บัณฑิตวิทยาลัยนานาชาติซิงหัวเซินเจิ้นประกาศความก้าวหน้าครั้งใหม่ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

ศุกร์ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๐๒๒ ๑๓:๐๕
ทีมวิจัยของศาสตราจารย์เฉียงไห่ ไต่ (Qionghai Dai) จากมหาวิทยาลัยชิงหวา และศาสตราจารย์เหาเฉียน หวัง (Haoqian Wang) จากแผนกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ บัณฑิตวิทยาลัยนานาชาติซิงหัวเซินเจิ้น (Tsinghua Shenzhen International Graduate School) ได้ผสานรวมโครงร่างการลดสัญญาณรบกวนที่ทางทีมวิจัยได้กำกับดูแลเองเข้ากับกล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนซ์ เพื่อกำจัดสัญญาณรบกวนซ็อตนอยส์โฟตอน เทคนิคใหม่นี้ลดขนาดความเข้มของแสงขั้นต่ำได้กว่า 10 เท่า และรองรับการสร้างภาพความไวสูงระยะยาวโดยใช้โดสต่ำของกระบวนการทางชีววิทยาต่าง ๆ เช่น การเคลื่อนไหวของแคลเซียม การเคลื่อนที่ของเซลล์ และการปล่อยสารสื่อประสาท ผลงานดังกล่าวถือเป็นโซลูชันใหม่เพื่อจัดการกับปัญหาท้าทายเกี่ยวกับกล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนซ์ที่มีโฟตอนจำกัด โดยบทความวิจัยดังกล่าวมีหัวข้อว่า "Real-time denoising enables high-sensitivity fluorescence time-lapse imaging beyond the shot-noise limit" (การลดสัญญาณรบกวนแบบเรียลไทม์ช่วยสนับสนุนการสร้างภาพแบบเร่งเวลาโดยใช้ฟลูออเรสเซนซ์ความไวสูงเหนือเพดานซ็อตนอยส์) ซึ่งได้รับการเผยแพร่บนวารสารเนเจอร์ ไบโอเทคโนโลยี (Nature Biotechnology) แล้วที่ https://www.nature.com/articles/s41587-022-01450-8
บัณฑิตวิทยาลัยนานาชาติซิงหัวเซินเจิ้นประกาศความก้าวหน้าครั้งใหม่ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

รายงานวิจัย 10 ฉบับจากแผนกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ บัณฑิตวิทยาลัยนานาชาติซิงหัวเซินเจิ้น เป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับการตอบรับจากรายงานรวมทั้งสิ้น 10,411 ฉบับที่ยื่นต่อการประชุมว่าด้วยระบบประมวลผลสารสนเทศทางประสาท (Annual Conference on Neural Information Processing Systems) ประจำปี 2565 การประชุมดังกล่าวครอบคลุมหัวข้อมากมาย ไม่ว่าจะเป็นดีปเลิร์นนิง คอมพิวเตอร์วิชัน การเรียนรู้ของเครื่องในสเกลใหญ่ ทฤษฎีการเรียนรู้ การเพิ่มประสิทธิภาพ ทฤษฎีถดถอยเบาบาง (sparse theory) และสาขาอื่น ๆ อีกมากมาย

แผนกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (DIST) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2545 โดยมีพื้นฐานใน 4 สาขาวิชาด้วยกัน ได้แก่ วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร วิทยาการและวิศวกรรมควบคุม วิทยาการและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และวิทยาการและเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ แผนกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมีเป้าหมายเพื่อพลิกชีวิตและยกระดับอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด และบ่มเพาะบุคลากรมากความสามารถด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีและความรู้ทางวิศวกรรม โดยมุ่งพัฒนาการวิจัยให้เป็นทฤษฎีพื้นฐานและเทคโนโลยีที่นำไปปฏิบัติจริงในแวดวงสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ แผนกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐานฝึกอบรมบัณฑิตแห่งสำคัญสำหรับมหาวิทยาลัยชิงหวาในสาขาวิชาสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ โดยเปิดสอนระดับปริญญาเอก 4 หลักสูตร และปริญญาโท 6 หลักสูตร

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตรได้ที่
https://www.sigs.tsinghua.edu.cn/en/2022/1114/c1402a58670/page.htm

ดูข้อมูลเกี่ยวกับการสมัครได้ที่
https://www.sigs.tsinghua.edu.cn/en/2022/0929/c1402a58113/page.htm

ติดต่อ
โทร: 86-755-86239174
อีเมล: [email protected]

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1950888/1.jpg
คำบรรยายภาพ - โครงร่าง Deep CAD-RT ในการสร้างภาพโดยใช้ฟลูออเรสเซนซ์ความไวสูงแบบเรียลไทม์ของบัณฑิตวิทยาลัยนานาชาติซิงหัวเซินเจิ้น

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1950889/2.jpg
คำบรรยายภาพ - บรรยากาศที่บัณฑิตวิทยาลัยนานาชาติซิงหัวเซินเจิ้น



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
บัณฑิตวิทยาลัยนานาชาติซิงหัวเซินเจิ้นประกาศความก้าวหน้าครั้งใหม่ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ