โดยโครงการศึกษาแรกจะเป็นการพิจารณาความเป็นไปได้ด้านเทคนิคและในเชิงเศรษฐศาสตร์ของระบบเผาไหม้เชื้อเพลิงร่วมจนถึงระดับที่ใช้ชีวมวล 100% ในโรงไฟฟ้าถ่านหิน Suralaya (CFPP) โดยโครงการศึกษานี้จะพิจารณาในแง่มุมต่าง ๆ เกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานของชีวมวล ทั้งด้านการจัดการ จัดเก็บ ขนส่ง และการดัดแปลงหม้อไอน้ำ
โครงการศึกษาที่สองนี้จะใช้โรงไฟฟ้าถ่านหิน Suralaya (CFPP) เป็นโรงไฟฟ้าอ้างอิงเช่นกัน โดยจะศึกษาแนวทางการใช้ระบบ การเผาไหม้เชื้อเพลิงร่วมกับแอมโมเนียที่ผลิตจากโรงงานแอมโมเนียที่มีอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งในปัจจุบันสิ่งที่ต้องให้ความสนใจมากเป็นพิเศษคือ โอกาสในการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานสำหรับแอมโมเนียสีน้ำเงินที่มีฐานการผลิตและการขนส่งจากโรงงานแอมโมเนีย และมีเทคโนโลยีการเผาไหม้เชื้อเพลิงร่วมกับแอมโมเนียที่จะใช้ในหม้อไอน้ำที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
โครงการศึกษาที่สามเป็นการประเมินความเป็นไปได้ด้านเทคนิคและด้านเศรษฐศาสตร์ในการใช้ระบบเผาไหม้เชื้อเพลิงร่วมกับไฮโดรเจนในกังหันก๊าซรุ่น M701F ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมกับกังหันก๊าซ Tanjung Priok (GTCC) ที่มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ จำกัด ได้ก่อสร้างหน่วยที่ 2 ของโรงไฟฟ้าดังกล่าวเสร็จสิ้น เมื่อปี 2562 ภายใต้แผนของ PLN เพื่อพัฒนาโรงไฟฟ้าขนาด 880 MW ในโครงการ Jawa-2
การบันทึกความร่วมมือนี้ได้มีการลงนามระหว่างงาน Energy Transition Day ที่จัดขึ้นโดย PLN Group ในประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 โดยภายในงานยังมีการหารือพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับแผนงานริเริ่มและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อที่จะให้ประเทศอินโดนีเซียสามารถก้าวไปสู่เป้าหมายการหยุดการปล่อยมลพิษในปี พ.ศ.2603 ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มอุตสาหกรรม ตัวแทนจากภาครัฐ และผู้นำทางธุรกิจรวมกันกว่า 250 คน
นายโอซามุ โอโนะ รองประธานอาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่ระดับภูมิภาคภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและอินเดียของ มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ จำกัด กล่าวว่า "เป็นเวลากว่า 50 ปีแล้วที่บริษัทฯ และมิตซูบิชิ พาวเวอร์มีส่วนช่วยพัฒนาโครงข่ายด้านพลังงานของประเทศอินโดนีเซีย และยังมีบทบาทสำคัญในโครงการด้านพลังงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งข้อตกลงครั้งใหม่นี้ร่วมกับอินโดนีเซีย เพาเวอร์ ไม่เพียงแต่จะยกระดับเสถียรภาพและประสิทธิภาพให้กับโรงไฟฟ้าที่มีอยู่เดิมรวมทั้งโรงไฟฟ้า Tanjung Priok ที่เรามีส่วนในการก่อสร้างเท่านั้น แต่ยังเป็นการพิจารณาทางเลือกใหม่ๆ ที่จำเป็นเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมตามเป้าหมายที่เรามีพร้อมทั้งตอบโจทย์ความต้องการด้านพลังงานของประเทศที่อยู่ในระดับวิกฤต"
นายเอ็ดวิน นุกราฮา พัทรา ประธาน PT PLN Indonesia Power กล่าวว่า "เรามีความยินดีอย่างมากที่ได้กระชับความสัมพันธ์ร่วมกับบริษัท มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ จำกัด เพื่อให้มีการเปิดรับพลังงานหมุนเวียนและเชื้อเพลิงสะอาดมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยผลักดันใหเกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานอย่างยั่งยืนในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งข้อตกลงใหม่นี้เป็นการตอกย้ำถึงพันธกิจของเราในการสนับสนุนการพัฒนาในการลดการปล่อยคาร์บอนในภาคพลังงานของประเทศอย่างยั่งยืน"
โดยการลงนามบันทึกความร่วมมือฉบับใหม่นี้มีรากฐานมาจากความร่วมมือร่วมกันอย่างแข็งแกร่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาระหว่างบริษัท มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ จำกัด และ PLN ในอินโดนีเซีย นับตั้งแต่ปี 2514 ภายใต้แบรนด์มิตซูบิชิ พาวเวอร์ ได้ให้สนับสนุน PLN และอินโดนีเซีย เพาเวอร์ มาโดยตลอดด้วยโซลูชันต่าง ๆ สำหรับโรงไฟฟ้าทั่วประเทศรวมไปถึงโรงไฟฟ้า Tanjung Priok, Suralaya และ Grati ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งบริษัท มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ จำกัด และ PLN ได้ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีบันดุง (ITB) ในการจัดทำข้อเสนอร่วมกันในข้อเสนอเกี่ยวกับการนำการเผาไหม้เชื้อเพลิงร่วมกับชีวมวลมาใช้ในโรงไฟฟ้าพลังความร้อนของอินโดนีเซีย พร้อมทั้งนำเสนอข้อมูลที่ค้นพบแก่ภาครัฐ
ภายใต้ข้อตกลงฉบับนี้และแผนงานริเริ่มอื่น ๆ บริษัท มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรี่ส์ จำกัด พร้อมการสนับสนุนจากมิตซูบิชิ พาวเวอร์ จะมีส่วนช่วย ให้อินโดนีเซียสามารถทำตามเป้าหมายในการหยุดการปล่อยมลพิษภายในปี 2603
ที่มา: เอเดลแมน (ประเทศไทย)