ดีลอยท์ เผย ESG เป็นวาระขับเคลื่อนธุรกิจขององค์กรอย่างยั่งยืน

พฤหัส ๑๐ พฤศจิกายน ๒๐๒๒ ๑๕:๔๔
ดีลอยท์ ประเทศไทย เผยรายงานผลการสำรวจ Thailand ESG and Sustainability Survey Report 2022 พบว่า ESG มีความสำคัญต่อการพัฒนาภูมิทัศน์ทางธุรกิจมากขึ้นเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้เกิดการวางมาตรฐานในการวัดผลการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจตามหลักเกณฑ์ด้าน ESG นอกจากนี้ ความสนใจของนักลงทุนในบริษัทต่างๆ ที่มีการดำเนินการตามเป้าหมาย ESG อย่างจริงจังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ดีลอยท์ เผย ESG เป็นวาระขับเคลื่อนธุรกิจขององค์กรอย่างยั่งยืน

นายกษิติ เกตุสุริยงค์ Sustainability & Climate Leader ดีลอยท์ ประเทศไทย กล่าวว่า "ปัจจุบันประเด็นด้าน ESG หรือ สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล กลายเป็นประเด็นหลักในการตัดสินใจในทางธุรกิจมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การประเมินความเสี่ยงและเปิดรับโอกาสที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้าน ESG ขององค์กร เพื่อปกป้องผลประโยชน์ระยะยาวของธุรกิจ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น ผลการสำรวจของดีลอยท์ ประเทศไทย เผยให้เห็นความท้าทายหลายประการในการบูรณาการ ESG เข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจตั้งแต่การประเมินความเสี่ยง การประหยัดต้นทุน ไปจนถึงการหาตลาด และโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ"

ดีลอยท์ ประเทศไทยได้ทำการสำรวจ Thailand ESG and Sustainability Survey Report 2022 กับผู้บริหารระดับ C-suite และผู้บริหารในระดับต่างๆ จากบริษัทชั้นนำของประเทศไทย จำนวน 106 บริษัท ครอบคลุมภาคอุตสาหกรรมหลัก เช่น กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมและทรัพยากร กลุ่มธุรกิจการเงิน กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มวิทยาศาสตร์ชีวภาพและการแพทย์ และอื่นๆ ในระหว่างเดือนสิงหาคม - กันยายน 2565 โดยการสำรวจประเด็นด้าน ESG และความยั่งยืนของประเทศไทยในครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อสะท้อนภาพธุรกิจและการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมในปัจจุบัน

โดยผลจากการสำรวจพบประเด็นสำคัญ 4 ประการ คือ

  1. ESG ในองค์กร จากการสำรวจพบว่า ผู้นำส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับสร้างการตระหนักรู้ด้าน ESG ในองค์กร และการบูรณาการ ESG เข้ากับกลยุทธ์ขององค์กร โดยผู้บริหารระดับสูง (C-Level) มีแนวโน้มที่จะเน้นการรายงาน ESG ให้สอดคล้องกับกรอบการรายงานของ '56-1 One Report' ที่ได้ปรับปรุงประสิทธิภาพการเปิดเผยข้อมูล โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจตามกรอบของ ESG นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 34 ให้ข้อมูลว่า บริษัทได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการด้านความยั่งยืนเพื่อกำกับดูแลและขับเคลื่อนวาระ ESG ในองค์กรแล้ว และบางบริษัทได้กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบด้าน ESG ให้กับคณะกรรมการบริหาร เพื่อผลักดันประเด็นความยั่งยืนของบริษัท ซึ่งบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการด้านนี้มากกว่าบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียน นอกจากนี้ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนมากเห็นว่า การดำเนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัทที่ดีขึ้นจะก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวก 3 ประการ ได้แก่ การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและลดต้นทุน ภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของแบรนด์ และการบริหารความเสี่ยง
  2. บทบาทของสายงานการเงินด้านความยั่งยืน จากการสำรวจพบว่า ร้อยละ 85 ของผู้ตอบแบบสอบถามที่อยู่ในสายงานบัญชีและการเงิน เห็นตรงกันว่า ความยั่งยืนมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในด้านการเงิน นอกจากนี้ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการจัดทำรายงานเกี่ยวกับตัวชี้วัดด้านความยั่งยืน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรอบการรายงานมาตรฐาน โดยร้อยละ 19 มองว่าสายงานบัญชีและการเงินจะเป็นตัวขับเคลื่อนในการกำหนดและบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังชี้ให้เห็นว่า สำหรับบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนยังคงมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนอย่างเต็มที่โดยบูรณาการเข้าไปในกระบวนการจัดการประสิทธิภาพองค์กร นอกจากนี้ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมและทรัพยากร เป็นอุตสาหกรรมอันดับต้น ๆ ที่ได้ออกผลิตภัณฑ์ทางการเงิน หรือสินเชื่อสีเขียวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และยังมุ่งเน้นนวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำอีกด้วย ซึ่งอาจเป็นผลจาก Social License to Operate ผลักดันให้ดำเนินการ เนื่องจากการดำเนินการของกลุ่มนี้อาจก่อผลกระทบทางลบทางสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่น
  3. การรายงานความยั่งยืน จากการสำรวจของดีลอยท์ พบว่า ร้อยละ 51 ของผู้ตอบแบบสอบถามมีการจัดทำรายงานเกี่ยวกับการดำเนินงานด้าน ESG และมีตัวชี้วัดเป็นส่วนหนึ่งของการรายงานตามรอบการจัดทำรายงาน ทั้งนี้ผู้ตอบแบบสำรวจกว่าหนึ่งในสี่ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้าน ESG แต่ไม่ได้มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อสาธารณะ นอกจากนี้ การสำรวจยังพบว่า การขาดเทคโนโลยีสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การขาดความสามารถและทักษะภายในองค์กร และการไม่มีข้อมูลที่เพียงพอ เป็นข้อกังวลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานให้สมบูรณ์อย่างมีประสิทธิภาพตามข้อกำหนดด้านความยั่งยืน
  4. ระบบ กระบวนการ และข้อมูล เกือบครึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามมีความกังวลว่า องค์กรของตนไม่มีเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่จำเป็นเพียงพอต่อการดำเนินการตามข้อกำหนดใหม่ๆ ในการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้แบบฟอร์ม spreadsheet ในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้าน ESG ของทั้งองค์กร อย่างไรก็ตาม วิธีนี้อาจไม่เหมาะกับบางบริษัทที่มีกระบวนการดำเนินการหลายขั้นตอน ที่อาจส่งต่อเพื่อรวบรวมไว้ที่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือมีกระบวนการรวบรวมข้อมูลการแยกจากกัน ดังนั้น จึงเป็นเรื่องยากที่จะรวมข้อมูลจากหลายหน่วยงาน และอาจเกิดความผิดพลาดจากการทำงานของคนได้ นอกจากนี้ ผลสำรวจพบว่า บริษัทของผู้ตอบแบบสำรวจใช้กรอบการรายงานสากลที่พัฒนาโดย GRI (Global Reporting Initiative) เป็นมาตรฐานหลักในการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG และใช้กรอบตัวชี้วัด ESG ภายในองค์กร (Internal ESG KPI) มากำหนดโครงสร้างรูปแบบหลักสำหรับการรวบรวมข้อมูลในองค์กร

ดร. นเรนทร์ ชุติจิรวงศ์ ผู้อำนวยการบริหาร Clients and Markets ดีลอยท์ ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า "ตอนนี้เป็นเวลาที่ธุรกิจควรจะเริ่มบูรณาการ ESG ให้มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ กำหนดเป้าหมายและกระบวนการความยั่งยืนขององค์กรเพื่อดำเนินการด้าน ESG และเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ที่จะกลายเป็นข้อบังคับสำหรับองค์กรธุรกิจในการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม การดำเนินการบนพื้นฐานของความยั่งยืนจะช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถก้าวผ่านสถานการณ์วิกฤติต่างๆ และปรับตัวให้พร้อมรับกับดิสรัปชั่นในอนาคต"

ที่มา: เทิร์นอะราวด์ โฟกัส

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ