ทุบสถิติ! อย่างต่อเนื่อง ผลประเมินประกันคุณภาพการศึกษา ปี'64 "ม.วลัยลักษณ์" ได้ 4.96 จากคะแนนเต็ม 5

จันทร์ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๐๒๒ ๑๑:๐๘
ทุบสถิติ ผลประเมินประกันคุณภาพการศึกษา ปี'64 "ม.วลัยลักษณ์" ได้ 4.96 จากคะแนนเต็ม 5 อยู่ในระดับดีมาก สูงสุดในรอบ 30 ปี ตั้งแต่มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัย คาดเป็นผลจากการพัฒนามหาวิทยาลัยในทุกด้านอย่างต่อเนื่อง
ทุบสถิติ! อย่างต่อเนื่อง ผลประเมินประกันคุณภาพการศึกษา ปี'64 ม.วลัยลักษณ์ ได้ 4.96 จากคะแนนเต็ม 5

ศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ศุภดิษฐ์ รักษาการแทนรองอธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ เปิดเผยถึงผลประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับมหาวิทยาลัย ตามกรอบ WUQA โดยมีเกณฑ์พื้นฐานสากล AUN-QA (ASEAN University Network Quality Assurance) ในรอบปีการศึกษา 2564 ผลปรากฏว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้รับผลการประเมิน คะแนนเฉลี่ย 4.96 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 อยู่ในระดับดีมาก และถือเป็นคะแนนสูงที่สุดตั้งแต่มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งนี้และถือว่าเป็นผลคะแนนที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา

ศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย กล่าวต่อไปว่า หากพิจารณาในแต่ละองค์ประกอบทั้ง 5 องค์ประกอบ พบว่า ม.วลัยลักษณ์ ได้คะแนนในองค์ประกอบที่ 1 การนำองค์กร 5.00 คะแนน องค์ประกอบที่ 2 การจัดการศึกษา 4.96 คะแนน องค์ประกอบที่ 3 การวิจัย 4.96 คะแนน องค์ประกอบที่ 4 การบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 5.00 คะแนน และองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการและการประกันคุณภาพ 4.93 คะแนน ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม หากดูพัฒนาการคะแนนผลการประเมินดังกล่าว ในรอบ 5 ปีย้อนหลัง พบว่า มีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปีการศึกษา 2560 ได้ 4.66 คะแนน ปี 2561 ได้ 4.75 คะแนน ปี 2562 ได้ 4.80 คะแนน ปี 2563 ได้ 4.93 คะแนน และล่าสุดปีการศึกษา 2564 ได้ 4.96 คะแนนอยู่ในระดับดีมาก

ศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย กล่าวอีกว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้มหาวิทยาลัยได้แนนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากการพัฒนามหาวิทยาลัยในทุกด้าน ตั้งแต่ผลการรับนักศึกษาที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในรอบ 20 ปี ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพของนักศึกษา ด้านคุณภาพอาจารย์ โดยมหาวิทยาลัยมีการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ให้มีคุณวุฒิสูงขึ้น ทำให้มีจำนวนอาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ผู้สอนภายใต้กรอบ UKPSF 100% มีอาจารย์ได้รับประกาศนียบัตรรับรองคุณภาพการสอนภายใต้กรอบ UKPSF มากที่สุดในประเทศไทย จำนวน 573 คน และคณาจารย์ทุกคนได้ร่วมขับเคลื่อนการวิจัยอย่างเข้มข้น โดยปีล่าสุดมีผลงานวิจัยมากกว่า 700 บทความ ผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ Scopus Q1,Q2 อยู่ในอันดับ 3 ของประเทศ สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของอาจารย์ผู้สอน และนักวิจัยของ ม.ลัยวลัยลักษณ์

นอกจากนี้ยัง การส่งเสริมให้บุคลากรสายสนับสนุนมีความก้าวหน้าในอาชีพ และให้ความสำคัญกับการดูแลนักศึกษา มีการปรับปรุงห้องเรียนอัจฉริยะ จำนวน 150 ห้อง พร้อมห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย และการมุ่งมั่นพัฒนาให้ ม.วลัยลักษณ์เป็นมหาวิทยาลัยคุณภาพ ที่วัดได้จากคุณภาพของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา โดยหลักสูตรที่มีสภาวิชาชีพ นักศึกษาต้องสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพครั้งแรกไม่ต่ำกว่า 90% หลักสูตรที่ไม่มีสภาวิชาชีพ นักศึกษาต้องผ่านการสอบวัดความรู้ EXIT-EXAM ให้ได้ 90% ขึ้นไป และการพัฒนาในด้านอื่นๆ เป็นต้น "การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกลไกสำคัญในการก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพ ความพยายามและความทุ่มเทของทุกฝ่ายทำให้การประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับเป็นอีกความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจ" ศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย กล่าว

ที่มา: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ทุบสถิติ! อย่างต่อเนื่อง ผลประเมินประกันคุณภาพการศึกษา ปี'64 ม.วลัยลักษณ์ ได้ 4.96 จากคะแนนเต็ม 5

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ