สอวช. ร่วมภาคีเครือข่ายชีววิทยาสังเคราะห์ เปิดตัว SynBio Roadmap ยกระดับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ หวังผลิตสตาร์ทอัพยูนิคอร์นรายใหม่ในไทย

จันทร์ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๐๒๒ ๑๐:๒๘
ดร.กาญจนา วานิชกร รองผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กล่าวเปิดงาน SynBio Forum 2022 "SynBio for Sustainable Development Goals" ชีววิทยาสังเคราะห์เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 จัดขึ้น ณ ห้องประชุม SD-601 ชั้น 6 อาคารสราญวิทย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผ่านระบบออนไลน์
สอวช. ร่วมภาคีเครือข่ายชีววิทยาสังเคราะห์ เปิดตัว SynBio Roadmap ยกระดับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ หวังผลิตสตาร์ทอัพยูนิคอร์นรายใหม่ในไทย

ดร.กาญจนา กล่าวว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของหน่วยงานร่วมทั้ง 17 หน่วยงาน จากภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคการศึกษาของไทย ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาคมด้านเทคโนโลยีชีวภาพและแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพ ที่จะนำไปสู่แนวทางการสร้างความร่วมมือทั้งในระดับภูมิภาคไปจนถึงระดับนานาชาติ และเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาวาระที่สำคัญนี้ ภาคีเครือข่ายชีววิทยาสังเคราะห์ หรือ SynBio Consortium จึงได้จัดทำร่างแผนที่นำทางการพัฒนาชีววิทยาสังเคราะห์ในระยะเวลา 8 ปี (พ.ศ. 2565 - 2573) เพื่อกำหนดกรอบความร่วมมือและเป้าหมายในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีในประเทศไทยและระดับภูมิภาค นอกจากนี้ยังเป็นการเน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของชีววิทยาสังเคราะห์ที่จะมาเป็นอนาคตของอุตสาหกรรมไทย ซึ่งวิสัยทัศน์ของแผนที่นำทางนี้คือ "ชีววิทยาสังเคราะห์สร้างเศรษฐกิจใหม่และขับเคลื่อนประเทศไทยเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี (Bio-Circular-Green Economy Model)

สำหรับศักยภาพของชีววิทยาสังเคราะห์และเทคโนโลยีชีวภาพในประเทศไทย ดร.กาญจนา กล่าวว่า มีการคาดการณ์ถึงตลาดชีววิทยาสังเคราะห์ของโลกว่าจะอยู่ที่ 30.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในปี พ.ศ. 2569 ทำให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในหลายประเทศ อาทิ จีน เดนมาร์ก เยอรมนี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา หันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนและการพัฒนากำลังคนในด้านนี้มากขึ้น ชีววิทยาสังเคราะห์จึงถือว่าเป็นความหวังใหม่ของประเทศไทย ที่นอกจากจะตอบโจทย์ในด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังเป็นแนวทางที่ช่วยในการแก้ไขปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศด้วย เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าทางการเกษตร การค้นพบตัวยาชนิดใหม่ หรือแนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม

ประเทศไทยอยู่ในพื้นที่ที่มีความหลายหลากทางชีวภาพ 1 ใน 36 แห่งทั่วโลก ที่มีความได้เปรียบในแง่ขอทรัพยากรธรรมชาติ จึงถือเป็นโอกาสของเราที่จะนำเทคโนโลยีใหม่นี้ มาใช้เพื่อปลดล็อกศักยภาพ และสร้างโอกาสที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ในอนาคต (New S-curve) ตัวอย่างของสินค้าที่ใช้นวัตกรรมด้านชีววิทยาสังเคราะห์เข้าไปช่วยในการผลิตและมีการลงทุนในประเทศไทยแล้ว เช่น การผลิตสารให้ความหวานจากหญ้าหวาน, การผลิตวัคซีน mRNA ในอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ, เส้นใยคุณภาพสูงจากโปรตีน, การใช้จุลินทรีย์ทดแทนสารเคมีในกระบวนการบำบัดของเสีย ที่จะช่วยป้องกันไม่ให้มีสารเคมีรั่วไหลออกไปให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ดร.กาญจนา ยังได้ให้ข้อมูลถึงแนวทางการพัฒนาด้านการศึกษาในประเทศไทย ที่มีนักวิจัยและมหาวิทยาลัยได้พัฒนาหลักสูตร รวมถึงมีความพยายามร่วมกันที่จะหาแนวทางส่งเสริมการพัฒนาทักษะหรือสร้างทักษะใหม่ (Upskill/Reskill) ในการพัฒนากำลังแรงงาน เพื่อสนับสนุนการลงทุน จากข้อมูลพบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 44 จาก 141 ประเทศทั่วโลกที่มีการจัดอันดับการเผยแพร่บทความวิชาการด้านชีววิทยาสังเคราะห์ และผลงานส่วนใหญ่ยังอยู่เพียงในห้องปฏิบัติการเท่านั้น จึงเป็นอีกความท้าทายที่จะต้องมองหาแนวทางนำเอาต้นแบบและงานวิจัยไปใช้ประโยชน์จริง รวมถึงนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะความร่วมมือในการสร้างความเข้มแข็งแบบสามประสาน (Triple Helix) ระหว่างมหาวิทยาลัย ภาคอุตสาหกรรม และภาครัฐ โดยมีความมุ่งหวังว่าความร่วมมือนี้จะช่วยสร้างให้เกิดสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (DeepTech Startup) และยูนิคอร์นตัวใหม่ ให้กับประเทศไทยได้

สำหรับบทบาทของกระทรวง อว. ได้ริเริ่มแนวคิดเศรษฐกิจบีซีจี โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ และเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย จึงได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ขึ้น และอุตสาหกรรมใหม่อย่างชีววิทยาสังเคราะห์ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน ด้านการสนับสนุนการให้สิทธิประโยชน์และแนวทางความร่วมมือ ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (The Board of Investment of Thailand: BOI) ได้จัดให้มีการส่งเสริมการลงทุนสำหรับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย โดยสิทธิประโยชน์จะแตกต่างไปตามความเข้มข้นของกิจกรรม เช่น หากมีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ไม่เคยมีมาก่อนก็จะได้สิทธิประโยชน์ขั้นสูงสุด เป็นต้น

นอกจากนี้ ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน รัฐบาลได้มีการลงทุนพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor of Innovation (EECi) ที่มีการสนับสนุนในแง่ของสิ่งอำนวยความสะดวก การมีเมืองนวัตกรรมชีวภาพ หรือ Biopolis และมีแพลตฟอร์มความร่วมมือทั้งระดับมหาวิทยาลัยสู่ระดับธุรกิจ และระดับธุรกิจกับธุรกิจ ที่เชื่อมโยงกันทั้งในประเทศและในระดับโลกด้วย และเร็วๆ นี้ จะมีการร่วมทุนระหว่างกลุ่มพันธมิตรในหน่วยรับจ้างพัฒนาและผลิตระดับอุตสาหกรรม (Contract Development and Manufacturing Organization: CDMO) ถือเป็นแพลตฟอร์มการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูงแห่งแรกในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นี่จึงเป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคตได้อย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ ในงานยังได้มีการเปิดเวทีอภิปรายในหัวข้อ ชีววิทยาสังเคราะห์และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน "แนวทางการเชื่อมโยงชีววิทยาสังเคราะห์ของโลกกับเศรษฐกิจไทย (SynBio and SDGs "How to Link Global SynBio with Thai Economy) และการจัดกิจกรรมระดมความเห็นกลุ่มย่อย 5 แผนงานหลัก ในการใช้ชีววิทยาสังเคราะห์ เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและบีซีจี โดยแบ่งเป็น 1) การผลักดันงานวิจัยออกสู่เชิงพาณิชย์และพัฒนาสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีขั้นสูง (Research to Market & DeepTech Startup Development) 2) โครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม (RDI Infrastructure) 3) กฎหมายและระเบียบโดยทั่วไป (General Legal & Regulation) 4) การลงทุนและการให้ทุนสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ (Investment & Strategic Funding) และ 5) สถาบันการศึกษาด้านชีววิทยาสังเคราะห์ เพื่อสนับสนุนการพัฒนากำลังคน (SynBio Academy (Manpower) )

ที่มา: สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)

สอวช. ร่วมภาคีเครือข่ายชีววิทยาสังเคราะห์ เปิดตัว SynBio Roadmap ยกระดับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ หวังผลิตสตาร์ทอัพยูนิคอร์นรายใหม่ในไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version