ฟีโบ้-มจธ. เดินหน้า ส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างกำลังคนด้าน"AI /Robotics" ป้อนตลาดแรงงาน

อังคาร ๒๒ พฤศจิกายน ๒๐๒๒ ๑๕:๕๙
รศ. ดร.สยาม เจริญเสียง ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวถึงโครงการส่งเสริมวิทยาการหุ่นยนต์สำหรับทุกคน และพัฒนานวัตกร/นักวิจัย/วิศวกร/วิสาหกิจเริ่มต้นด้านวิทยาการหุ่นยนต์ หรือ FIBO AI/Robotics for All ว่า เป็น 1 โครงการภายใต้ชุดโครงการ AI/Robotics for All ที่มุ่งเน้นพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในด้านวิทยาการหุ่นยนต์ และ AI เพื่อขับเคลื่อนประเทศ ขณะที่ประเทศไทยเรื่อง AI และ Robotics ถือเป็นเรื่องใหม่ โครงการจึงมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาบุคลากรในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ นักวิจัย พนักงานบริษัท ไปจนถึงผู้ที่ต้องการการพัฒนาเพื่อยกระดับทักษะที่เรามีให้ดีกว่าเดิม (upskill) ให้มีความพร้อมกับการทำงานในโลกยุคใหม่ โดยการประยุกต์ AI และวิทยาการหุ่นยนต์ เพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตและภาคบริการผ่านการค้นคว้าวิจัย และนำทักษะไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์กับองค์กรและประเทศ
ฟีโบ้-มจธ. เดินหน้า ส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างกำลังคนด้านAI /Robotics ป้อนตลาดแรงงาน

"ทำไมต้อง AI/Robotics เพราะวิทยาการหุ่นยนต์ (Robotics) ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนการควบคุมหรือขับเคลื่อน (Manipulation) ส่วนการรับรู้ (Perception) และส่วนการเข้าใจ (Cognition) ซึ่ง AI เป็นส่วนการเข้าใจของวิทยาการหุ่นยนต์ที่อยู่ในรูปแบบซอฟต์แวร์ เปรียบเสมือนเป็นสมองในการตัดสินใจหลังจากได้รับข้อมูลจากส่วนการรับรู้ของระบบที่ได้จากเซ็นเซอร์ต่างๆ เช่น ระยะทาง แรง หรือขนาดของวัตถุที่ตรวจพบ เมื่อส่วนการเข้าใจประมวลผลแล้วจะสั่งการให้ส่วนการควบคุมขับเคลื่อนฮาร์ดแวร์กลไกทำงาน ดังนั้น AI และวิทยาการหุ่นยนต์จึงเป็นเทคโนโลยีที่เสริมการทำงานซึ่งกันและกัน นอกจากนั้นให้เราลองจินตนาการว่าในยุค Aging Society โลกเรากำลังจะมีหุ่นยนต์ส่วนตัว หรือ Personal Robot (PR) เข้ามาเพื่อจะคอยให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุและพวกเราทุกคนในด้านต่าง ๆ ซึ่ง AI ก็จะทำให้ระบบหุ่นยนต์สามารถทำงานตัดสินใจและตอบสนองงานที่ซับซ้อนได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ AI/Robotics เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยทำให้ชีวิตของคนดีขึ้นทั้งในเรื่องงานบริการ งานสำรวจ งานการแพทย์และงานด้านบันเทิง และยังเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ได้ถูกนำไปใช้เป็นฐานในการขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย" รศ. ดร.สยาม กล่าว

สำหรับการดำเนินงานตลอดระยะเวลากว่า 2 ปีที่ผ่านมา ฟีโบ้ ได้สร้าง "แพลตฟอร์มและกิจกรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่อง AI/Robotics for All" ขึ้น อาทิ Virtual Classroom for Learning เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์ผ่านห้องเรียนเสมือน Advanced Learning Lab / Resource Sharing เป็นแหล่งเรียนรู้และสามารถฝึกปฏิบัติด้านวิทยาการหุ่นยนต์และใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ ด้วยระบบการควบคุมระยะไกล เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และเพื่อให้นักเรียนได้เข้าถึงเทคโนโลยีด้านวิทยาการหุ่นยนต์ได้ง่ายขึ้นแม้จะอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ตัวอย่าง ระบบการเรียนรู้ระยะไกลสำหรับการพิมพ์ชิ้นงานสามมิติ (Tele 3D Printing) มีโรงเรียนเข้าร่วมกว่า 40 แห่ง และโปรแกรมการจำลองการทำงานของโรงงานอัจฉริยะร่วมกับระบบจัดเรียงของระยะไกล (Metaverse Smart Factory) เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดให้เข้ามาทดลองปฏิบัติ เพื่อประเมินระดับความรู้ความสามารถในการออกแบบ และเรียนรู้การควบคุมแขนกล การควบคุมสายพานการผลิต หรือที่เกี่ยวกับการผลิตต่าง ๆ จากระยะไกล โดยสามารถควบคุมได้เองจากที่บ้าน เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมี System Integration Demonstration ผ่านแพลตฟอร์มเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ และการเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมสู่การนำไปใช้จริงเชิงพาณิชย์ School Consortium ที่ปัจจุบันมีโรงเรียนที่สนใจนำหลักสูตรวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติไปใช้ในโรงเรียนระดับมัธยมเกิดเป็นเครือข่ายโรงเรียนเพิ่มขึ้นกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ รวมไปถึง Premium Training เพื่อพัฒนาบุคลากรทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์

ผู้อำนวยการ ฟีโบ้ กล่าวอีกว่า สำหรับการดำเนินงานหลังจากนี้ ฟีโบ้จะเป็นหน่วยสนับสนุนให้กับหน่วยงานอื่น ๆ ต่อไป โดยจะเดินหน้าส่งเสริมการเรียนรู้ "AI/Robotics for ALL" แก่คนในทุกระดับชั้น และจะผลักดันแพลตฟอร์มดังกล่าวที่ฟีโบ้พัฒนาขึ้นเข้าไปสู่ EEC ทั้งในระดับของโรงเรียนและภาคอุตสาหกรรม โดยจะเริ่มต้นจากกลุ่มโรงงานในพื้นที่ EEC ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถติดตามได้ที่ Facebook: fibokmutt

ทั้งนี้ AI for All เป็นชุดโครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนากำลังคนด้าน AI และ Robotics เพื่อสร้างความตระหนักรู้แก่คนไทยในทุกระดับ ให้มีความรู้เท่าทันหรือมีความสามารถด้าน AI และหุ่นยนต์ สร้างนักวิจัย และนักพัฒนาระบบ AI และหุ่นยนต์ เพื่อป้อนสู่ตลาดแรงงานและสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย รวมถึงส่งเสริมองค์กรนำ AI และหุ่นยนต์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สอวช.) โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)

ที่มา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ฟีโบ้-มจธ. เดินหน้า ส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างกำลังคนด้านAI /Robotics ป้อนตลาดแรงงาน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ