รมช. ประภัตร นั่งหัวโต๊ะ ประชุมคกก.มาตรฐานสินค้าเกษตร ครั้งที่ 4/2565

พฤหัส ๒๔ พฤศจิกายน ๒๐๒๒ ๐๘:๔๙
รมช. ประภัตร นั่งหัวโต๊ะ ประชุมคกก.มาตรฐานสินค้าเกษตร ครั้งที่ 4/2565 ยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร สร้างความเชื่อมั่นก้าวสู่เวทีโล
รมช. ประภัตร นั่งหัวโต๊ะ ประชุมคกก.มาตรฐานสินค้าเกษตร ครั้งที่ 4/2565

เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 65 นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร ครั้งที่ 4/2565 ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเปิดเผยภายหลังการประชุม ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดอัตราค่าบริการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับมาตรฐานทั่วไป (ฉบับที่ 4) พ.ศ. ... โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าบริการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับมาตรฐานทั่วไป เกี่ยวกับ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สำหรับสินค้าเกษตร จำนวน 3 ประเภท และการทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์ การรวบรวม การคัดบรรจุ แปรรูป และจัดจำหน่ายพืชอินทรีย์ (Organic) สำหรับสินค้าเกษตร จำนวน 2 ประเภท

นอกจากนี้ ยังได้พิจารณาเห็นชอบร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร 6 เรื่อง ได้แก่ 1. หลักปฏิบัติในการตรวจและรับผลทุเรียนสำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุ 2. องุ่น 3. เห็ดหูหนูขาวแห้ง 4. บรอกโคลี 5. การปฏิบัติที่ดีสำหรับลานเททะลายปาล์มน้ำมัน และ 6. การชันสูตรโรคนิวคาสเซิล เพื่อดำเนินการประกาศเป็นมาตรฐานทั่วไปของประเทศต่อไป

ด้านนายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับสาระสำคัญของร่างมาตรฐาน 6 เรื่อง ได้แก่ 

1. หลักปฏิบัติในการตรวจและรับผลทุเรียนสำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุ เนื่องจากมีการตัดทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ออกสู่ตลาดเพื่อเร่งจำหน่าย ซึ่งเป็นการทำลายตลาดทุเรียนในภาพรวม ส่งผลกระทบทำให้ราคาทุเรียนทั้งตลาดภายในและต่างประเทศมีราคาตกต่ำ เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อทุเรียนไทย ดังนั้น การจัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตรฉบับนี้ จะเป็นการควบคุม กำกับ ดูแลปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพ และช่วยสนับสนุนการจำหน่ายผลทุเรียนที่แก่ มีคุณภาพตามมาตรฐาน สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคและเวทีการค้า ซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพทุเรียนของไทยเพื่อรองรับการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดโลก

2. องุ่น องุ่นเป็นไม้ผลที่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค จึงมีความต้องการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยในปี 2564 ประเทศไทยมีการนำเข้าองุ่นสด ประมาณ 1.02 แสนตัน คิดเป็นมูลค่า 5,683 ล้านบาท รวมทั้งมีการขยายการปลูกในพื้นที่ต่างๆ ในประเทศมากขึ้น การกำหนดมาตรฐานองุ่น จึงมีความสำคัญสำหรับใช้เป็นเกณฑ์ในการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตผลสำหรับการบริโภค และใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิงทางการค้า โดยมาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ ครอบคลุมข้อกำหนดด้านคุณภาพและความปลอดภัยสำหรับองุ่น (table grapes) ที่มีการจัดเตรียมและบรรจุหีบห่อ ไม่รวมองุ่นที่ใช้แปรรูปในอุตสาหกรรม

3. เห็ดหูหนูขาวแห้ง เห็ดหูหนูขาวแห้งเป็นสินค้าเกษตรที่นิยมบริโภค โดยเป็นสินค้านำเข้าที่ยังไม่มีมาตรฐานเฉพาะ ดังนั้น จึงจัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตรฉบับนี้ขึ้น เพื่อให้มีเกณฑ์คุณภาพสำหรับเห็ดหูหนูขาวแห้ง สำหรับใช้อ้างอิงทางการค้า และตรวจสอบคุณภาพเห็ดหูหนูขาวแห้งนำเข้า โดยมาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ ใช้กับ เห็ดหูหนูขาวแห้ง (dried white jelly mushroom) ตามนิยามผลิตภัณฑ์ที่บรรจุเพื่อจำหน่าย สำหรับนำไปปรุงอาหารหรือแปรรูปเป็นอาหาร 

4. บรอกโคลี เป็นผักที่จัดอยู่ในกลุ่มของผักตระกูลกะหล่ำ ซึ่งเป็นสินค้าอาหารที่ตลาดประเทศไทยต้องการ จึงมีการนำเข้าและมีการขยายพื้นที่ปลูกในประเทศมากขึ้น ประกอบกับ เมื่อปี 2559 คณะทำงานจัดทำมาตรฐานอาเซียนสำหรับผลิตผลพืชสวนและพืชอาหารอื่นๆ ได้ประกาศมาตรฐานอาเซียน เรื่อง บรอกโคลี ดังนั้น จึงควร มีการจัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง บรอกโคลี เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานอาเซียน สำหรับใช้ส่งเสริม สินค้าเกษตรให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค เพิ่มโอกาสทางการค้าให้กับประเทศ โดยมาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ ใช้กับหัว (ส่วนที่เป็นกลุ่มช่อดอกและลำต้น) ของบรอกโคลีประเภทหัว/พันธุ์ที่ผลิตเป็นการค้า เพื่อจำหน่ายในรูปผลิตผลสดแก่ผู้บริโภค ไม่รวมบรอกโคลีที่ใช้แปรรูปในอุตสาหกรรม

 5. การปฏิบัติที่ดีสำหรับลานเททะลายปาล์มน้ำมัน มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติที่ดีสำหรับลานเททะลายปาล์มน้ำมัน (มกษ. 9037-2555) มีการประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2555 สำหรับนำไปใช้ควบคุมกระบวนการจัดการของลานเททะลายปาล์มน้ำมันให้มีคุณภาพ ตรงตามมาตรฐาน และเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ทั้งนี้ คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร เห็นควรให้มีการทบทวนมาตรฐานฉบับดังกล่าว เพื่อให้การปฏิบัติของลานเททะลายปาล์มน้ำมันสอดคล้องกับการปฏิบัติในปัจจุบัน และปรับปรุงข้อกำหนดให้มีความเหมาะสมมากขึ้น

 6. การชันสูตรโรคนิวคาสเซิล โรคนิวคาสเซิลเป็นโรคระบาดสัตว์ปีกตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 และอยู่ในบัญชีรายชื่อโรคระบาดสัตว์บกขององค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) ซึ่งการระบาดของโรค ส่งผลกระทบต่อระบบอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกของประเทศ และก่อให้เกิดปัญหาทางการค้า จึงเห็นควรกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรฉบับนี้ขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการชันสูตรโรคนิวคาสเซิลที่สอดคล้องกับมาตรฐานของ OIE ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเฝ้าระวังโรคดังกล่าว และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศคู่ค้าอีกด้วย

ที่มา: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO