สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกไต้หวัน ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ หวังดันมูลค่าให้สูงขึ้นและบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล

พุธ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๐๒๒ ๑๐:๔๐
เมื่อเร็ว ๆ นี้ สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกไต้หวัน (Taiwan Plastics Industry Association) ได้จัดการประชุมสามัญ ครั้งที่ 20 โดยคุณเบงเกอร์ เหลียว (Benker Liao) ประธานสมาคม ได้เน้นย้ำถึงความพยายามของสมาคมในการส่งเสริมการยกระดับและการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมพลาสติก รวมถึงการรับบทผู้นำในการช่วยเหลือบริษัทต่าง ๆ ทั่วทั้งอุตสาหกรรม เพื่อคว้าประโยชน์จากโอกาสทางการตลาดที่มีมูลค่าสูง ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นทั้งในระบบเศรษฐกิจของไต้หวันและทั่วโลก

อุตสาหกรรมพลาสติก ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมการผลิตที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับสามของไต้หวัน กำลังเดินหน้าไปสู่การใช้พลาสติกประสิทธิภาพสูงที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ วัสดุพอลิเมอร์ชีวการแพทย์ วัสดุนาโนคอมโพสิต พลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม วัสดุอเนกประสงค์ และวัสดุอื่น ๆ ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ยกตัวอย่างเช่น บริษัท เซาท์ พลาสติก อินดัสทรี จำกัด (SOUTH PLASTIC INDUSTRY Co., Ltd.) ได้เพิ่มสารเติมแต่งเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพลงในสูตรพลาสติก เพื่อสร้างพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ

ขณะเดียวกัน ฟิล์มพลาสติกที่ผลิตโดยบริษัท ทีเอฟยู อินดัสทรี จำกัด (TFU INDUSTRY CO., LTD.) ก็ใช้อนุภาคพลาสติกพิเศษและผลิตภัณฑ์โฟมน้ำหนักเบาเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้านบริษัทยูพลัส (Uplus) ได้เปิดตัว เดอะ วัน โซลาร์ ฟิล์ม (The One Solar Film) ที่จดสิทธิบัตรใน 46 ประเทศและดินแดน โดยข้อมูลสถิติแสดงให้เห็นว่า ยูพลัสสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานได้กว่า 18% ส่วนทางด้านบริษัท ที.อี. แพ็กเกจจิง แอนด์ กิฟต์ แมนูแฟคเจอริง อิงค์ (T.E. PACKAGING & GIFT MFG. INC.) ได้ลงทุนพัฒนาถุงฟิล์มอินทรีย์คาร์บอน เพื่อผลิตถุงซิปรีไซเคิลที่ทำจากวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขณะที่บริษัท แฟรงค์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ พลาสติก จำกัด (FRANK & ASSOCIATES PLASTIC CO., LTD. หรือ FAP) ก็ผลิตทั้งวัสดุที่ทนต่อรังสียูวีได้ทุกสภาพอากาศและวัสดุฉีกง่ายปราศจากฮาโลเจน เพื่อลดมลพิษทางทะเลและสิ่งแวดล้อม

ด้วยสถานการณ์ระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทางสมาคมจึงให้ความช่วยเหลือสมาชิกอย่างแข็งขันในการยกระดับเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเช่น บริษัท ทูฟอร์ด พลาสติก แมนูแฟคเจอริง คอร์ป (TOFORD PLASTIC MANUFACTURING CORP.) ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีประวัติยาวนานถึง 40 ปี ได้ดำเนินการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ซึ่งทำให้บริษัทสามารถผลิตสายยางพีวีซีคุณภาพสูงในระดับที่ไม่สามารถทำได้ก่อนหน้านี้ ขณะที่บริษัท พิงค์แบรนด์ จำกัด (PINKBRAND CO., LTD.) ได้ปรับแม่พิมพ์ที่จดสิทธิบัตรแล้วเพื่อผลิตโซ่พลาสติกสองสีที่สามารถขึ้นรูปได้ในขั้นตอนเดียว โดยไม่จำกัดความยาวและไม่จำเป็นต้องใช้แรงคนอย่างการผลิตโซ่พลาสติกโดยทั่วไป ส่วนบริษัท ลอง ทีม อินดัสเทรียล จำกัด (LONG TEAM INDUSTRIAL CO., LTD.) ได้ปรับปรุงกระบวนการทางเทคนิคและดิจิทัลทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์พลาสติก

ทั้งนี้ สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกไต้หวันเป็นผู้นำในการบูรณาการวิชาการและการวิจัยเข้าด้วยกัน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญ



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO