้วยการใช้ THALOMID (R) และต่อด้วยการใช้ทั้ง VELCADE (R) และการรักษาด้วยpk REVLIMID (R) นั้น ช่วยเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ป่วยที่เป็นเนื้องอกเมื่อผู้ป่วยใช้ยาทั้งแบบใช้ยาอย่างเดียว ใช้ต่อเนื่อง และใช้ผสมผสานกันแบบหลากหลาย ผลการศึกษาที่รวบรวมได้สะท้อนให้เห็นถึงการรับรู้ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของเนื้องอกที่ตอบสนองต่อการรักษา ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับมะเร็งประเภทอื่นได้
การศึกษากลุ่มผู้ป่วยครอบคุลุมถึงผลในช่วงกว้าง นับตั้งแต่ผู้ป่วยที่มีอาการกำเริบไปจนถึงการวินิจฉัยครั้งใหม่ ตั้งแต่วัยรุ่นถึงวัยชรา และรวมถึงผู้ป่วยที่ได้รับการคาดคะเนโรคที่ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากความผิดปกติด้านโครโมโซม ข้อมูลในบางกรณีที่มีการนำเสนอในที่ประชุมแห่งนี้มีความคืบหน้ามากกว่าผลการศึกษาครั้งก่อนอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการตอบสนองระยะยาวในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งใหม่ หนึ่งในผลการศึกษาที่มีนัยสำคัญมากที่สุดนั้น การศึกษาของกลุ่มนักวิจัยจากมาโย คลีนิค รายงานว่า 67% ของผู้ป่วยที่ใช้ยา REVLIMID (ควบคู่กับยาสเตียรอยด์ dexamethasone) เป็นการบำบัดรักษาในเบื้องต้น สามารถตอบสนองต่อยาประเภทดังกล่าวได้อย่างสมบูรณ์หรือดีมาก โดยมีอัตราการแพร่กระจายของโรคในระดับต่ำอย่างต่อเนื่องแม้เวลาผ่านพ้นไปแล้ว 2 ปี
"ผลการศึกษาหลายชิ้นที่มีการนำเสนอในที่ประชุม ASH ไม่เพียงแต่ยืนยืนถึงข่าวดีที่ตกถึงมือเราเป็นรายแรกในด้านการทำงานร่วมกับผู้ป่วยที่เป็นเนื้องอกเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นว่าการทำงานควบคู่กับการใช้ยาแบบใหม่ๆกำลังสอนเราในเรื่องการรักษาโรคมะเร็งด้วย" ไบรอัน จี เอ็ม ดูรี กรรมการผู้จัดการ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้องอก ประธาน และผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเนื้องอกสากลกล่าว "เราไม่เพียงแต่กำลังเรียนรู้ที่จะจู่โจมเซลล์มะเร็งเท่านั้น แต่ยังรวมถึงภาวะแวดล้อมที่บ่มเพาะเซลล์มะเร็งด้วย เราทราบดีว่า ยา ยกตัวอย่างเช่น REVLIMID มีกลไกการออกฤทธิ์ที่หลากหลาย ซึ่งสามารถสกัดการขยายตัวของหลอดเลือดที่ส่งไปเลี้ยงส่วนที่เป็นเนื้องอก อีกทั้งสามารถตรวจความไวต่อสิ่งกระตุ้นเซลล์มะเร็งที่มีต่อเซลล์ที่เป็นอันตรายโดยธรรมชาติ และสามารถใช้ได้ดีกว่า TNF-alpha ซึ่งเป็นยาที่ใช้เมื่อมีอาการติดเชื้อเข้ามาเกี่ยวข้อง การทำความเข้าใจในกลไกการออกฤทธิ์เหล่านี้ช่วยให้เราเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาของเรา อีกทั้งยังช่วยลดผลกระทบข้างเคียง และประยุกต์กลไกเหล่านี้เข้ากับช่วงการขยายตัวของมะเร็งต่างๆ รวมถึงมะเร็งในกลุ่ม MDS, ความบกพร่องของการเติบโตของเนื้อเยื่อน้ำเหลืองนอกลุ่ม Hofgkins และโรคโลหิตจางในน้ำเหลืองแบบเรื้องรัง"
นอกจากการศึกษาที่มีการอ้างถึงคลีนิกมาโยก่อนหน้านี้แล้ว ยังมีรายงานการศึกษาที่สำคัญฉบับอื่นๆที่ แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยสามารถใช้ยา REVLIMID และ VELCADE ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าผู้ป่วยรายนั้นจะประสบความล้มเหลวในการรักษาด้วยการใช้ยาเพียงตัวเดียว นอกจากนี้ผลการศึกษาหลายชิ้นยังครอบคลุมถึงประสบการณ์การใช้ยาในระยะยาวในแต่ละชนิดอาทิ THALOMID, REVLIMID และ VELCADE เพียงอย่างเดียว ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยล่าสุด และมีแนวโน้มที่จะใช้ยาเหล่านี้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้รายงานการศึกษาจากธนาคาร ดีเอ็นเอ ธนาคาร On A Cure(R) ภายใต้การดูแลของมูลนิธิเนื้องอกสากล ยังได้ค้นหาถึงสาเหตุของการเกิดอาการข้างเคียงในผู้ป่วยบางราย ขณะที่กลุ่มอื่นๆใช้ข้อมูลด้านพันธุกรรมเพื่อหาสาเหตุของอาการต่อต้านยา
นางซูซี่ โนวิส ประธานและผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิเนื้องอกสากล กล่าวว่า "มะเร็งในเม็ดเลือด รวมถึงอาการเนื้องอกในเลือดเป็นรูปแบบของโรคมะเร็งที่พบใด้บ่อยที่สุดเป็นอันดับ 3 และทุกวันนี้การรักษารูปแบบใหม่ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการรักษาโรคเหล่านี้ โดยรายงานการศึกษาหลายฉบับแสดงให้เห็นในที่ประชุมโดยยืนยันถึงประสบการณ์ของมูลนิธิ ซึ่งเป็นองค์กรสำคัญที่อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเนื้องอก ขณะที่ประโยชน์ที่ได้รับจากการรักษามะเร็งส่วนใหญ่ที่ได้รับการประเมินในปีนี้ เห็นว่า มีผู้ป่วยในมูลนิธิหลายคนได้รับการประเมินผลระยะยาวในหลายปี และบรรลุเป้าหมายโดยไม่ได้รับผลกระทบจากการรักษาด้วยคีโมบำบัด ดังนั้นจำนวนผู้ป่วยเนื้องอกที่เพิ่มขึ้นในขณะนี้จึงสามารถใช้ชีวิตได้เป็นอย่างดี
เนื้องอก หรือที่เรียกว่าเนื้อร้ายที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ เป็นมะเร็งในไขกระดูกที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และสเตมเซลล์ ซึ่งเป็นมะเร็งเม็ดเลือดที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองที่ส่งผลกระทบต่อประชากรประมาณ 750,000 คนทั่วโลก โดยประชากรในประเทศอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากโรคนี้เพิ่มขึ้นอีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อวัยรุ่นเพิ่มมากขึ้นด้วย
ดร.ดูรี่ย์กล่าวต่อไปอีกว่า "การนำเสนอที่ ASH น่าจะทำให้พวกเราและพันธมิตรของมูลนิธิสามารถเดินหน้าพัฒนาแนวโน้มที่ดีขึ้น.shdy[ผู้ป่วยได้ ซึ่งอาจเป็นการประชุมเพื่อส่งเสริมความร่วมมือของ ASH ที่ดีที่สุดในรอบหลายปีที่ได้ทำงานในวงการเนื้องอก"
เกี่ยวกับมูลนิธิเนื้องอกสากล
มูลนิธิเนื้องอกสากลเป็นองค์กรด้านเนื้องอกที่ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุด โดยมีสมาชิกของมูลนิธิกว่า 125,000 แห่งใน 113 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ A 501 (c) 3 เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่อุทิศตนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเนื้องอกและครอบครัวของผู้ป่วย โดยมูลนิธิเนื้องอกสากลได้จัดสัมนาด้านการศึกษากว่า 100 ครั้งทั่วโลก รวมทั้งให้บริการศูนย์ฮอตไลน์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก และดำเนินกิจการ Bank On A Cure(R) ซึ่งเป็นธนาคารพันธุกรรมที่โดดเด่นในการวิจัยด้านเนื้องอกที่ล้ำหน้า โดยสามารถเข้าถึงมูลนิธิเนื้องอกสากลได้ที่ (800) 452-CURE หรือที่ www.myeloma.org
ติดต่อ:
มูลนิธิเนื้องอกสากล
โทร. 800-452-2873 (สหรัฐ และแคนาดา)
โทร. 818-487-7455 (ประเทศอื่นๆ)
สื่อมวลชน: GendeLLindheim BioCom Partners
สตีเฟ่น เกนเดล โทร +1-212-918-4650
ที่มา: มูลนิธิเนื้องอกสากล (IMF)
ติดต่อ: มูลนิธิเนื้องอกสากล: สหรัฐและแคนาดา
โทร. 800-452-2873 (สหรัฐ และแคนาดา)
โทร. 818-487-7455 (ประเทศอื่นๆ)
หรือสื่อมวลชน
สตีเฟ่น เกนเดลจาก GendeLLindheim BioCom Partners
โทร +1-212-918-4650
เว็บไซต์: http://www.myeloma.org
http://www.myelomala.org
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net )--
- ม.ค. ๒๕๖๘ ฟาร์มิ่ง ประกาศผลลัพธ์เชิงบวกจากการวิจัยยา "เลนิโอลิซิบ" ในการประชุมสมาคมโลหิตวิทยาแห่งอเมริกา ครั้งที่ 64
- ม.ค. ๒๕๖๘ ฟาร์มิ่งประกาศการตีพิมพ์ข้อมูลจากการศึกษาเลนิโอลิซิบระยะ 3 ในผู้ป่วยโรค APDS ในวารสารบลัดของสมาคมโลหิตวิทยาแห่งอเมริกา
- ม.ค. ๒๕๖๘ "ฮีโมฟีเลีย-โรคเลือดออกง่ายหยุดยาก" เปิดสถานการณ์และอนาคตการรักษาแบบป้องกันสำหรับผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียในประเทศไทย